จุฬาฯ เปิดเวทีเจาะประเด็น ‘สังคมถ้วนถึงสำหรับทุกคน’
เมษายน 25, 2024 2024-06-28 18:34จุฬาฯ เปิดเวทีเจาะประเด็น ‘สังคมถ้วนถึงสำหรับทุกคน’
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) และภาคีวิชาการ จัดการประชุมเครือข่ายร่วมสร้างสังคมถ้วนถึงสำหรับทุกคนในรูปแบบการเสวนา Roundtable: What is inclusive society platform? “The Unheard Voices” และจัดแสดงผลงานวิจัยเกี่ยวกับประเด็นสังคมสำหรับทุกคน ในวันที่ 4เมษายน 2567 ตั้งแต่เวลา 08.00 -12.00 น. ณ TK Hall สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานเปิดการประชุมเครือข่ายฯ ให้ความสำคัญของการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน ด้วยการแก้ปัญหาที่ครอบคลุมต่อความท้าทายทางสังคมที่ใช้แนวทางหลากหลาย มีความร่วมมือและการร่วมสร้างนวัตกรรม ตลอดจนการส่งเสริมความเท่าเทียมอย่างเป็นธรรม โดยการสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ ถือเป็นการสร้างเครือข่ายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือให้เกิดพื้นที่ที่สามารถแบ่งปันประสบการณ์และข้อมูลเชิงลึก ทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนำไปสู่แนวทางการพัฒนาและแนวทางแก้ไขทางสังคมที่เป็นไปได้ รวมทั้งมีความสอดคล้องกับการดำเนินงานในทุกภาคส่วน
การเสวนา Roundtable: What is inclusive society platform? “The Unheard Voices” เป็นการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ได้แก่ หน่วยงานสหประชาชาติ องค์กรท้องถิ่น และสถาบันการศึกษา ในการพูดคุยและเน้นย้ำประเด็นการรับฟังเพียงของ ‘ทุกคน’ เพื่อนำปสู่การขับเคลื่อนโยบายและการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่เท่าเทียมกันมากขึ้น ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่
- “สร้างโอกาสและยกระดับการคุ้มครองทางสังคมสำหรับประชากรทุกช่วงวัยกับการมีส่วนร่วมสู่การเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน” ร่วมเสวนาโดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานคณะกรรมการนโยบายวิจัยและนวัตกรรม จุฬาฯ คุณสตตกมล เกียรติพานิช ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 2 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ คุณสิริลักษณ์ เชียงว่อง หัวหน้าสำนักงาน UNFPA Thailand กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์ ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคุณณฐอร อินทร์ดีศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- “อายุ เพศสภาพ และ ความรุนแรง” การสร้างสังคมถ้วนถึงทั้งในด้านอายุ การทำงานที่มีความเสมอภาคทางเพศ และการใช้ความรุนแรงในสังคม ร่วมเสวนาโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยะชาติ ภิรมย์สวัสดิ์ รองผู้อำนวยการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณสิริลักษณ์ เชียงว่อง หัวหน้าสำนักงาน UNFPA Thailand กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รักชนก คชานุบาล รองคณบดี วิทยาลัยประชากรศาสตร์ และ โครงการไทยอารี/จุฬาอารี และรองศาสตราจารย์ ดร.สุมนทิพย์
จิตสว่าง หัวหน้าโครงการวิจัยสังคมไทยไร้ความรุนแรง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - “แรงงาน การย้ายถิ่น และ ผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ” การสร้างความความเข้าใจและความตระหนักเกี่ยวกับความหลากหลายในสังคมของกลุ่มผู้ที่อพยพย้ายถิ่นฐาน ร่วมเสวนาโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุธี อนันต์สุขสมศรี รองคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.สุภางค์ จันทวานิช ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.รัตติยา ภูละออ รองคณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ และหน่วยปฏิบัติการวิจัยและประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU-COLLAR) และ ดร.เปรมใจ วังศิริไพศาล นักวิจัย สถาบันเอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- “การศึกษาแบบเรียนรวมและความต้องการจำเป็นที่หลากหลายทางการศึกษา” การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ซึ่งคำนึงถึงความหลากหลายของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนทั้งผู้เรียนทั่วไปและผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษได้เข้าถึงการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม ร่วมเสวนาโดย อ.ดร.ชนัญชิดา ทุมมานนท์ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการพัฒนาหลักสูตรเพื่ออบรมผู้พ้นโทษกลุ่มผู้เสพยาเสพติดไม่ให้กลับไปกระทำผิดซ้ำ และ โครงการให้คำปรึกษานิสิตในบริบทของการส่งเสริมจิตสำนึกสาธารณะของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง คุณโรสซาลีนา อเล็กซานเดอร์ แมคเคย์ ประธานมูลนิธิ เดอะเรนโบว์รูม ศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระศักดิ์ ชลไชยะ รองหัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม ประธานหลักสูตรสาขาวิชาการศึกษาพิเศษและการเรียนรวม คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ
- “การสร้างความเป็นธรรมที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” บอกเล่าประสบการณ์การทำงานในกระบวนการสร้างความเป็นธรรมในสังคมโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ร่วมเสวนาโดย อาจารย์ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย รองผู้อำนวยการด้านวิชาการและเชื่อมโยงสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณธนะชัย สุนทรเวช ผู้จัดการอาวุโส ด้านการพัฒนาหุ้นส่วนทางสังคมและการมีส่วนร่วม และหัวหน้าโครงการโรงเรียนตั้งต้นดี สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย คุณอรรคณัฐ วันทนะสมบัติ นักวิจัย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.ศยามล เจริญรัตน์ ศูนย์ความเชี่ยวชาญความมั่นคงของมนุษย์ และความเท่าเทียม (HuSE) สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในส่วนของการจัดแสดงผลงานวิจัย นำเสนอข้อค้นพบจากงานวิจัยและโครงการที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสังคมถ้วนถึง อาทิ งานวิจัยและโครงการที่ทำสำรวจภูมิทัศน์เกี่ยวกับการสร้างสังคมไม่แบ่งแยกหรือสังคมถ้วนถึง แนวโน้มของงานวิจัยในด้านการศึกษา ความเท่าเทียมทางเพศ และความยุติธรรมทางสังคม ทิศทางงานวิจัยด้านสังคมถ้วนถึงในอนาคต เป็นต้น และการจัดแสดงผลงานโครงการ DB Asok วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโก นำโดยครูอณุภา คงปราโมทย์ หัวหน้าโครงการ และทีมงาน
การเสวนา Roundtable: What is inclusive society platform? “The Unheard Voices” จัดโดย Inclusive Society Platform จากศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานคณะทำงานในการสร้างเครือข่ายนักวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก เพื่อให้นำไปสู่การพัฒนาและการแก้ปัญหาที่ครอบคลุมต่อความท้าทายทางสังคมโดยใช้แนวทางแก้ไขที่หลากหลายผ่านความร่วมมือ นวัตกรรม และการบูรณาการเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมอย่างเป็นธรรมและยั่งยื







