งานวิจัยจุฬาฯ ในเวทีวิจัยระดับนานาชาติ 2567
กันยายน 16, 2024 2024-09-16 19:06งานวิจัยจุฬาฯ ในเวทีวิจัยระดับนานาชาติ 2567
เมื่อเวลา 13.00 น. ของวันที่ 16 กันยายน 2567 นักวิจัยจุฬาฯ เข้ารับประกาศนียบัตรในพิธีแสดงความความยินดีแก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัลจากเวทีนานาชาติ ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ ชั้น 3 สโมสรทหารบก วิภาวดี
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตรแสดงความยินดีฯ และ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวรายงาน ซึ่งในปี 2567 รองศาสตราจารย์ พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้รักษาการผู้ช่วยอธิการบดี ด้านวิจัย และศาสตราจารย์ ดร.บัญชา พูลโภคา ผู้รักษาการผู้ช่วยอธิการบดี ด้านงานพัฒนาวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่อาจารย์และนักวิจัยจุฬาฯ ผู้ผลิตผลงานวิจัยที่สร้างชื่อเสียงในระดับนานาชาติผ่านเวทีการประกวดในต่างประเทศ ได้แก่…
- เวที The 49th International Exhibition of Inventions Geneva
17 – 21 เมษายน 2567 ณ สมาพันธรัฐสวิส จำนวน 4 รางวัล ได้แก่- ผลงานเรื่อง “ชุดตรวจดีเอ็นเอภาคสนามแบบรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีคริสเปอร์-แคส 12 เอ สำหรับพืชพิษที่สร้างกรดอริสโทโลกิกซึ่งทำให้เกิดโรคไต” โดย ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ร้อยตำรวจเอกหญิง ดร.สุชาดา สุขหร่อง จากคณะเภสัชศาสตร์ (รางวัลเหรียญเงิน)
- ผลงานเรื่อง “Senovate AI: ระบบติดตามพฤติกรรมโคนม/โคเนื้อแบบเรียลไทม์สำหรับปศุสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อนชื้นด้วยระบบเซ็นเซอร์ AI ที่มีความแม่นยำสูงเพื่อลดรอบผสมเทียมและทำนายโรคระบาด” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ชัยเดช อินทร์ชัยศรี จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ (นายสัตวแพทย์พงศนันท์ ขำตา รับแทน) (รางวัลเหรียญเงิน และรางวัล Prize of the Delegation of Malaysia)
- ผลงานเรื่อง “BioCa: ปุ๋ยน้ำแคลเซียมคีเลต” โดย ศาสตราจารย์ ดร.สนอง เอกสิทธิ์ จากคณะวิทยาศาสตร์ (รางวัลเหรียญทอง)
- ผลงานเรื่อง “ดีบัก: สารกำจัดแมลงศัตรูพืชชีวภาพจากขยะเปลือกไข่” ศาสตราจารย์ ดร.สนอง เอกสิทธิ์ จากคณะวิทยาศาสตร์ (รางวัลเหรียญทอง)
- เวที 35th International Innovation & Technology Exhibition 2024 (ITEX 2024)
16-18 พฤษภาคม 2567 ณ สหพันธรัฐมาเลเซีย จำนวน 3 รางวัล ได้แก่- ผลงานเรื่อง “เจลทรานสเฟอร์โซมเก็บกักกรดเอเชียติกเพื่อใช้ทาลบเลือนรอยแผลเป็น” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.รมย์ฉัตร ชูโตประพัฒน์ จากคณะเภสัชศาสตร์ (รางวัลเหรียญทอง และถ้วยรางวัลพิเศษ Special Prize for the best international invention)
- ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมการจัดการห่วงโซ่คุณค่าโกโก้ในระบบนิเวศโกโก้” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญศิภรณ์ ณ น่าน จาก สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร (รางวัลเหรียญทอง)
- ผลงานเรื่อง “เส้นโปรตีนไข่ขาว ไร้แป้ง พร้อมทาน” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถาพร งามอุโฆษ คณะสหเวชศาสตร์ (รางวัลเหรียญทอง)











- เวที The 17th International Inventions and Innovations Show” (INTARG® 2024)
21 – 23 พฤษภาคม 2567 ณ สาธารณรัฐโปแลนด์ จำนวน 5 รางวัล ได้แก่- ผลงานเรื่อง “ทรายมุก: ทรายประกายมุกจากเปลือกหอยแมลงภู่สำหรับงานศิลปะเพื่อความยั่งยืน” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โสมฉาย บุญญานันต์ และคณะ จากคณะครุศาสตร์ (รางวัลเหรียญทอง และ Special prize จาก Association for the Promotion of Polish Science, Technology and Innovation (SPPNTI)
- ผลงานเรื่อง “ECO-Deco: ทรายประกายแก้วแปรรูปจากเปลือกหอยแมลงภู่เพื่อการตกแต่งที่ยั่งยืน” โดย อาจารย์จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ และคณะ จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม (รางวัลเหรียญทอง)
- ผลงานเรื่อง “CU-Dough: แป้งโดว์ป้องกันแบคทีเรียด้วย Cu nanoparticles” โดย อาจารย์น้ำผึ้ง ทวีพรปฐมกุล และคณะ จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม (รางวัลเหรียญทอง)
- ผลงานเรื่อง “องค์ประกอบสำหรับเพิ่มความสามารถในการต้านทานต่อเชื้อก่อโรคในปลานิลโดยนาโนอิมัลชันกักเก็บสารขมิ้นชันและองค์ประกอบนาโนอิมัลชันกักเก็บสารสกัดฟ้าทลายโจร” โดย รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.นพดล พิฬารัตน์ และคณะ จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ (รางวัลเหรียญเงิน และspecial prize จาก Indonesian Innovation and Invention Promotion Association (INNOPA)
- ผลงานเรื่อง “deBUG Kitchen Factory: ระบบการผลิตสารกำจัดแมลงอินทรีย์จากขยะเปลือกไข่ด้วยเครื่องครัวและเครื่องปรุงอาหาร” ศาสตราจารย์ ดร.สนอง เอกสิทธิ์ จากคณะวิทยาศาสตร์ (รางวัลเหรียญทอง)
- เวที The 7th China (Shanghai) International Invention & Innovation Expo 2024
12-14 มิถุนายน 2567 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 1 รางวัล ได้แก่- ผลงานเรื่อง “Wish-craft: กิจกรรมศิลปะ Arts and Crafts เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ” โดย ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โสมฉาย บุญญานันต์ และคณะ จากคณะครุศาสตร์ (รางวัลเหรียญทอง)
- เวที “WorldInvent Singapore 2024” (WoSG 2024)
9-11 กรกฎาคม 2567 ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ จำนวน 1 รางวัล ได้แก่- ผลงานเรื่อง “เข็มขัดเซ็นเซอร์ตรวจกลูโคสจากเหงื่อสำหรับคัดกรองเบาหวานด้วยตนเองที่อ่านผลบนสมาร์ทโฟน” โดย ดร.นาฏนัดดา รอดทองคำ จากสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ (รางวัลเหรียญทอง และรางวัล Special Award จาก European Academy of Sciences)
Related Posts
จุฬาฯ ชวนแสดงความคิดเห็นผ่านแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)
ก.พ. 21, 2025
69 views