ข่าวสาร

การสัมมนาพิเศษ อาซาฮีครั้งที่ 31

IMG_0695

การสัมมนาพิเศษ อาซาฮีครั้งที่ 31

วันที่ 16 มิถุนายน 2566 เวลา 08.30 น. สำนักบริหารวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาพิเศษ ครั้งที่ 31 (The 31st Special CU-af Seminar 2023) ในหัวข้อเรื่อง “From Research Excellence to Social Impact Creation” และพิธีมอบทุนผลงานวิจัยจาก the Asahi Glass Foundation ณ ห้องประชุม 202 และ 203 อาคารจามจุรี 4 ชั้น 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต้อนรับผู้ร่วมงาน โดยมีศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวรายงาน พร้อม Mr. Takuya Shimamura ประธานมูลนิธิกระจกอาซาฮี ประเทศญี่ปุ่น กล่าวแสดงความยินดีแก่อาจารย์และนักวิจัยในพิธีมอบทุนวิจัยประจำปี 2566 ซึ่งมีผู้ที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติโครงการวิจัย ได้แก่

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีรพัฒน์ ทองนึก คณะวิศวกรรมศาสตร์
  2. รองศาสตราจารย์ ดร.พีรพล เวทีกูล คณะวิศวกรรมศาสตร์
  3. รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพรรษา ยอดเมือง คณะแพทยศาสตร์
  5. รองศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร.ภาสวีร์ จันทร์สุก คณะเภสัชศาสตร์
  6. อาจารย์ ดร.สุภาวดี อุ้มทอง คณะเภสัชศาสตร์
  7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรณพ เอกธาราวงศ์ คณะวิทยาศาสตร์
  8. อาจารย์ ดร.อินทัช หงส์รัตนวิจิตร คณะวิทยาศาสตร์
  9. อาจารย์ ดร.เบญจพร นฤภัย คณะวิทยาศาสตร์
  10. อาจารย์ ดร.มนัสวี สุทธิพงษ์ คณะวิทยาศาสตร์
  11. ดร.รงรอง เจียเจริญ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ
  12. ดร.ลลิตตา สุริยาอรุณโรจน์ ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาฯ
  13. Dr. Drew Bennett Mallory สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์

การบรรยายพิเศษ ได้รับเกียรติจากศรองศาสตราจารย์ ดร.สุรเทพ เขียวหอม ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายในหัวข้อเรื่อง “Elucidating the Role of Water in Boosting Performance of Zinc-Ion Batteries with Dimethyl Sulfoxide Electrolyte and Manganese Dioxide Cathode” จากนั้นจึงแบ่งกลุ่มนำเสนอผลงานวิจัย โดยอาจารย์ที่ได้รับทุนวิจัยในปีที่ผ่านมา จำนวน 15 ท่านแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่…


กลุ่มที่ 1

จำนวน 7 ท่าน (ห้อง 202 อาคารจามจุรี 4) ได้แก่…

  1. รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ ประเสริฐธรรม ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ นำเสนอในหัวข้อ “Development of public catalytic materials database constructed via techniques in quantum chemistry, artificial intelligence, and high-throughput experimentation to enhance environmental friendliness and sustainability of gas and coal-fired stationary power plants in Thailand.”
  2. อาจารย์ ดร.ธีระยุทธ เพ็งสะอาด ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ นำเสนอในหัวข้อ “Plastic separation using hybrid jig for resources recycling: effects of geometrical properities of particles on the apparent density and separation.”
  3. อาจารย์ ดร. พิชญา อินนา ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ นำเสนอในหัวข้อ “Bioelectricity production from algal biosolar cells with a nature-inspired honeycomb structured system.”
  4. ดร.ศรภัทร นิยมสินธุ์ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี นำเสนอในหัวข้อ “Biodegradable hydrogel covered with thermoresponsive polymer for prolonging water holding ability at elevated temperature.”
  5. อาจารย์ ดร.จิตติ เกษมชัยนันท์ ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ นำเสนอในหัวข้อ “Primary Battery Recycling towards Circular Economy and Environmental Sustainability.”
  6. รองศาสตราจารย์ ดร.เจนยุกต์ โล่ห์วัชรินทร์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ นำเสนอในหัวข้อ Optimized operation of slow and rapid sand filters based on relationships between microbial community structure and DOM geochemistry and biodegradability for small-to-medium scale waterworks.”
  7. รองศาสตราจารย์ ดร.เสวกชัย ตั้งอร่ามวงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ นำเสนอในหัวข้อ “ Development of sustainable concrete with recycling granite particle waste.”

กลุ่มที่ 2

จำนวน 8 ท่าน (ห้อง 203 อาคารจามจุรี 4) ได้แก่…

  1. รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.จิตติมา ลัคนากุล ภาควิชาวิทยาการเภสัชกรรมและเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ นำเสนอในหัวข้อ “Development of targetable virus-like particles for the delivery of biological macromolecules for immunotherapy”
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรพนธ์ ชัยกีรติศักดิ์ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ นำเสนอในหัวข้อ “Development of a novel phage-derived endolysin as an outer membrane-penetrating antibacterial against bacterial pathogens in aquaculture.”
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัญจุดา อุ่นเรืองศรี ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ นำเสนอในหัวข้อ “Marketable quality-biobased poly(ethylene 2,5-furandicarboxylate) production through ring-opening polymerization.”
  4. ดร.เรืองวิทย์ สว่างแก้ว สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ นำเสนอในหัวข้อ “Ethanol as Extracting and Reacting Solvents for Biodiesel Production from Spent Coffee Grounds in Supercritical Condition.”
  5. อาจารย์ ดร.ชัยบุตร อริยะเชษฐ ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ นำเสนอในหัวข้อ “Development of personalized three-dimensional (3D) organoids for studying and testing bioactivity of Thai herb-derived compounds.”
  6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนธรณ์ ขอทวีวัฒนา ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ นำเสนอในหัวข้อ “Development of Novel Furocoumarin Derivatives as Anti-cancer Agents.”
  7. อาจารย์ ดร.ชณัท อ้นบางเขน ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ นำเสนอในหัวข้อ “A Novel Strategy for Studying and Treating Alzheimer’s Disease using Protein Dimerization.
  8. รองศาสตราจารย์ ดร.ดาว สุวรรณแสง จั่นเจริญ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ นำเสนอในหัวข้อ “Metal recovery from municipal solid waste fly ash using sulfur-oxidizing bacteria.”

ติดตามชมการประชุมสัมมนาพิเศษ ครั้งที่ 31 (The 31st Special CU-af Seminar 2023) ย้อนหลังได้ที่…

ติดตามวีดีโออื่นๆ ของสำนักบริหารวิจัยได้ที่ Youtube: Research Chula