“Nan” The Future of Fashion – Culture for creative tourism
ธันวาคม 7, 2021 2024-01-08 10:26“Nan” The Future of Fashion – Culture for creative tourism




แฟชั่น กับ วัฒนธรรม ถือเป็นของคู่กันมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ บอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิต ภูมิปัญญา พิธีกรรม ผ่านเส้นใยและลายทอผ้าแปรเปลี่ยนรูปแบบไปตามยุคสมัย แม้การเวลาจะผ่านไปเร็วแค่ไหน แต่แฟชั่นจะนำหน้าเราไปก่อนเสมอ เพราะแฟชั่นเกิดใหม่ทุกวัน หากคุณให้แฟชั่นรอนาน มันก็จะไม่รอคุณ
การปรับตัวในอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย พยายามเปลี่ยนไปพร้อมกับการรักษาตัวตนด้วยแฟชั่นร่วมสมัยมาโดยตลอด แต่ด้วยแรงบันดาลใจหรือช่องว่างระหว่างวัย ที่ทำให้นักออกแบบรุ่นใหม่และแม่ย่ารุ่นก่อนขาดความเข้าใจในกระบวนการทำงานซึ่งกันและกัน
ศาสตราจารย์ ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล หัวหน้าโครงการ / หน่วยวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเหล่า Young Designer รวมกันจนเกิดเป็นโครงการนวัตกรรมอุสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์จังหวัดน่านสู่สากล เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการสร้างเสริมพลังจุฬาฯ ก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 (C2F) โดยเล็งเห็นถึงต้นทุนทางวัฒนธรรมด้านสิ่งทอพื้นถิ่นจังหวัดน่านที่ได้รับการสืบสานและต่อยอดมาเป็นเวลายาวนาน และมีรูปแบบของสิ่งทอที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ เกิดเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ภูษาพาจร
“ระบบแสงสว่าง LED จากการวิจัยนี้มีความยาวคลื่นที่ผ่านการทดสอบกับผู้สูงอายุและผู้ที่มีสายตาเลือนรางแล้วว่า ช่วยเพิ่มความต่างระหว่างสีทำให้การมองเห็นชัดเจนและเคลื่อนไหวได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุจากการล้มที่ไม่สามารถสังเกตเห็นความแตกต่างระหว่างพื้นต่างระดับ วัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้ และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน โดยหลอดไฟที่ได้รับการพัฒนาจะใช้คลื่นแสงที่มีความยาว 3 ช่วง ได้แก่ แดง เขียว และน้ำเงิน เมื่อผสมกันแล้วจะได้เป็น “แสงสีขาว” ที่ช่วยเพิ่มความต่างระหว่างสีได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังเพิ่มแสงสีขาวที่เพิ่มความสามารถในการขยายความแตกต่างของสีบางคู่ให้เด่นชัดยิ่งขึ้น ในส่วนของผลิตภัณฑ์หลอดไฟผลิตออกมาทั้งหมด 3 ชุด ได้แก่ ชุด FR-L แสงไฟทั่วไป (General Lighting) ชุด BV-L และชุด CV-L แสงเฉพาะจุด (Task Lighting) ซึ่งได้ผ่านการทดสอบกับผู้มีสายตาเลือนรางจากงานวิจัยของนิสิตปริญญาเอก (ทุนจุฬาฯ ดุษฎีภิพรรธน์) ครั้งนี้เป็นส่วนที่ต่อยอดเพื่อนำไปผลิตและใช้ได้จริงในเชิงพาณิชย์ ขณะนี้พัฒนาเป็นหลอดชนิดยาวเสร็จสมบูรณ์และมีแผนผลิตหลอดชนิดกลมเพิ่มเติม ซึ่งในเดือนพฤษภาคม 2564 มีแผนนำไปทดสอบการใช้งานจริงในศูนย์ฟื้นฟูการมองเห็นของโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์และในบ้านพักผู้มีสายตาเลือนรางตามลำดับ ซึ่งอยู่ในกระบวนการขอจริยธรรมการวิจัยและเตรียมความพร้อม” รศ.ดร.พิชญดา กล่าว

หนึ่งในวิธีการที่ทำให้อุตสาหกรรมสิ่งทอของจังหวัดน่านสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนและครบวงจร คือการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ สร้างการรับรู้และเพิ่มมูลค่าลายผ้าทอผ่านทริปเที่ยวลงมือทำจริงร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 3 เส้นทาง ได้แก่…
