ปากดี…ปากสวย เนียนนุ่มด้วยลิปบาล์มกากเมล็ดงาขี้ม้อน
ธันวาคม 7, 2020 2024-01-08 8:39ปากดี…ปากสวย เนียนนุ่มด้วยลิปบาล์มกากเมล็ดงาขี้ม้อน
ลิปบาล์มเป็นผลิตภัณฑ์ที่สาวๆ ส่วนใหญ่ต้องมีติดกระเป๋า ซึ่งในกลุ่มผู้ชายที่ดูแลตัวเองก็พกลิปบาล์มด้วยเช่นกัน เนื่องจากเป็นเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปาก เพิ่มความชุ่มชื้นให้ดูอวบอิ่มสุขภาพดี หลายคนนำไปประยุกต์ใช้กับจุดแห้งเสียของผิวหนังบริเวณอื่นๆ เช่น ศอก เข่า ตาตุ่ม รวมไปถึงส้นเท้า
ลิปบาล์มตามท้องตลาดทั่วไปอาจเพิ่มสารสกัด แต่งสี เติมกลิ่น เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคและสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าของตัวเอง ยิ่งในช่วงนี้ที่มีกระแสความสนใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากธรรมชาติ จึงทำให้นางสาวบัดดารีหย๊ะ โส๊ะสันสะ และนางสาวนารีญา วาเล๊าะ จากศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับประเด็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากกากเมล็ดงาขี้ม้อนที่เหลือทิ้งจากการผลิตน้ำมัน นำมาพัฒนาต่อเป็นลิปบาล์มสูตรบำรุงล้ำลึก ถูกหลักฮาลาลของชาวมุสลิม และถูกใจสาวๆ ทุกศาสนา
“ทางภาคเหนือจะมีการเพาะปลูกเมล็ดงาขี้ม้อนเพื่อผลิตน้ำมันเป็นจำนวนมาก ในกระบวนการผลิตมักจะมีกากที่เหลือจากการสกัดหรือกลั่นน้ำมันออกมา ทำให้เกิดความคิดที่ว่า เราจะทำอย่างไรเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับของเหลือใช้ จึงทำการศึกษาหาคุณสมบัติและการออกฤทธิ์ว่าสามารถนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์อะไรได้บ้าง โดยเราพบว่าค่า Total phenolic มีประมาณ 50 มิลลิกรัมแกลลิคแอซิด และมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) จึงสนใจทำเป็นผลิตพันธ์ลิปบาล์ม เพื่อตอบโจทย์ชาวมุสลิมที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่ประเทศซาอุดิอาราเบีย เพื่อที่จะตอบโจทย์ให้กับผู้บริโภคที่เดินทางไปที่เป็นพื้นที่เขตร้อน ซึ่งสามารถช่วยในเรื่องของผิวแห้ง ปากแตก โดยใช้คุณสมบัติของน้ำมันเมล็ดงาขี้ม้อนในการช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับริมฝีปาก” นางสาวบัดดารีหย๊ะ กล่าว

Q: จุดเริ่มต้น แรงบันดาลใจในการค้นค้นผลงาน
A: เป็นแนวคิดมาจากอาจารย์ที่ปรึกษาตอนเรียนปริญญาเอกที่ต่างประเทศค่ะ อาจารย์เป็นคนที่ชอบลงชุมชนและมาเมืองไทย ท่านก็ทำงานกับเกษตรกรด้วย แล้วพบว่ามีพืชตัวหนึ่งที่น่าสนใจนั่นก็คือต้นบุกที่มีหัวอยู่ใต้ดิน ซึ่งคนไทยก็ทานมานานแล้วนำมาต้มหรือทำแกง แต่ถ้าในเมืองจีนหรือญี่ปุ่นเขาจะสกัดเป็นแป้งแล้วไปทำเส้นก๋วยเตี๋ยว อย่างอาหารญี่ปุ่นก็จะเป็นเส้นอุด้ง ซึ่งคุณลักษณะที่เป็นเส้นจะต้องเหนียวและขึ้นรูปเจลได้ ซึ่งบุกมีคุณสมบัตินั้นและเมืองไทยก็มีพันธุ์ที่ให้คุณสมบัตินั้นดีมาก ดีกว่าเมืองจีน ปลูกได้เฉพาะที่ไทย ซึ่งพ่อค้าจากจีนมาซื้อหัวสดจากเมืองไทยกลับไปแปรรูปเป็นผงบุกมาขายคนไทย จากตรงนั้นที่ได้ฟังจากอาจารย์ก็จุดประกายว่าทำไมเราไม่คิดแปรรูปจากบุกของเราที่มีคุณภาพสูงมาแนะนำให้คนไทยรู้จักและวิจัยกระบวนการนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเพิ่มมูลค่าให้กับผงบุก
เริ่มศึกษาจากการสกัดผงบุกโดยใช้วิธีการสกัดแบบผสมผสานคือแบบเปียกและแบบแห้ง และใช้การอบแห้ง ก็จะแบ่งเป็นขั้นสูง เช่น เทคโนโลยีไม่โครเวฟสูญญากาศ และในขั้น SMEs /อุสาหกรรม เราทำได้ เรามีการปรับกระบวนการอบแห้งให้แป้งบุกเทียบเคียงคุณภาพสูงได้ แต่ลงทุนไม่สูงมาก จากนั้นเราก็ศึกษาเรื่องของสายพันธุ์ เกี่ยวกับสารกลูโคแมนแนน มีคุณสมบัติหนืดที่เราสามารถเอาไปทำเจล พันธุ์บุกในประเทศไทยมีมากกว่า 50 พันธุ์ เวลาที่เราจะนำมาเพาะปลูกหรือต่อยอดจะต้องจำแนกพันธุ์ให้ถูกต้อง ซึ่งหน้าตามันเหมือนกันหมด เพราะฉะนั้นเลยศึกษาการตรวจสอบ DNA โดยการทำ Develop Biomarker เพื่อความแม่นยำในการให้สารสำคัญสูงและการจำแนก การเพาะปลูกสายพันธุ์ต่อไป

Q: มีการต่อยอดผลิตภัณฑ์อีกไหม
A: เราศึกษาการใช้ประโยชน์จากแป้งบุก ซึ่งบุกสามารถขึ้นรูปเป็นฟิล์มได้ ซึ่งเป็นฟิล์มจากพืช กินได้ ย่อยสลายได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้นเราจึงเอาบุกมาขึ้นรูปฟิล์ม ผสมสารสำคัญต่างๆ เช่น สาร LA ซึ่งเป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช เราทดลองกับกล้วยไม้ นำฟิล์มที่ผสมสารตามโดสที่เราคำนวนไว้ นำไปวางไว้ที่รากไม้ สารจากฟิล์มจะค่อยๆ ปล่อยออกมา ส่งผลให้ช่อดอกมีมากขึ้น ใหญ่ขึ้น และมีสีสดมากขึ้น ย่อยสลายได้เอง ไม่ตกค้าง และไม่อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
นอกเหนือจากนั้นจะทำเป็นสารสกัดจากพืชแล้วนำมาใส่ เช่น สารยืดอายุอาหาร เราพบว่ากลูโคแมนแนน เป็นพรีไบโอติก เมื่อเราทดลองกับจุลินทรีย์บางกลุ่มโปรไบโอติกสามารถย่อยตัวนี้ได้ พอนำมารวมกันก็จะเป็นซินไบโอติกซึ่งมีประโยชน์ เราจะได้ยินบ่อยๆ ในโฆษณานมผง คือเป็นอาหารให้โปรไบโอติกเจริญเติบโตในลำไส้ของมนุษย์ เมื่อเรานำมาอยู่ด้วยกัน ก็จะนำมาประยุกต์ใส่ในอาหารได้ เช่น อบขนมปังใหม่ๆ เราสามารถใส่โค้ดฟิล์ม ซินไบโอติก ทำให้ขนมปังเป็นอาหารฟังก์ชั่น ทำให้อาหารมีประโยชน์ เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของอาหาร ถ้าเราไม่ชอบทานพวกนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ต หรือไม่ชอบทานเป็นแคปซูล แต่เราสามารถทานร่วมกับอาหารก็ทานได้ง่าย สามารถโค้ดใส่ผลไม้ก็ได้ เราทดสอบกับผักและผลไม้ ก็พบว่าช่วยชะลอการหายใจของพืชและยืดอายุได้




งาม้อน หรือ งาขี้ม้อน เป็นพืชสมุนไพรท้องถิ่นที่ปลูกกันในภาคเหนือของประเทศไทย จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับกระเพรา โหระพา แมงลัก โดยมีโอเมก้า 3,6 วิตามินอี วิตามินบี สารต้านอนุมูลอิสระ อุดมไปด้วยความชุ่มชื้น ด้วยคุณประโยชน์บำรุงผิวนี่เอง จึงทำให้งาขี้ม้อนกำลังจะได้รับความนิยมในวงการเครื่องสำอางและเครื่องประทินผิว
นอกจากนี้ เมล็ดงาขี้ม้อนยังมีปริมาณโอเมก้า 3 มากกว่า 50% และมีโอเมก้า 6 มากกว่า 20% เมื่อเทียบกับน้ำมันที่สกัดจากอัลมอนด์ มะกอก ปาล์ม ถั่วลิสง ถั่วเหลือง รวมถึงมากกว่าน้ำมันปลาที่มีปริมาณโอเมก้า 3 เพียง 2%* เท่านั้น และยังมีวิตามินอี 6.7 – 7.6 มิลลิกรัม ซึ่งพบมากกว่าเมล็ดทานตะวัน ถั่วลิสง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง กีวี่ และบร็อคโคลี่ อีกทั้งมีไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าน้ำมันชนิดอื่น ทำให้คอเลสเตอรอลต่ำ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเส้นเลือดอุดตันได้
*ปลาแซลมอนอบขนาด 85 กรัม จะมีโอเมก้า 3 เพียง 2 กรัม คิดเป็น 2.35 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
นางสาวนารีญากล่าวต่อ ถึงการวางแผนต่อยอดผลิตภัณภัณฑ์จากกากเมล็ดงาขี้ม้อนในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เพื่อความงามอื่นๆ “อยากจะใช้ประโยชน์จากความรู้นี้อีกครั้ง โดยพัฒนาเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ Anti-aging เพราะในเมล็ดงาขี้ม้อนมีสารต้านอนุมูลอิสระ ในส่วนของลิปบาล์มแม้จะยังไม่มีการผลิตเพื่อจัดจำหน่าย แต่มีการจดทะเบียนเป็นอนุสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว รอเพียงภาคอุตสาหกรรมมาร่วมลงทุน”
ลิปบาล์มกากเมล็ดงาขี้ม้อน เป็นหนึ่งในเครื่องสำอางทางเลือกให้กับกลุ่มชาวมุสลิมและผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ นอกจากนี้ยังช่วยลดปริมาณกากเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตน้ำมันงาขี้ม้อนให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงต่อยอดไอเดียเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่สามารถหาวัตถุได้ง่ายจากของภายในประเทศ สร้างกำไร สร้างอาชีพในวงกว้างให้กับเศรษฐกิจและสังคมไทยได้อย่างไม่รู้จบ
ข้อมูลอ้างอิง : สวพส. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

นางสาวบัดดารีหย๊ะ โส๊ะสันสะ / นางสาวนารีญา วาเล๊าะ
เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย