ข่าวสาร

การสัมมนาพิเศษ อาซาฮีครั้งที่ 32

IMG_8221

การสัมมนาพิเศษ อาซาฮีครั้งที่ 32

เมื่อเวลา 12.30 น. ของวันที่ 20 กันยายน 2567 สำนักบริหารวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาพิเศษ ครั้งที่ 32 (The 32nd Special CU-af Seminar 2024) ในหัวข้อเรื่อง “Research & Innovations for a Sustainable Future: Bridging Technology, Environment, and Society” พร้อมพิธีลงนามความร่วมมือ และพิธีมอบทุนผลงานวิจัยจาก the Asahi Glass Foundation ณ ห้องประชุม 202 และ 203 อาคารจามจุรี 4 ชั้น 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการแทนอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต้อนรับ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวรายงาน พร้อมด้วย Mr. Takuya Shimamura ประธานมูลนิธิกระจกอาซาฮี ประเทศญี่ปุ่น กล่าวแสดงความยินดีแก่อาจารย์และนักวิจัยในพิธีมอบทุนวิจัยประจำปี 2567 ซึ่งมีผู้ที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติโครงการวิจัย ได้แก่

  1. อาจารย์ ดร.พรชัย แก้วทรัพย์ศักดิ์  คณะแพทยศาสตร์
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิกา ขันธศุภ  คณะเภสัชศาสตร์
  3. อาจารย์ ดร.จิรสิน ขุนทองแก้ว คณะวิทยาศาสตร์
  4. อาจารย์ ดร.ปรีชา กิตติคุณธรรม คณะวิทยาศาสตร์
  5. อาจารย์ ดร.พัชร์รพี กังสดาลพิภพ คณะวิทยาศาสตร์
  6. อาจารย์ ดร.วุฒิชัย เหรียญทิพยะสกุล คณะวิทยาศาสตร์
  7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชยุตม์ งามโขนง คณะวิศวกรรมศาสตร์
  8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พฤทธิ์ ประเสริฐเจริญสุข คณะวิศวกรรมศาสตร์
  9. Dr. Hyunju Jang   คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  10. อาจารย์ ดร.ปาริฉัตร ธัมมรติ คณะสหเวชศาสตร์
  11. ดร.อับดุลฮาดี ยะโก๊ะ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์
  12. ดร.นิภาพรรณ ฤาชา  สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ

การบรรยายพิเศษ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.โปรดปราน บุณยพุกกณะ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายในหัวข้อเรื่อง “The Future of Research: How AI Will Make Us Smarter (Without Making Us Lazy)” และการนำเสนอผลงานวิจัย โดยอาจารย์ที่ได้รับทุนวิจัยในปีที่ผ่านมา จำนวน 14 ท่านแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มที่ 1 Life Science จำนวน 7 ท่าน (ห้อง 202 อาคารจามจุรี 4) ได้แก่

  1. รองศาสตราจารย์ ดร.พีรพล เวทีกูล ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ นำเสนอในหัวข้อ “Automatic Gastric Intestinal Metaplasia Segmentation System from Gastroscopic Images”
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฎฐ์ ทรงวรวิทย์ ภาควิชาชีวววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ นำเสนอในหัวข้อ “Analysis of metal element deposition in the cuticle of beetle weapons”
  3. อาจารย์ ดร.ณัฐภณ ป้อมบุบผา ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ นำเสนอในหัวข้อ “Biocrust Reawakening: An investigation of biocrust metagenomics and exometabolomics changes after water activation”
  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทริน ตั้งธนตระกูล ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือดและจุลชีววิทยาคลินิก คณะสหเวชศาสตร์ “STAT4 regulatory pathway in type I interferon inducible monocyte-derived dendritic cells: an autoimmune disease model”
  5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพรรษา ยอดเมือง ฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ “Development of Imitation shark fins by tissue engineering technology”
  6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาวดี อุ้มทอง ภาควิชาชีวเคมีและจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ “Characterization of human and bat MARCH2 protein in restriction of viral envelope glycoproteins”
  7. ดร.ลลิตตา สุริยาอรุณโรจน์ ฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ “Better two bananas tomorrow than a banana today? Delay of gratification in non-human primates towards understanding of self-control in humans (partly joint with the Many Primates project)”

กลุ่มที่ 2 Physical Science จำนวน 7 ท่าน (ห้อง 203 อาคารจามจุรี 4) ได้แก่

  1. อาจารย์ ดร.มนัสวี สุทธิพงษ์ ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ “Optimization of New Electrolyte Composition for High-Performance Lithium-sulfur Batteries: A Combined Molecular Dynamics Simulation and Experiments”
  2. รองศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร.ภาสวีร์ จันทร์สุก ภาควิชาวิทยาการเภสัชกรรมและเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ “Development of Imatinib /Cyclodextrin Complex-Loaded Surface Modified PLGA Nanoparticles for Targeted Colon Cancer Therapy”
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อินทัช หงส์รัตนวิจิตร ภาควิชาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ “Preparation of antimicrobial and biodegradable cellulose nanofibers hydrogel from agro-waste for sustainable active packaging in fresh meat application”
  4. ดร.รงรอง เจียเจริญ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ “Green synthesis of potassium vanadate utilizing Tamarindus indica L. shells extract for application in rechargeable battery”
  5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เบญจพร นฤภัย ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ “3D Printing of Nondrying, Stretchable, Self-healable Ionic Conductive Hydrogels for Wearable Sensors”
  6. รองศาสตราจารย์ ดร.อรรณพ เอกธาราวงศ์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ “Crystal-defect engineering in metal-boride thin films for hard-coating applications”

รองศาสตราจารย์ ดร.วรพนธ์ ชัยกีรติศักดิ์ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ “Development of a novel phage-derived endolysin as an outer membrane-penetrating antibacterial against bacterial pathogens in aquaculture”