บทความ

Smartphone Polarization Microscope งานวิจัยต่อยอด พัฒนาต่อเนื่อง

IMG_2773

Smartphone Polarization Microscope งานวิจัยต่อยอด พัฒนาต่อเนื่อง

งานวิจัยใครว่าคิดแล้วคิดอีกไม่ได้ เพียงแค่งานวิจัยชิ้นเดียวก็สามารถต่อยอดไปสู่ผลงานชิ้นอื่นๆ ได้ อย่างเช่น Smartphone Polarization Microscope จากผลงานการวิจัยของนายปรินทร แจ้งทวี ลูกศิษย์ไอเดียดีที่ทำร่วมกับศาสตราจารย์ ดร.สนอง เอกสิทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร.สนอง เอกสิทธิ์กล่าวถึงแรงบรรดาลใจในการต่อยอดผลงานนี้ว่า “เป็นงานต่อเนื่องจากงานเก่าของเราครับ เรากำลังจะทำงานวิจัย แต่อุปกรณ์ค่อนข้างมีราคาสูง เราทำงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์ ส่วนใหญ่เครื่องมือในแล็บเราจะทำเอง ตัวที่เราใช้ประจำคือกล้องจุลทรรศน์ เราทำนาโนเมททีเรียล ผลึกหรือตัวอย่างที่จะต้องใช้กล้อง เลยใช้ Smartphone Microscope มาช่วย เมื่อต้องใช้ Microscope ราคาแพง ค่อนข้างยุ่งยาก เราเลยพัฒนา Smart Lens ปรินทรก็ไปเปิดบริษัทแล้ว CU Smart Lens แต่ชุดนี้เป็นจุลทรรศน์ Smartphone  ที่มีโพลาไรเซอร์อยู่ด้วย สามารถใช้ศึกษาคริสตันได้ ราคาทั้งชุดที่เราพัฒนาไม่ถึง 5,000 บาท จึงตอบโจทย์เรื่องอุปกรณ์เพื่อใช้ในประเทศเราได้”

จากผลงานวิจัยในห้องแล็บสู่ชิ้นงานอุปกรณ์ขนาดย่อ กระจายสู่โรงเรียนหรือแม้กระทั่งผู้ใช้โทรศัพท์ทั่วไป ที่ใครๆ ก็สามารถดูเซลล์ได้เพียงแค่มีโทรศัพท์มือถือ หรือใครๆ ก็เป็นช่างกล้องมืออาชีพที่ถ่ายภาพ Close up เกสรดอกไม้สวยๆ ได้เทียบเท่ากับเลนส์ราคาหลายหมื่น

“ความจริงพร้อมขายแล้ว มี 2 แบบ คือ ทำทดลองใช้ ประกวดเพื่อกระจายข่าวและสอนให้นิสิตรู้จักนำเสนอผลงาน ให้ข้อมูลเพื่อให้ทุกคนเข้าใจได้ มีประสบการณ์ ได้เงินสนับสนุนในการต่อยอดในชิ้นงาน ร่วมไปถึงการได้รับความร่วมมือทำงานร่วมกับผู้ที่ทำงานในแขนงเดียวกัน ในส่วนของราคาไม่แพงครับ มีขนาด 3 เลนส์ คือ 20X(490 บาท) 40X(590 บาท) 50X(790 บาท) โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นบุคคลทั่วไปเพื่อเปิดมุมมองใหม่ๆ หลายคนที่ผมเจอคือ ปศุสัตว์ ไปดูพวกปรสิต เชื้อรา เพลีย หนอน ดูโรค เพื่อส่งให้ผู้เชียวชาญวินิจจัย” ดร.สนอง เอกสิทธิ์กล่าว

ในส่วนของแนวทางการทำวิจัยที่ดร.สนอง ได้ฝากทิ้งท้ายถึงเพื่อนนักวิจัยหรือนักวิจัยรุ่นหลังที่ต้องการกำลังใจและต้องการทำงานวิจัยใหม่ๆ ที่ท้าทาย โดยกล่าวว่า “ในมุมมองของผมคือ อาจารย์ /นักวิจัยในจุฬาฯ วิจัยพื้นฐานถูกแล้ว เพื่อสร้างองค์ความรู้ แต่วันหนึ่งรู้สึกว่าองค์ความรู้ที่ทำมา มันไม่ท้าทายพอ อยากหาความตื่นเต้นในชีวิตหรือสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กนิสิต ก็มางานสายนี้หรือไปดูงานนวัตกรรม แล้วมาดูว่างานเราต่อยอดอะไรได้บ้าง ความจริงมันทำได้แต่เขายังไม่เห็นตัวอย่าง หลังจากทำงานวิจัยพื้นฐานก็ลองมาทำงานวิจัยประยุกต์ หาความร่วมมือ หรือพัฒนาต่อยอด ไม่แนะนำให้เน้นทำขายเลย เพราะมันไม่ยั่งยืน การมีความรู้พื้นฐานเป็นสิ่งที่ดีครับ และการมีทีมที่ดีก็เป็นอีกสิ่งที่ทำให้เราประสบความเสร็จครับ”

ศาสตราจารย์ ดร.สนอง เอกสิทธิ์

คณะวิทยาศาสตร์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย