ปาฐกถาพิเศษและเสวนา “Roles of Research Net Zero Ambitions”
กันยายน 11, 2023 2024-01-09 11:14ปาฐกถาพิเศษและเสวนา “Roles of Research Net Zero Ambitions”



Roles of Research towards Net Zero Ambitions
เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (RUN) จัดปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “Roles of Research Net Zero Ambitions” และเสวนา “Net Zero in Action: From Policy to Research and Innovation” ณ ห้องเวิลด์บอลรูม ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์เวิลด์ เซ็นทรัล ซึ่งจัดขึ้นภายในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023) โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวเปิดงาน โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สุตเขตต์ นาคะเสถียร ประธานเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (RUN) กล่าวรายงานถึงการร่วมมือกันของทั้ง 8 มหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยนเรศวร ในการจัดนิทรรศการ งานเสวนา และปาฐกถาพิเศษในธีมที่มีชื่อว่า “Roles of Research towards Net Zero Ambitions” เพื่อสร้างความตระหนักรู้และเกิดการเตรียมตัวถึงการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต อีกทั้ง การแสดงผลงานวิจัยที่เกี่ยวของกับนโยบายของประเทศเพื่อปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในหัวข้อ “R-U-N” ซึ่งนอกจะล้อไปกับชื่อย่อของเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (RUN) แล้ว ยังสื่อถึงกระบวนการ Reduction Utilization และ Neutralization เพื่อนำไปสู่การเป็น Net Zero ของประเทศอีกด้วย โดยหวังว่าจะช่วยตอบสนองนโยบายของประเทศที่นำไปสู่การลดก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในอนาคต


Net Zero in Action: From Policy to Research and Innovation
ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “Roles of Research towards Net Zero Ambitions” ได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษ ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม กล่าวว่า
“เมื่อได้มีการพยายามสร้างวัสดุใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและนำเสนอไปสู่ภาคเอกชนจนเป็นที่ยอมรับ จะส่งผลให้ภาครัฐบาลมีการสร้างมาตรการในเชิงรุกกับภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งผมมองว่าเราควรมีทางออกให้กับภาคอุตสาหกรรมก่อน ไม่เช่นนั้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ยาก ในขณะนี้เรามีงานวิจัยที่สามารถเป็นทางออกได้ แต่ถ้าทางออกนั้นมีราคาที่สูงกว่า ก็ต้องหาวิธีการที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วยเช่นเดียวกัน”
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพรเล็งเห็นว่า การลดก๊าซเรือนกระจกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วนที่ต้องช่วยกัน ในส่วนของภาคการวิจัย นักวิจัยเริ่มมีการรวมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างผลงานที่ตอบโจทย์ปัญหาสังคมมากขึ้น อีกส่วนที่ควรเข้ามามีส่วนร่วมด้วย คือภาคเอกชน เพราะ ‘สิ่งที่มีประโยชน์ คือสิ่งที่นำไปใช้’ การได้รับโจทย์และการสะท้อนปัญหาจากภาคเอกชนจะทำให้งานวิจัยสามารถใช้ได้จริงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และมองว่า Net Zero Ambitions ควรขยายผลไปสู่การสร้างหลักสูตรที่ถูกบรรจุอยู่ในการเรียนการสอน เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับ Net Zero ขั้นพื้นฐานให้กับคนยุคใหม่ที่มีส่วนในการปรับเปลี่ยนสังคมในอนาคต
คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) มุ่งเน้นและให้การสนับสนุนแก่กลุ่มวิจัยที่มีนักวิจัยจากหลากหลายสถาบัน มีเป้าหมายการวิจัยที่เจาะจงประเด็นปัญหามากขึ้น และมีการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนที่ต้องการนำงานวิจัยไปใช้และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
คุณสมิทธิพร เศรษฐปราโมทย์ Head of the Corporate Venture Capital Group at Banpu ในฐานะของภาคเอกชน มีมุมมองและความสนใจในด้านการวิจัย Net Zero ที่พยายามปรับตัวและพัฒนาธุรกิจพลังงานถ่านหินให้เป็นพลังงานสะอาดที่มีความหลากหลายมากขึ้น โดยมีการร่วมมือกับบริษัทในเครือและบริษัทพลังงานสะอาดทั้งในและต่างประเทศ ในอนาคตบ้านปู มีเป้าหมายในการลดการปล่อยคาร์บอนจากการผลิตก๊าซและถ่านหินให้มากขึ้น ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีและผลจากการวิจัยในการจัดการกักเก็บผลผลิตของก๊าซ รวมถึงสร้างความร่วมมือในการลงทุนกับบริษัทที่เกี่ยวกับ Net Zero ในต่างประเทศ เพื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้กับประเทศไทย
“เราต้องการร่วมงานกับหน่วยงานวิจัยในไทย ซึ่งขณะนี้มีความร่วมมือกับ สวทช. ในการวิจัยร่วมกัน เรื่อง Carbon Neutrality รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนพนักงานเพื่อเข้ามาทำงานร่วมกับองค์กรของเรา ในการศึกษาและแลกเปลี่ยนทรัพยากรเพื่อการวิจัย มีการสร้างความร่วมมือกับ อว. เพื่อผลักดันการใช้ EV ในประเทศไทย รวมถึงให้คำปรึกษาเรื่องรถพลังงานไฟฟ้า ซึ่งในเร็วนี้ กำลังจะมีความร่วมมือเพื่อผลักดันงานวิจัยในมหาวิทยาลัยไทยให้เป็น Net Zero เร็วยิ่งขึ้น”



ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) กล่าวถึงการรับนโยบายจากนายกรัฐมนตรีที่แถลงการณ์ในที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2564 (COP26) เรื่องการพลิกโฉมประเทศไทยให้เป็นสังคมคาร์บอนต่ำในปี 2050 จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแผนการงานระบบวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อพัฒนากำลังคนและนวัตกรรมไปพร้อมกัน โดยทำงานวางแผนยุทธศาสตร์ระยะสั้นและระยะยาวร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศ เพื่อสร้างกำลังคน สร้างงานวิจัยใน 3 ประเด็น (BCG/CCUS/Decarbonize) ที่นำไปสู่การถ่ายถ่ายทอดองค์ความรู้ และสร้างนโยบายและการตลาดที่ทำให้คนไทยสามารถใช้ประโยชน์จาก Net Zero ได้
“ภาพใหญ่ในการดำเนินมาตรการในการทำงานเป็นส่วนสำคัญ นโยบายต้องชัดเจน ต่อเนื่อง และเชื่อมโยงกับวาระแห่งชาติ เราต้องพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน จะต้องหาวิธีในการสนับสนุนกำลังคนให้ยืนอยู่ในจุดนี้ได้ เช่น การหมุนเวียนกำลังคนที่มีความรู้ในด้านนั้น ๆ จากองค์กรเอกชนงคนให้ยืนอยู่ในจุดนี้ได้อย่างไรหลักประกันเมื่อเกิดความเสียหายในการทดลองนำผลวิจัยไปใช้ปเข้าไปทำงานหรือออกมาแลกเปลี่ยนกับภาครัฐ เพื่อนำความรู้กลับไปทำงานด้าน Carbon Credit ให้คุ้มค่าและเป็นพลังงานสีเขียว ซึ่งการทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วนจะตอบโจทย์ความต้องการได้มากขึ้น”
เข้าถึง…เข้าใจ…เข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง
รองศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ อรรถวานิช ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะตัวแทนจากภาควิชาการ ได้ให้ข้อสังเกตถึงปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้งานวิจัยไม่ถูกผลักดันไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบาย ส่วนหนึ่งมาจากโจทย์วิจัยที่ไม่ได้มาจากผู้ใช้และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ขาดความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย ข้อมูลยากเกินความเข้าใจของผู้ใช้งาน หรือการที่ผู้วิจัยไม่สามารถเข้าใจและโน้มน้าวให้ผู้กำหนดนโยบายนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมถึงการไม่ได้รับทุนสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
“นักวิจัยควรมีมุมมองในการปรับตัวเพื่อผลักดันงานวิจัยปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง คือ ต้องผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ มองหาโจทย์วิจัยจากผู้ใช้ประโยชน์จากการลงภาคสนามอย่างสม่ำเสมอ ทำวิจัยในเรื่องเดียวกันอย่างต่อเนื่องเพื่อเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง ขณะเดียวกันควรทำงานวิจัยข้ามศาสตร์ร่วมกับนักวิจัยในสาขาต่าง ๆ ร่วมด้วย ในส่วนของการเสนอแนะนโยบายควรอยู่บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อประเมินผลประโยชน์และลดต้นทุนที่จะเกิด หากไม่ดำเนินการ รวมถึงทำความเข้าใจเรื่อง Business Model เพื่อใช้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ความเป็นไปได้ที่จะผลักดันงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ และไม่ลืมที่จะย่อยความรู้จากงานวิจัยเพื่อเผยแพร่ศักยภาพของงานวิจัยให้กับผู้ใช้ประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ”
ในขณะเดียวกัน ภาครัฐก็มีส่วนสำคัญที่ส่งผลให้งานวิจัยไม่ถูกผลักเป็นนโยบายได้ เช่น การใช้นโยบายประชานิยมผ่านการช่วยเหลือที่ไม่มีเงื่อนไข ขาดแคลนบุคลากรที่เข้าใจในเชิงลึก กฎหมายและกฎระเบียบไม่เอื้ออำนวย ขาดแพลตฟอร์มกลางที่สามารถจัดประเภทงานพร้อมใช้ หรือการบูรณาการความร่วมมือกับสถาบันการศึกษามีน้อย รวมถึงการจัดการเชิงนโยบายของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้อยู่รั้งท้าย
ข้อเสนอแนะสำหรับภาครัฐ ควรจัดประเภทและคัดกรองงานวิจัยในฐานข้อมูลกลางตามศักยภาพที่นำไปใช้ประโยชน์ และสนับสนุนการวิจัยเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ และกฎเกณฑ์ในการพิจารณาจัดสรรทุนที่เอื้อต่อการนำไปใช้ประโยชน์ สร้างมาตรการที่จูงใจเพื่อนำไปสู่การวิจัย พัฒนาคลังข้อมูลผู้เชี่ยวชาญพร้อมยกระดับความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนากลไกเพื่อผู้ผลิตงานวิจัยและหน่วยงานผู้ใช้ประโยชน์ในทุกภาคส่วนในการพัฒนาโจทย์วิจัยไปสู่หน่วยงานผู้ใช้ทุน ส่งเสริมสนับสนุนผลงานวิจัยทดลองในพื้นที่จริงให้ครอบคลุมหลายพื้นที่ ให้หลักประกันเมื่อเกิดความเสียหายในการทดลองนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ และสนับสนุนการพัฒนาทักษะ Up-Skills / Re-skills ผู้ใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยขั้นสูงเพื่อให้พร้อมรับองค์ความรู้
กำลังคนคือสิ่งสำคัญ
ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) กล่าวถึงการรับนโยบายจากนายกรัฐมนตรีที่แถลงการณ์ในที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2564 (COP26) เรื่องการพลิกโฉมประเทศไทยให้เป็นสังคมคาร์บอนต่ำในปี 2050 จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแผนการงานระบบวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อพัฒนากำลังคนและนวัตกรรมไปพร้อมกัน โดยทำงานวางแผนยุทธศาสตร์ระยะสั้นและระยะยาวร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศ เพื่อสร้างกำลังคน สร้างงานวิจัยใน 3 ประเด็น (BCG/CCUS/Decarbonize) ที่นำไปสู่การถ่ายถ่ายทอดองค์ความรู้ และสร้างนโยบายและการตลาดที่ทำให้คนไทยสามารถใช้ประโยชน์จาก Net Zero ได้
“ภาพใหญ่ในการดำเนินมาตรการในการทำงานเป็นส่วนสำคัญ นโยบายต้องชัดเจน ต่อเนื่อง และเชื่อมโยงกับวาระแห่งชาติ เราต้องพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน จะต้องหาวิธีในการสนับสนุนกำลังคนให้ยืนอยู่ในจุดนี้ได้ เช่น การหมุนเวียนกำลังคนที่มีความรู้ในด้านนั้น ๆ จากองค์กรเอกชนงคนให้ยืนอยู่ในจุดนี้ได้อย่างไรหลักประกันเมื่อเกิดความเสียหายในการทดลองนำผลวิจัยไปใช้ปเข้าไปทำงานหรือออกมาแลกเปลี่ยนกับภาครัฐ เพื่อนำความรู้กลับไปทำงานด้าน Carbon Credit ให้คุ้มค่าและเป็นพลังงานสีเขียว ซึ่งการทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วนจะตอบโจทย์ความต้องการได้มากขึ้น”
นโยบายด้าน Net Zero และการผลักดัน
