ข่าวสาร

โครงการบ่มเพาะการประกอบการสังคมสำหรับนิสิตและกลุ่มวิจัย (Pitching Deck)

3

โครงการบ่มเพาะการประกอบการสังคมสำหรับนิสิตและกลุ่มวิจัย (Pitching Deck)

ศูนย์นวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU SiHub) เปิดเวทีทางความคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านธุรกิจเพื่อสังคม ผ่านการนำเสนองานโครงการบ่มเพาะการประกอบการสังคมสำหรับนิสิตและกลุ่มวิจัย (Pitching Deck) เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564 รายงานออนไลน์ผ่าน Zoom conferencing

ศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี ด้านการวิจัย กล่าวถึงโครงการว่า “เราต้องการให้นวัตกรรมที่เกิดขึ้นถูกนำไปใช้จริง ทั้งในด้านของสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าและนำกลับมาพัฒนาวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีต่อไปได้ การพัฒนางานวิจัยทางสังคมน่าจะช่วยทำให้นิสิตและนักวิจัยกลายเป็นนวัตกรทางสังคมรุ่นใหม่และสามารถนำความสามารถเหล่านี้ไปใช้งานได้อย่างชัดเจนมากขึ้น”

คุณณัฐพงศ์ จารุวรรณพงษ์ วิทยากรโครงการบ่มเพาะการประกอบการสังคมสำหรับนิสิตและกลุ่มวิจัย ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. (สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส) กล่าวถึงจุดประสงค์ของโครงการ คือการสร้างความเข้าใจและเปิดมุมมองด้านธุรกิจทางสังคม มองถึงโจทย์ปัญหา และลดช่องว่างของงานวิจัยให้พัฒนาไปสู่งานวิจัยเชิงพาณิชย์ที่สามารถพึ่งพาตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งแค่เงินทุนงานวิจัยแต่เพียงอย่างเดียว

โครงการบ่มเพาะการประกอบการสังคมสำหรับนิสิตและกลุ่มวิจัย (Pitching Deck) เป็นเวทีฝึกบ่มเพาะ ความรู้ความสามารถให้กับนิสิตและนักวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้านการประกอบการสังคมเพื่อนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมทางสังคมและสามารถแก้ปัญหาสังคมได้อย่างยั่งยืน ผ่านการพัฒนาต้นแบบเพื่อการทดลอง (PROTOTYPING) การพัฒนาโมเดลทางธุรกิจเพื่อสังคมและแผนธุรกิจเพื่อสังคม และการนำเสนอแผนดังกล่าวสู่กลุ่มเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ที่มีความสนใจ โดยมุ่งเน้นงานวิจัยเพื่อตอบโจทย์ทางสังคมและเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์


การนำเสนอรายงานแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ นิสิตและกลุ่มวิจัย โดยเริ่มจากการนำเสนอแผนแนวคิดการประกอบการจากนิสิตรวมทั้งสิ้น 7 แผนงาน ได้แก่

  1. Apollnertech Solar Energy Solution
    โดย นายพริษฐ์ จงพิเชษฐวรกุล นิสิตปริญญาตรี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
  2. พัฒนาเกมการศึกษาเพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ในรูปแบบแพลตฟอร์มออนไลน์
    โดย นางสาวรัฏยานินท์ แก้วสีเขียว นิสิตปริญญาโท หลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม บัณฑิตวิทยาลัย
  3. My Sustainability Leadership Competencies: Web-based tool kit
    โดย นางสุนีย์ บันโนะ นิสิตปริญญาเอก คณะครุศาสตร์
  4. Mind own” แพลตฟอร์มตัวช่วยเพื่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่ดีขึ้น
    โดย นางสาวกมลวรรณ ชัยสกุลสุรินทร์ นิสิตปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  5. อาหารทางเลือกสำหรับผู้มีภาวะกลืนลำบาก
    โดย นางสาวปานฉัตร กลัดเจริญ นิสิตปริญญาโท หลักสูตรการจัดการทางวัฒนธรรมบัณฑิตวิทยาลัย
  6. Brock Spab ขยะแปรรูปเพื่อส่งเสริมรายได้ชุมชน
    โดย นายศราวุธ นาควิทยานนท์ นิสิตปริญญาโท หลักสูตรสหสาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม บัณฑิตวิทยาลัย
  7. GG: (Good Growing) การเรียนรู้เพื่อปลูกจิตสำนึก จากขยะแปรรูปสู่การพัฒนาโมเดล โดย 3D Printing
    โดย นางสาวกีรติกานต์ กล้าหาญ นิสิตปริญญาโท คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ช่วงเวลา 13.00 น. เข้าสู่ช่วงการเสนอแผนประกอบการของนักวิจัยรวมทั้งสิ้น 7 แผนงาน ได้แก่

  1. กลุ่ม Data Journalism โดย รองศาสตราจารย์ พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล และ คุณพีระพงษ์ เตชะทัตตานนท์ และคณะคณะนิเทศศาสตร์
  2. กลุ่ม Entertainment Lab โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริดา มโนมัยพิบูลย์ และคณะ ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์
  3. กลุ่ม IIS Social Solidarity Economy โดย นายอรรคณัฐ วันทนะสมบัติ สถาบันเอเชียศึกษา
  4. กลุ่ม Local Experience Tourism โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์
  5. กลุ่ม Sustainable PGS Farming โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญศิภรณ์ จันทร์หอม สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร
  6. กลุ่ม Sustainable Live Stock Farming โดย ผศ.น.สพ.ดร.วินัย  แก้วละมุล สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร
  7. กลุ่ม Education Art for Impact โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อินทิรา พรมพันธุ์ คณะครุศาสตร์