การตรวจวัดค่าความเป็นกรด-ด่างแลคเตท ผ่านตัวรับรู้บนสิ่งทอจากเหงื่อ
ธันวาคม 14, 2020 2024-01-08 9:02การตรวจวัดค่าความเป็นกรด-ด่างแลคเตท ผ่านตัวรับรู้บนสิ่งทอจากเหงื่อ
“ยิ่งกินปลา…ยิ่งฉลาด” เชื่อว่าหลายท่านชอบรับประทานปลาเพราะทฤษฎีนี้ทำให้การรับประทานปลายิ่งอร่อยและมีคุณค่ามากขึ้น นอกจากนี้ เนื้อปลายังเป็นแหล่งโปรตีนที่มีไขมันดี ย่อยง่ายตามหลักโภชนาการอีกด้วย เหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ผู้สูงอายุ เด็ก วัยทำงาน โดยปลาน้ำจืด 1 ตัวอาจเป็นมื้ออาหารที่ทานได้ทั้งครอบครัว สามารถนำไปประกอบอาหารได้สารพันเมนู เคยสงสัยหรือไม่ ว่าปลาที่ขายอยู่ตามท้องตลาดถึงได้มีราคาแตกต่างกันไปตามฤดูกาล แม้จะเลี้ยงในกระชังเดิม คนขายเดิม ฟาร์มเดิม แต่ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูแลกลับไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับโรคระบาดและความชุกของโรคในช่วงนั้น ๆ
สัตวแพทย์หญิง ดร.สิริกร กิติโยดม จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองในมุม “ป้องกันดีกว่ารักษา” โดยเห็นปัญหาที่ส่งผลต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลที่ต้องเผชิญหน้ากับโรคเหงือเน่าในปลา ซึ่งมีกระบวนการในการดูแลที่เสียทั้งเวลา กำลังคน และค่าวัคซีน แต่อัตรารอดของประชากรปลาก็ได้ไม่คุ้มเสีย จึงเกิดเป็น “วัคซีนนาโนแบบเกาะติดเยื่อเมือกต้านโรคเหงือกเน่าในปลา” คิดโดยคนไทยเพื่อเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาไทยให้ตรงจุดตรงโรค ปลอดภัยไร้สารตกค้าง
“ปลาน้ำจืดที่เลี้ยงในประเทศบ้านเรามีภาวะการเสียหายเยอะมาก โดยพบโรคเหงือกเน่าบริเวณเหงือกปลาที่เป็นปัญหาต่อเกษตรกรไทย เราจึงมีการพัฒนาวัคซีนเชื้อตายที่มีการปรับประจุโครงสร้างเพื่อให้เกาะติดเยื่อเมือกปลาอย่างมีประสิทธิได้ผลในการป้องกันดีมากยิ่งขึ้น โดยปกติ วัคซีนที่ใช้ในปลาจะเป็นการฉีดยาในปลาที่ละตัว นอกจากนี้ ถ้าใช้วัคซีนจากเมืองนอกจะเป็นวัคซีนเชื้อเป็น ซึ่งบ้านเราจะไม่อนุญาติให้ใช้ได้ เนื่องจากอาจส่งผลให้เกิดการระบาดเกิดขึ้นมาใหม่ได้ ดังนั้นเราจึงพัฒนาวัคซีนที่เป็นของเราเองจากเชื้อตายที่ใช้นาโนเทคโนโลยีเข้ามาช่วย” สพ.ญ.ดร.สิริกร กล่าว
โรคเหงือกเน่าในปลา หรือ โรคคอรัมนาริส เกิดจากเชื้อฟลาโวแบคทีเรียม คอรัมแนร์ (Flavobacterium Columnare) ที่แทรกซึมเกาะติดเข้ามาทางเหงือกปลาจนทำให้เหงือกเน่า ครีบกร่อน หรือมีบาดแผลตามลำตัว เป็นโรคยอดฮิตที่สามารถทำให้ปลาป่วยตายได้ทุกช่วงอายุ การรักษาควบคุมรักษาโรคของเกษตรกรจึงเป็นการโรยด่างทับทิมหรือฟอร์มาลีน ซึ่งถือได้ว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาไม่คุ้มกับราคา บางฟาร์มใช้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะจากต่างประเทศ โดยการฉีดวัคซีนเข้าไปที่เหงือกปลาโดยตรงทีละตัว ซึ่งเสียเวลาและเสี่ยงต่อเชื้อดื้อยา รวมถึงอาจมีสารตกค้างที่ทำให้แหล่งน้ำในชุมชนเกิดมลพิษ ซึ่งการดูแลรักษาปลาด้วยวิธีเหล่านี้ ส่งผลต่ออัตราการรอดชีวิตของปลาต่ำ รวมถึงส่งผลไปยังราคาการซื้อขายปลาในตลาดอีกด้วย


วัคซีนนาโนแบบเกาะติดเยื่อเมือกต้านโรคเหงือกเน่าในปลา ใช้หลักการพัฒนาวัคซีนแบบเชื้อตายที่ลดความเสี่ยงด้านการกลับมาระบาดซ้ำ โดยใช้ออร์แกนิคพอลิเมอร์ (Organic polymer) และพอลิเมอร์ชีวภาพ (Bioploymer) ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและผู้ใช้ ลดระยะเวลาในขั้นตอนการให้วัคซีน โดยผสมวัคซีน 1 ลิตร ต่อน้ำ 100 ลิตร แช่ปลาได้ทุกขนาดภายในระยะเวลา 15-30 นาที โดยวัคซีนจะจำลองวิธีการแพร่ของเชื้อและยึดเกาะเยื่อเมือกและเหงือกปลา เนื่องจากวัคซีนมีขนาดอนุภาคเพียง 200-400 นาโนเมตรและมีประจุบวก จึงทำให้ยึดเกาะเยื่อเมือกได้ในปริมาณที่สูง อีกทั้งมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ทั้งในเซลล์*และในน้ำ**
*CMI : Cell Mediated Immunity
**HMI : Humoral Mediated Immunity
สพ.ญ.ดร.สิริกร กล่าวถึงความพึ่งพอใจของกลุ่มเกษตรกรผู้นำไปใช้และการขยายความรู้และการต่อยอดผลงานว่า “ผลิตภัณฑ์ที่เราเลือกใช้จะเป็น Organic polymer คือพอลลิเมอร์ที่สามารถย้อยสลายได้ตามธรรมชาติ เมื่อให้วัคซีนปลาไปแล้วก็จะมีการสลายไปในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งไซด์ปลาที่เราทดลองและไซด์ปลาที่เราจัดขึ้น พบว่าผลิตภัทณ์ย่อยสลายโดยไม่ทิ้งสารตกค้าง มีการทดสอบ toxic city และ toxic sefety พบว่ามีความปลอดภัยต่อตัวปลา ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม รวมถึงไม่ส่งผลต่อเกษตรกรผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ด้วย ตอนนี้มีเกษตรกรที่นำผลิตภัณฑ์ของเราไปใช้ในฟาร์มแล้ว โดยพบว่าหลังจากที่มีการระบาด กลุ่มปลาที่ใช้วัคซีนมีอัตราการรอดสูงกว่า 80-90% แต่ในกลุ่มปลาที่รับวัคซีนด้วยวิธีเดิม มีอัตราการรอดไม่ถึง 50%
ในส่วนของการต่อยอด ก็มีกลุ่มผู้เลี้ยงปลากระพงสนใจอยากให้เราพัฒนาต่อ รวมถึงกลุ่มเกษตรกรปลาสวยงาม ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นพัฒนาเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์เกษตรกรไทยได้ดีมากยิ่งขึ้น เพราะในตลาดการส่งออกปลาสวยงามเป็นตลาดที่ค่อนข้างใหญ่มาก ไม่ว่าจะเป็นปลากัดหรือปลาคาร์ฟก็ป่วยเป็นโรคนี้เช่นเดียวกัน เราจึงสนใจอยากพัฒนาต่อเพื่อให้ผลิตภัณฑ์สามารถครอบคลุมโรคเหงือกเน่าในปลาได้ทุกสายพันธุ์ปลาเศรษฐกิจของประเทศไทย”

สพ.ญ.ดร.สิริกร กิติโยดม
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย