บทความ

เด็กเล่นศิลป์ สร้างอีเอฟ

Cover

เด็กเล่นศิลป์ สร้างอีเอฟ

เคยได้ยิน ‘วัยทอง 2 ขวบ’ กันบ้างรึเปล่า? เป็นช่วงวัยอลวนที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องกุมขมับ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายเข้าใจยาก สิ่งนี้อาจไม่ใช้ปัญหาแต่เป็นนาทีทองที่สมองของเด็กกำลังอยู่ในช่วงพัฒนา เด็ก ๆ จะรู้จักบริหารจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพหากเหล่าผู้ปกครองรู้จักการพัฒนา ‘EF’

EF (Executive Function) มีความสำคัญต่อวัยเด็กช่วง 3-6 ปี เป็นระบบการทำงานของสมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่ควบคุมพฤติกรรม อารมณ์ ความคิด และการเรียนรู้ ซึ่งมีความสำคัญต่อเรื่องความจำ การควบคุมและยับยั้งตนเอง รวมไปถึงการจัดระเบียบกระบวนการทางความคิด จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็กวัยนี้จะมีอาการ ‘ทรงอย่างแบด…แซดอย่างบ่อย’ คุณณชนก หล่อสมบูรณ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงชวนวัยรุ่นฟันน้ำนมมาทำกิจกรรมเข้าใจตนเองผ่านงานศิลปะแบบมีส่วนร่วม ด้วยกิจกรรม เด็กเล่นศิลป์ สร้างอีเอฟ

“ยู้ฮู แมวเหมียวอยู่ไหน?” เด็กจะทำอย่างไรเมื่อแมวติดอยู่บนต้นไม้?

ศิลปะกับเด็กเป็นของคู่กัน เด็กปฐมวัยมักเรียนรู้ได้ดีจากงานศิลปะ โดยคุณณชนกได้สังเคราะห์แนวคิดการสอนพฤติกรรมศิลปะกับแนวคิดเชิงออกแบบ ทำให้นิทานเรื่อง “ยู้ฮู แมวเหมียวอยู่ไหน?” เข้ามาเป็นโจทย์ปัญหา โดยตั้งคำถามชวนคิดว่า ‘อะไร’ ‘ทำไม’ และ ‘อย่างไร’ ในจุดนี้เองที่เด็ก ๆ จะเริ่มสร้างสรรค์แนวคิดและแสดงออกมาเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่

  • สร้างแรงบันดาลใจ ผู้สอนจะชวนตั้งคำถามเพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหา นิทานเรื่อง “ยู้ฮู แมวเหมียวอยู่ไหน?” จึงเป็นโจทย์ให้เด็ก ๆ หาทางช่วยเจ้าแมวจอมซนที่ติดอยู่บนต้นไม้ และมีการประเมินตนเองขณะร่วมกิจกรรม
  • แบ่งปัน เด็กจะเริ่มวางแผนจากโจทย์ปัญหาที่ได้รับ แบ่งปันวิธีการ และเรียนรู้คำตอบจากเพื่อนในชั้นเรียน
  • ลงมือทำ ลองนำสิ่งที่ตอบในห้องเรียนมาทดลองสมมติฐานและเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสม เกิดเป็นผลงานประดิษฐ์ ได้เรียนรู้วิธีในการแก้ไขปัญหาอีกมากมายจากการแบ่งปันประสบการณ์

“เด็กจะต้องเรียนรู้และเข้าใจตัวเองก่อนจากการถูกกระตุ้นคิด ร่างแบบ ลงมือทำ และท้ายที่สุดคือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนา EF ที่เด็กจะได้ฝึกความคิด ถูกกระตุ้นความจำ รู้จักการวางแผนแก้ไขปัญหา ซึ่งการเรียนรู้ระหว่างเด็กๆ เอง จะทำให้เขารู้จักคิดตามและตั้งใจฟังผู้อื่น รวมถึงรู้จักควบคุมตนเองเพื่อให้จดจ่อกับสถานการณ์และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้” คุณณชนกกล่าว

“เพื่อนรักของฉัน” กลิ่นนี้มีเรื่องราว

“การกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยใช้ศิลปะเป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจมากสำหรับเด็กอนุบาล โดยเราเพิ่ม Multi Sensorly ซึ่งจมูกกับลิ้นเป็นประสาทสัมผัสดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ที่ใช้ร่วมกัน สังเกตได้ว่าเวลาเรากินอะไรเราจะได้กลิ่นไปด้วย ดังนั้นในงานศิลปะเราจึงใช้กลิ่นแทนการชิมรสเพื่อความสะดวกในการเสพศิลป์ อีกทั้งกลิ่นยังเป็นประสบการณ์ส่วนบุคคล ที่ไม่ควรถูกจำกัดหรือถูกชี้นำ

นิทานเรื่อง “เพื่อนรักของฉัน” จึงเป็นตัวอย่างการใช้กลิ่นเข้ามาอธิบายบรรยากาศของเพื่อนรักช้างกับหนูที่อาศัยอยู่ริมทะเล เด็กที่เคยเห็นทะเลก็จะจำกลิ่นทะเลได้ จำบรรยากาศและความรู้สึกที่ตัวเองเคยมีประสบการณ์ตอนไปเที่ยวกับผู้ปกครองได้ เราจะไม่ใช้กลิ่นในการตัดสินประสบการณ์ส่วนบุคคลของเด็กจนเกินไป เพียงแต่ใช้เราใช้ในภาพรวมของเรื่องราวและชวนให้หวนระลึกถึงเท่านั้น” คุณณชนกเล่าถึงรูปปั้นช้างกับหนู 1 ในวัตถุศิลป์ที่เป็นเครื่องมือการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กๆ ได้สัมผัสและสังเกต รวมถึงรับรู้เรื่องราวจากกลิ่นที่คุณครูเลือกเป็นสื่อการสอนให้เข้ากับเนื้อเรื่องของนิทาน

ครู คือ “ผู้อำนวยการเรียนรู้”

เด็กเล่นศิลป์ สร้างอีเอฟ ไม่ใช่เพียงแค่กิจกรรมเล็กๆ แต่เป็นถึงแผนการเรียนการสอนสำหรับเด็กอนุบาลทั้งเทอมที่มีถึง 16 เรื่อง ประกอบด้วยเซ็ตการเรียนรู้ ได้แก่ วัตถุศิลป์ประกอบการเล่าเรื่อง ชุดกลิ่นเพื่อการเรียนรู้ แบบประเมินและสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของเด็กๆ รวมไปถึงคู่มือการทำกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนอย่างชัดเจน เพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจ รู้จักตั้งคำถาม รู้จักแก้ไขปัญหา เกิดการแบ่งปันความคิด และมีความสนุกในการเรียนรู้

“เรานำศิลปะเข้าไปรวมกับ 4 สาระการเรียนรู้ที่เด็กอนุบาลควรรู้ เกี่ยวกับเรื่องของตัวเด็กก่อนค่อยไปสู่ตัวบุคคล ธรรมชาติรอบตัว และออกไปสู่สิ่งต่างๆ เรามีแผนการเรียนที่ชัดเจนซึ่งเป็นคู่มือที่ครูสามารถทำการสอนได้ หรือสามารถปรับเปลี่ยนและเลือกวัตถุดิบในการเรียนการสอนได้ตามความเหมาะสม เราจัดทำถึง 16 แผนการเรียนรู้ สามารถสอนได้ 1 เทอม มีการบันทึกพฤติกรรมการสร้างสรรค์ที่ดูเกี่ยวกับ 5 มิติของเด็ก ได้แก่ ความงาม สติปัญญา สังคม ร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ซึ่งครูก็ต้องจดจ่อกับเด็กด้วย โดยครูเป็นเหมือนผู้อำนวยการเรียนรู้ เด็กจะทำหน้าที่เรียนรู้ด้วยตัวเอง ครูจะค่อยสนับสนุนเป็นที่ปรึกษาและสังเกตการณ์จากแบบประเมินของเด็ก”

ครู คือ “ผู้อำนวยการเรียนรู้”

“มีเด็กคนหนึ่งรักแมวมาก ทุกงานต้องมีแมวเขาเข้าไปอยู่ในงานด้วย ตอนนี้แผนที่ 11 แล้วยังมีแมวอยู่เลย ซึ่งสิ่งที่ทำให้เราดีใจ คือเพื่อนในห้องจำชื่อแมวทั้ง 4 ตัวของเขาได้ นั่นหมายความว่าเด็กๆ มีปฏิสัมพันธ์กัน ได้แลกเปลี่ยน และจดจำได้”

เรื่องเล่าน่ารักๆ ที่คุณณชนกรู้สึกมีความสุขร่วมด้วยจากการเรียนการสอนของน้องอนุบาล 3 ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ซึ่งมีการประเมินผลและสังเกตได้ว่าเด็กปกติทั่วไปจะเริ่มเห็นพัฒนาการด้านสมาธิและจัดการงานที่ดีขึ้นในแผนที่ 4 ส่วนเด็กที่เข้าข่ายภาวะสมาธิสั้นกับเด็กออทิสติกจะมีพัฒนาดีขึ้นในแผนที่ 6 ซึ่งจะมีการแบ่งการวิเคราะห์พัฒนาการทุกๆ 8 แผนอย่างชัดเจน

“การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของเด็กอนุบาลเป็นไปเพื่อต้องการสื่อสาร เราจึงต้องเปิดโอกาสให้เขาทำมากกว่าชี้นำว่าเขาควรต้องทำอะไร ต้องใจเย็นและก็ต้องอดทนด้วย เพราะเด็กเกิดมาในโลกใบนี้มีประสบการณ์ชีวิตน้อย มีโอกาสที่จะทำผิดพลาดเยอะมาก เราเป็นผู้ใหญ่ เรามีประสบการณ์สูงกว่า พัฒนาการสูงกว่า เราต้องหาวิธีช่วยเขาในการชี้แนะให้รู้จักการแก้ไขปัญหาด้วยตัวของเขาเอง” คุณณชนกกล่าว

เริ่มจากความรักก่อน โดยส่วนตัวเชื่อว่าทำได้หมดทุกอย่างเลย แล้วก็ต้องใจเย็นและก็ต้องอดทนด้วย เพราะเด็กเกิดมาในโลกใบนี้มีประสบการณ์ชีวิตน้อย มีโอกาสที่จะทำผิดพลาดเยอะมาก เราเป็นผู้ใหญ่ เรามีประสบการณ์สูงกว่า พัฒนาการสูงกว่า เราต้องหาวิธีช่วยแก้ไขปัญหาให้เป็นรายบุคคลหรือจะแก้เป็นภาพรวม

เชื่อว่าถ้านักวิจัยที่ทำงานเรื่องเด็กรู้ว่าจะต้องแก้อย่างไรในสภาพปัญหาไหน และต้องแก้ไขให้ตรงจุดด้วย นมีงานวิจัยออกมายืนยันว่าเด็กไทยขาด EF คิดว่าอายุ 5-6 ขวบเป็นอะไรที่อยู่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อแล้ว ซึ่งนวัตกรรมนี้ช่วยคุณครูได้มากเลย ขอแค่จัดงบซื้ออุปกรณ์ทางศิลปะให้เด็กแบบหลาย

พัฒนาการทางศิลปะของเด็กวัยเด็กคือแค่ต้องการสื่อสาร เด็กอนุบาลมันมีพัฒนาการที่ระบุเอาไว้ บางคนเก่งกว่าคนอื่นก็เสริมต่อ คนที่ไม่เก่งถ้าวาดเยอะๆ เขาก็เก่งได้ เราแค่เป็นคนเปิดโอกาสให้กระทำมากกว่าชี้นำว่าเขาควรต้องทำอะไร”

คุณณชนก หล่อสมบูรณ์ (ดุษฎีบัณฑิต)

สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
อาจารย์ที่ปรึกษา: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โสมฉาย บุญญานันต์