ข่าวสาร

CRAES พบจุฬาฯ เพื่อสร้างความร่วมมือด้านวิจัยสิ่งแวดล้อม

IMG_3215

CRAES พบจุฬาฯ เพื่อสร้างความร่วมมือด้านวิจัยสิ่งแวดล้อม

เมื่อเวลา 13.30 น. ของวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 Chinese Research Academy of Environmental Sciences (CRAES) เข้าเยี่ยมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อระดมความคิด แลกเปลี่ยนข้อมูล และสร้างโอกาสความร่วมมือในอนาคต ณ ห้อง 203 จามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รองศาสตราจารย์ ดร.ปาลนี อัมรานนท์ ผู้รักษาการรองอธิการบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้รักษาการผู้ช่วยอธิการบดี ด้านวิจัย ให้การต้อนรับคณะอาจารย์จาก Chinese Research Academy of Environmental Sciences (CRAES) สาธารณรัฐประชาชนจีน นำโดย CHEN Sheng, Vice President และคณะผู้ติดตาม ได้แก่ GAO Jian: Deputy Director of Institute of Atmospheric Environment, DUAN Liang: Deputy Director of Basin Research Center for Water Pollution Control, DU Leshan: Senior Engineer of Institute of Ecology, WU Changyong: Director of Research Center for Environmental Pollution Control Engineering Technology, LIU Shule: Researcher of Institute of Atmospheric Environment และตัวแทนจาก Chinese Research Academy of Environmental Sciences Environmental Technology Engineering Co., Ltd. ได้แก่ HE Liansheng: General Manager, YANG Haichao: Deputy General Manager

นอกจากนี้ มีตัวแทนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ให้การต้อนรับคณะอาจารย์จาก CRAES อาทิ ศาสตราจารย์ (กิตติคุณ) สุริชัย หวันแก้ว ผู้ทรงคุณวุฒิ, ศาสตราจารย์ นายแพทย์รังสรรค์ ฤกษ์นิมิต ผู้รักษาการผู้ช่วยอธิการบดี ด้านนวัตกรรม, ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ ผู้รักษาการผู้ช่วยอธิการบดี ด้าน SDGs, รองศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานแผนงาน C2F, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กิตนะ หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์, ศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ, รองศาสตราจารย์ ดร.เจนยุกต์ โล่ห์ชวรินทร์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม, ดร. บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ นักวิจัยสถาบันสภาวะแวดล้อม เป็นต้น  

Chinese Research Academy of Environmental Sciences (CRAES) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2521 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม (Ministry of Ecology and Environment) สาธารณรัฐประชาชนจีน มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ปัจจุบัน CRAES สร้างความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์กับสถาบันในหลากหลายประเทศทั่วโลก  การเยือนจุฬาฯ ในครั้งนี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดการความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย และโอกาสในการสร้างความร่วมมือเกี่ยวกับการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการแลกเปลี่ยนอาจารย์ นักวิจัย ที่มีความเชี่ยวชาญจากหน่วยงาน และนิสิตของทั้งสองสถาบันในอนาคตต่อไป