Horizon Southeast Asia: Pushing the Frontiers of Research and Sustainability
กันยายน 14, 2022 2024-01-03 10:24Horizon Southeast Asia: Pushing the Frontiers of Research and Sustainability

Horizon Southeast Asia: Pushing the Frontiers of Research and Sustainability
เมื่อเวลา 8.30 น. ของวันที่ 14 กันยายน 2565 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้อนรับคณะผู้เดินทางเยี่ยมชมดูงานภายใต้โครงการ “Horizon Southeast Asia: Pushing the Frontiers of Research and Sustainability” ณ อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รองศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานแผนงานกองทุนศตวรรษที่ 2 เป็นตัวแทนกล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.พัชณิตา ธรรมยงค์กิจ และรองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านวิจัย นำเสนอนโยบายด้านการวิจัย และ ดร.ภัทรชาติ โกมลกิติ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักบริหารวิชาการและ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ กล่าวแนะนำการสนับสนุนด้านทุนการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โครงการ “Horizon Southeast Asia: Pushing the Frontiers of Research and Sustainability” เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยการอุดมศึกษาและการพัฒนา องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO RIHED) และ Osnabrück University of Applied Science พร้อมคณะตัวแทนผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยในโครงการ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม เมียนมาร์ ติมอร์ –เลสเต รวมถึงเจ้าหน้าที่จาก SEAMEO RIHED และ Osnabrück University เรียนรู้นโยบายด้านการวิจัย และเยี่ยมชมผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ ผลงานกลุ่มวิจัยความเสี่ยงทางสภาพภูมิอากาศและการรู้รับปรับฟื้น (Climate Risk and Resilience Research Cluster) ความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Stockholm Environment Institute (SEI) โดย ดร.ปัณฑิตา ตันวัฒนะ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม โครงการแผนงานวิจัยไทยอารี (Thailand Platform for Aging Research Innovation (Thai ARi)) โดย ศาสตราจารย์ ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ และการสาธิต “น้องไข่มุก” หุ่นยนต์โทรเวชกรรม (Telemedicine) ในโครงการฯ