ดร.พฤฒิภา โรจน์กิตติคุณ ผู้อำนวยการสำนักรับรองคาร์บอนเครดิต องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) กล่าวถึงแนวทางการมุ่งเป้าไปสู่ Carbon Neutrality หรือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2050 ์จาก ้างนโยบายและรองรับ้องในประเทศนิยม ผ่านการช่วยเหลือที่ไม่มีเงื่อนไข ย ได้แก่โดยการสร้างมาตรการเข้ามารองรับการเพิ่มพลังงานทดแทน การใช้เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS) การยุติการใช้ถ่านหิน การใช้ไฮโดรเจน การกักเก็บก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการปรับตัว ซึ่งมีแผนในการขับเคลื่อนเพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ มีทั้งหมด 6 ด้าน ได้แก่ ด้านนโยบาย ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ด้านการค้าและการลงทุน ด้านพัฒนากลไกตลาดคาร์บอนเครดิต ด้านการเพิ่มแหล่งกักเก็บ/ดูดกลับก๊าซเรือนกระจก และด้านกฎหมาย อบก.ยังมีโครงการที่ผลักดันและส่งเสริมอันได้แก่มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (Validation and Verification Body: VVB) เพื่อสร้างแรงจูงใจในภาคเอกชนเพื่อเข้ามาลงทุนเกี่ยวกับด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
“นักวิจัยที่กำลังศึกษาวิจัยในมาตรการต่าง ๆ ที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก จะช่วยสนับสนุนงานของ อบก. ได้เป็นอย่างดี เรายังมีมาตรการอีกหลายอย่างที่ผู้พัฒนาโครงการสนใจและยังไม่มีระเบียบวิธีการคำนวณที่ครอบคลุม เช่น BioChar, CCUS ที่อยู่ระหว่างการพัฒนา เทคโนโลยี Remote sensing และ AI ในการกักเก็บคาร์บอนของป่าไม้ เป็นต้น”
ขั้นตอนการพิจารณาและออกแบบมาตรการต่าง ๆ อาจต้องมีเครื่องมือหรือกลไกทางด้านเศรษฐศาสตร์เข้ามาช่วยสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศ โดยผู้วิจัยหรือหน่วยงานวิจัยที่สามารถเข้ามาร่วมสนับสนุนในด้านการศึกษาข้อมูลแบบ area based เพื่อหาจุดแพร่และลดการปลดปล่อย รวมถึงการคำนวณเพื่อรายงานปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Embedded Emission) เพื่อช่วยผู้ประกอบการในการคำนวณเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในผลิตภัณฑ์ก่อนส่งออก
ปัจจุบัน มาตรการด้านดูแลก๊าซเรือนกระจกยังมีไม่ครอบคลุมในทุกมิติ และต้องมีการศึกษาการวิจัยเพิ่มเติม รวมถึงการพัฒนากำลังคนในการตรวจสอบข้อมูล ซึ่งการสร้างหลักสูตรหรือการอบรมในการพัฒนาคนก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมไปสู่ต่างประเทศ การเตรียมตัวตั้งแต่ตอนนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับอนาคต ถ้าภาควิจัยช่วยสนับสนุนในส่วนนี้ก็จะทำให้การพัฒนามาตรการเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โจทย์จากภาคอุตสาหกรรม
คุณนที สิทธิประศาสน์ กรรมการและเลขานุการ สถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวในส่วนของภาคเอกชนที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมและเป็นหนึ่งในภาคส่วนที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีแรงกดดันทางการค้าระหว่างประเทศเข้ามาเป็นกระบวนการสำคัญในการขับเคลื่อนการตลาดมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยอาจจะต้องเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำตั้งแต่ปี 2030 เป็นต้นไป
“โจทย์ปัญหาที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการ คือ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อนำนวัตกรรมด้านพลังงานไปสู่การใช้เทคโนโลยีเชื้อเพลิงทางเลือกที่เป็นพลังงานสะอาดอย่าง ไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) ที่ชัดเจน การใช้พลังงานหมุนเวียน 100% (RE100 – Renewable Energy 100) ผลักดันการวิจัยและพัฒนา Carbon Capture และ hydrogen หรือพลังงงานนิวเคลียร์ขนาดเล็ก การเตรียมพร้อมเพื่อเป็นฐานกำลังการผลิต EV และพัฒนากระบวนการ R&D ให้มั่นคง”