- เส้นทางการท่องเที่ยวช้อปชิมแชร์ (Shop, Teste, and share) เยี่ยมชมกลุ่มผู้ประกอบการผ้าทอ ซื้อสินค้าของฝากของที่ระลึก และทานอาหารหรือเครื่องดื่มท้องถิ่น เส้นทางสัญจรได้แก่ กลุ่มทอผ้าบ้านชาวหลวง อำเภอเมือง, ร้านฝ้ายเงิน อำเภอเมือง, กลุ่มทอผ้าไทลื้อ บ้านเก็ต อำเภอปัว และ ร้านวราภรณ์ผ้าทอ อำเภอเวียงสา
- เส้นทางการท่องเที่ยวสิ่งทอและงานฝีมือ (Textile and Craft Destination) ท่องเที่ยวเชิงลงมือทำ เช่น การทดลองทอผ้า ย้อมสีผ้าเป็นของที่ระลึก เส้นทางสัญจรได้แก่ กลุ่มผ้าทอบ้านซาวหลวง อำเภอเมือง, ร้านรัตนาภรณ์ผ้าเขียนเทียน อำเภอปัว, กลุ่มผ้าทอไทลื้อบ้านเก็ต อำเภอปัว, ร้านวราภรณ์ผ้าทอ อำเภอเวียงสา, ศูนย์ผ้าทอไทลื้อบ้านดอนมูล อำเภอท่าวังผา และ ร้านมิสเอโปรดักซ์ อำเภอปัว
- เส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มผู้สนใจศึกษาต่อยอดเชิงธุรกิจ (Creative Entrepreneur Route) เป็นเส้นทางการท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Entrepreneur) หรือนักออกแบบ (Designer) ที่ต้องการแสวงหาเทคนิคจำเพาะในการผลิตสิ่งทอจากทุนวัฒนธรรมพื้นถิ่นในจังหวัดน่าน มุ่งนำองค์ความรู้กลับไปประยุกต์ใช้กับงานหรือธุรกิจของตนเอง เส้นทางสัญจรได้แก่ กลุ่มทอผ้าบ้านซาวหลวง อำเภอเมือง, ร้านวราภรณ์ผ้าทอ อำเภอเวียงสา, ร้านรัตนพรผ้าเขียนเทียน อำเภอปัว, ร้านฝ้ายเงิน อำเภอเมือง, กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านปางกอม อำเภอสองแคว, ผ้าไทลื้อบ้านเก็ต อำเภอปัว, ศูนย์ผ้าทอไทลื้อบ้านดอนมูล อำเภอท่าวังผา และ ร้านมิสเอโปรดักซ์ อำเภอปัว
Nan Culture Lifestyle in City



ดร.พัดชา เล่าตั้งแต่การลงพื้นที่เพื่อคัดเลือกกลุ่มผู้ประกอบการในปีแรกจนสร้างเป็น 8 คลัสเตอร์ ใน 5 อำเภอของจังหวัดน่าน ได้แก่ อ.เมืองน่าน อ.เวียงสา อ.ท่าวังผา อ.สองแคว และ อ.ปัว ดึงอัตลักษณ์เฉพาะของชุมชนจากมรดกภูมิปัญญาที่มีอยู่ สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และสร้างการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดวงจรของผลิตภัณฑ์
“อาจารย์ไม่ใช่คนที่ใส่ผ้าไทยมาก่อน เพราะไม่ใช่สไตล์ แต่มาวันนี้เมื่อได้มาทำงานในส่วนนี้ ทำให้เราคิดว่า ‘ถ้าเราจะใส่ เราอยากใส่แบบไหน?’ ซึ่งผลงานที่จัดแสดงทั้งหมดอาจารย์ใส่แทบทุกตัว เราใช้ความร่วมสมัยและสิ่งที่เราใส่ มาหาสมมติฐานว่า ‘ต้องมีคนอยากใส่ในแบบที่เราใส่บ้าง’ ซึ่งลักษณะแนวนี้ก็เข้ากับกลุ่มเป้าหมายคนเมือง มีทั้งเดรส แจ็กเก็ต สเกิร์ต”
“เรามักจะมองว่าผ้าไทยจะต้องเป็นผ้านุ่ง ทำไมเราถึงทำออกมาเป็นรูปแบบอื่นไม่ได้ รูปแบบที่คนเมืองหยิบใส่ได้ มีความร่วมสมัย พยายามสร้างให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่มีตัวตน สามารถใส่ได้ในโอกาสต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ทั้งลำลอง ไปงานพิธีการ สามารถเลือกใส่ได้หรือหาซื้อได้ เราพยายามดึงไอเท็มร่วมสมัยและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมไว้ด้วยกัน”
ความยั่งยืนที่แท้จริงไม่ใช่เพียงแค่นำงานวิจัยและการออกแบบร่วมสมัย หรือดึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้หันมาสนใจผ้าไทยเพียงเท่านั้น แต่รวมไปถึงการทำให้กลุ่มชาวบ้านเห็นถึงการเพิ่มโอกาสทางอาชีพ การมีรายได้จากการแปรรูปสินค้าจากวัสดุเหลือใช้ และการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ผลิตรายย่อยและกลุ่มผู้ประกอบการผ้าทอท้องถิ่น“หน่วยงานเน้นการทำงานแบบข้ามศาสตร์ที่จะสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นบนสิ่งทอ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ โครงสร้าง การนำวัสดุไร้คุณค่าในในด้านหนึ่งมาสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น การทำเส้นใยจากเศษพืชเพื่อกลับมาใช้ใหม่ โดยส่วนใหญ่ น่านประกอบอาชีพตัดไผ่เพื่อทำเฟอร์นิเจอร์ เวลาตัดไผ่หนึ่งต้น ด้านบนขอไผ่จะถูกนำไปแปรรูปเป็นตะเกียบ ไม้จิ้ม ส่วนงานสิ่งทอของเราจะใช้เศษฝอยๆ ที่ได้จากการเหลาไม้นำมาปั่นและตีจนเป็นเส้นใยเพื่อทอเป็นผ้าร่วมกับไหมหรือฝ้าย เพิ่มมูลค่า เกิดราคา นี่คือแนวทางของหน่วยวิจัยที่หานวัตกรรมมาเสริมสร้างในส่วนนี้”
ตลาดผ้าทอ…จุดนัดพบของคนอยากซื้อผ้า และ คนอยากทำผ้า
เมื่อมีแหล่งทอผ้าคุณภาพแล้ว นักออกแบบก็พร้อมผลิตสินค้า คนใส่ก็อยากลอง แต่ทำไมกลุ่มคนเหล่านี้ถึงไม่เคยมาเจอกัน? ช่องโหวของวงจรผ้าไทยที่ขาดเครือข่ายเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน โดย ดร.พัดชา มองเห็นปัญหาเหล่านี้จากโครงการวิจัยที่ผ่านมา และเกิดเป็นไอเดียต่อยอดที่จะทำให้วงการผ้าไทยไหลเวียนอย่างเป็นวงจร
“งานต่อยอดต่อไปจากโครงการนี้ อาจารย์ต้องการสร้างโรงงานนำร่องผลิตเส้นใยให้กับชุมชน ผลิตเส้นใยธรรมชาติเหลือใช้ต่าง ๆ ให้กับดีไซเนอร์ที่ต้องการผ้าจำนวนไม่มาก ออเดอร์เพียง 50 หลา ก็สามารถทำได้ โดยไม่ต้องผลิตเยอะเกินความจำเป็น นี่คือไอเดียที่พบจากการทำงานออกแบบในส่วนนี้”
“เราค้นพบว่า นักดีไซเนอร์ท้องถิ่นหรือผู้ประกอบการขนาดย่อมไม่สามารถผลิตผ้าเป็นของตัวเองได้ เนื่องจากการผลิตผ้าในระดับโรงงานต้องมีออเดอร์จำนวนมากถึงจะสั่งทอผ้าได้ ส่วนการตีไผ่ปั่นด้ายเองก็ล่าช้าและใช้กำลังคนจำนวนมาก ถ้าเราสามารถทำโรงงานนำร่องผลิตเส้นใยได้ นักออกแบบเหล่านี้ก็สามารถผลิตผ้าและมีคอเล็กชั่นเป็นของตัวเองได้ อาจารย์อยากพัฒนาเครื่องมือที่ดีดเส้นใยให้ทุกชุมชน สามารถขายได้ทั้งเส้นด้าย ขายได้ทั้งผ้าทอ เพิ่มโอกาสทางอาชีพมากขึ้น”

“แฟชั่น กับ ขยะ”
…ขยะที่กลายมาเป็นแฟชั่น
“ทุกวันนี้เราใส่ขยะรีไซเคิลอยู่นะ” ดร.พัดชา กล่าว
ในปัจจุบัน ผู้คนต่างตั้งคำถามกับ “Fast Fashion” ถึงการอุปโภคเสื้อผ้าราคาถูกตามกระแสนิยม ใช้แล้วทิ้ง และกลายเป็นปัญหาขยะ ในฐานะผู้อยู่ในวงการแฟชั่น ดร.พัดชา ให้มุมมองว่า “อาจารย์มองว่าตอนนี้มันเป็นเทรนด์ เป็นกระแสเรื่องความยั่งยืน เพราะฉะนั้นความต้องการนี้ ควรจะมีผู้ลงทุนในการผลิตเส้นใยขยะทางการเกษตรมากขึ้น เพื่อที่นักออกแบบจะได้นำไปใช้ มีผลงานในตลาด คนได้ใส่ ถ้าคุณจะพูดถึง Market share แต่ไม่เริ่มสร้าง มันก็จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง”
เอกสารจากนิทรรศการ
แคตาล็อกสินค้าคลัสเตอร์สิ่งทอน่าน
- บ้านซาวหลวง https://issuu.com/fac.ru.chula/docs/1._
- ร้านวราภรณ์ผ้าทอ https://issuu.com/fac.ru.chula/docs/2._
- ร้านรัตนพรผ้าเขียนเทียน https://issuu.com/fac.ru.chula/docs/3._
- ร้านฝ้ายเงิน https://issuu.com/fac.ru.chula/docs/4._
- บ้านปางกอม https://issuu.com/fac.ru.chula/docs/5._
- โกโก้วัลเล่ย์ https://issuu.com/fac.ru.chula/docs/6._
- ไทมูล https://issuu.com/fac.ru.chula/docs/7._
- มีสเอ โปรดักส์ https://issuu.com/fac.ru.chula/docs/8._