ข่าวสาร

สกสว. เยี่ยมชมและติดตามผลการดำเนินงานการวิจัยและนวัตกรรมของจุฬาฯ

ย่อ

สกสว. เยี่ยมชมและติดตามผลการดำเนินงานการวิจัยและนวัตกรรมของจุฬาฯ

เมื่อเวลา 9.00 น. ของวันที่ 15 มกราคม 2567 ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เข้าเยี่ยมชมและติดตามผลการดำเนินงานการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อแลกเปลี่ยนและทำความเข้าใจกับหน่วยงานในการดำเนินงานตามพันธกิจ 

ศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี ด้านการวิจัย กล่าวว่าต้อนรับกลุ่มผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) 

ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการพัฒนา ววน. ด้านกำลังคนและสถาบันความรู้ สกสว. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชินวุธ พิพัฒน์ภานุกูล รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการพัฒนา ววน. ด้านกำลังคนและสถาบันความรู้ สกสว. ดร.ปิยะทัศน์ พาฬอนุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักติดตามและประเมินผล รองศาสตร์จารย์ ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ ผู้อำนวยการหน่วยกลยุทธ์ข้อมูลและดิจิทัล และเจ้าหน้าที่ติดตามดูงานจาก สกสว.

ในการนี้ ได้มีการแนะนำศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเวชพันธุศาสตร์ ที่ได้รับการสนับสนุนเครื่องมือ จากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเวชพันธุศาสตร์ และการแนะนำศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)  โดยมีตัวแทนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการเข้าร่วม ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.พัชณิตา ธรรมยงค์กิจ และรองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านวิจัย รองศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานแผนงาน C2F ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.ฑัณฑริรา พรทวีทัศน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ร้อยตำรวจเอกหญิง สุชาดา สุขหร่อง ประธานแผนงาน Food and Agriculture รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ภาวิณี ฤกษ์นิมิตร กรรมการและเลขานุการ แผนงาน Health ศาสตราจารย์ ดร.สุทธิชัย อัสสะบำรุงรัตน์ กรรมการ แผนงาน BCG รองศาสตราจารย์ ดร.สุธา ขาวเธียร ประธานกรรมการแผนงาน Disaster and Evironment และเจ้าหน้าที่จากสำนักบริหารวิจัย 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สกสว.ได้หารือแลกเปลี่ยนและทำความเข้าใจการบริหารจัดการแผนงานและงบประมาณ ที่นำไปสู่การประเมินศักยภาพของหน่วยงาน (Past Performance) โดยจุฬาฯ ได้นำเสนอการบริหารจัดการโครงการทุน Fundamental Fund 6 แผนงาน การสรุปการใช้จ่ายงบประมาณทุน Basic Research ปีงบประมาณ 2564 และทุน Fundamental Fund ประจำปีงบประมาณ 2565 รวมทั้งนำส่งโครงการกรณีศึกษาจำนวน 5 โครงการ เพื่อเข้ารับการประเมิน ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานเพื่อการถอดรหัสและการประกอบจีโนมขึ้นใหม่ของสิ่งมีชีวิตที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย การสังเคราะห์คอมโพสิตแบบใหม่จากยางธรรมชาติและเซลลูโลสด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อส่งแวดล้อม นวัตกรรมวัคซีนเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสสำคัญในปลานิลและปลากะพงขาว การวิเคราะห์เมตาโอมิกส์ของกลุ่มแบคทีเรียจากทะเลที่ย่อยสลายพลาสติกไซเซอร์และการใช้เป็นกลุ่มเชื้อสำหรับส่งเสริมการบำบัดฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และโครงการนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากขยะรีไซเคิล

นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการพาเยี่ยมชมศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์วิจัยและพัฒนายาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนและยาชีววัตถุด้วยพืช โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด เพื่อแสดงศักยภาพและความพร้อมในการสนับสนุนการวิจัยให้กับอาจารย์และนักวิจัยในการค้นคว้าข้อมูลวิจัยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสังคม