‘MUW official’ สวยมงคลตั้งแต่หัวจรดเท้า จากเส้นใยเปลือกทุเรียนต้านแบคทีเรีย
มกราคม 13, 2025 2025-01-13 18:36‘MUW official’ สวยมงคลตั้งแต่หัวจรดเท้า จากเส้นใยเปลือกทุเรียนต้านแบคทีเรีย

‘MUW official’ สวยมงคลตั้งแต่หัวจรดเท้า จากเส้นใยเปลือกทุเรียนต้านแบคทีเรีย
การแปรรูปวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรด้วยกระบวนขึ้นรูปเป็นเส้นใยและการจับคู่กับความเชื่อแบบ Generation Y เกิดเป็นผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายภายใต้แบรนด์ ‘MUW official’
“เรามันเป็นผู้หญิงเก่งอยู่แล้ว ไม่เคยพึ่งใครเลย ยกเว้น… “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” ประโยคดังสำหรับคนเก่งที่มีทุกอย่างยกเว้นความมั่นใจ เพราะการหาเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจในสังคมที่มีการแข่งขันสูง อาจจะไม่ใช่พระเครื่องเจ้าดังอีกต่อไป สูตรไม่ลับฉบับคนรุ่นใหม่จึงมองหาคุณค่า ‘ความมงคล’ ในรูปแบบใหม่ที่เป็นของใช้ใกล้ตัว เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ รวมไปถึงเฉดสีและสิ่งใดใดที่ทำให้รู้สึกหรือเชื่อว่าการมีสิ่งนั้นติดตัวจะทำให้วันนั้นเป็นวันที่ดี
“เราได้สำรวจพบว่า กลุ่มผู้บริโภคกลุ่ม GEN Y ค่อนข้างมีความกดดันและความเครียดภายในจิตใจ อันเกิดจากประเด็นปัญหาในการทำงาน การดำเนินชีวิตประจำวัน และปัญหาจากความกดดันในครอบครัว รวมถึงความต้องการที่อยากจะประสบความสำเร็จแบบผู้คนในสื่อโซเชียล โดยพยายามมองหาสิ่งที่จะช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจได้บ้าง ซึ่งอาจจะได้รับอิทธิพลมาจาก GEN X ที่มีความเชื่อในลักษณะของการกราบไหว้บูชาในแบบฉบับของตนเอง GEN Y จึงได้รับการถ่ายทอดมาและแสดงออกด้วยการพกพาสิ่งของที่จะช่วยยึดเหนี่ยวทางจิตใจ รวมถึงการแต่งกายที่จะนิยมใส่เสื้อสีมงคล โดยเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะสามารถเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจได้อีกทางหนึ่ง” คุณอุษา ประชากุล ดุษฎีบัณฑิตสาวจากสาขาวิชานฤมิตศิลป์แฟชั่นและสิ่งทอ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ่วงมาด้วยตำแหน่งเจ้าของแบรนด์ ‘MUW.official’ ซึ่งได้จับคู่ระหว่างความเชื่อกับเครื่องแต่งกายที่ได้บูรณาการข้ามศาสตร์จนเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ภายใต้งานวิจัย “นวัตกรรมสิ่งทอหมุนเวียนจากเศษเหลือทิ้งเปลือกทุเรียนสู่สินค้าเครื่องแต่งกายต้านเชื้อแบคทีเรีย” ที่ได้รับรางวัลการประกวดนวัตกรรมสายอุดมศึกษาระดับดีเด่น (บัณฑิตศึกษา) ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และ BCG Economy Model ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024) ที่ผ่านมา

จุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์นวัตกรรมเครื่องแต่งกายสู่สินค้ามงคล อันเกิดจากงานวิจัยทางด้านการศิลปะและการออกแบบ ผสานศาสตร์การทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ ได้ทำการทดลองนำเศษเหลือทิ้งไร้มูลค่าอย่างเปลือกทุเรียน มาหาแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยพบว่าเส้นใยที่ได้จากเปลือกทุเรียนมีแนวทางที่จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมสิ่งทอได้ ซึ่งอาจจะถือเป็นแนวทางนำร่องในการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือทิ้งเปลือกทุเรียนต่อไปได้ แทนที่การนำไปฝังกลบหรือเผาทำลายอันจะเกิดมลพิษทางอากาศในระยะยาวต่อไป
“เปลือกทุเรียน เศษเหลือทิ้งจากการแปรรูปและบริโภคแบบผลสดจะถูกนำไปฝังกลบหรือเผาทำลาย เราพบว่าเปลือกทุเรียนมีปริมาณของเซลลูโลสอยู่สูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ และยังมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับฝ้ายและป่าน มีโอกาสในการนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมสิ่งทอต่อไปได้ จึงมีการพัฒนาร่วมกับอาจารย์ ดร.จุฑาทิพย์ นามวงษ์ อาจารย์คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ในการร่วมหาแนวทางการพัฒนาเส้นใยสิ่งทอผ่านการสกัดเปลือกทุเรียนด้วยการแช่ดอง ซึ่งไม่ทำให้เปลือกทุเรียนเสียสภาพจนเกินไป และนำมาปั่นด้ายเข็นมือแบบชุมชนและการปั่นด้ายในรูปแบบอุสาหกรรม จากนั้นจึงนำมาสู่การทอผืนผ้าด้วยภูมิปัญญาแบบชุมชน โดยจะทำการคัดเลือกอัตราส่วนการทอที่เหมาะสมระหว่างไหมและใยทุเรียนเพื่อนำไปพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ประเภทต่าง ๆ” คุณอุษากล่าว
ผลการทดสอบประสิทธิภาพของผืนผ้าไหมทอผสมใยทุเรียนในงานวิจัยชุดนี้ พบว่า ผืนผ้าดังกล่าวมีการระบายอากาศได้ดีกว่าผ้าไหม 100 เปอร์เซ็นต์อยู่เกือบเท่าตัว และยังมีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อแบคทีเรียได้สูงถึง 99.92 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือเป็นผลผลิตที่ดีเกินคาดในงานผลิตวัสดุสิ่งทอจากเศษเหลือทิ้งไร้มูลค่า อีกทั้ง ทุเรียนยังถือเป็นพืชมงคลที่สื่อความหมายได้ถึงความอุดมสมบูรณ์ ความฉลาด หลักแหลม ความเข้มแข็ง ฯลฯ ผลงานชิ้นนี้จึงถือเป็นความมงคลตั้งแต่ระดับเส้นใยที่ช่วยให้ผู้สวมใส่รู้สึกปลอดภัยที่จะสวมใส่เครื่องแต่งกายจากเศษเหลือทิ้ง พร้อมที่จะเฉิดฉายได้ทุกโอกาสที่สวมใส่
ในส่วนของการออกแบบดีไซน์ มองด้วยตาเปล่าก็ต้องรู้ว่าคนนี้ปัง! ด้วยลายเส้นสัตว์นำโชคสไตล์มินิมอลร่วมสมัย ที่ใส่เมื่อไหร่ก็ยังคงสวยทรงเสน่ห์เหนือกาลเวลา ผนวกกับเทคนิคการตัดเย็บแบบตีเกล็ดทั้งตัว เพื่อช่วยเสริมสรีระให้ผู้ที่สวมใส่มีส่วนเว้าโค้งอันเกิดจากลวดลายผ้าและโครงร่างเงา (Silhouette) ของเครื่องแต่งกายทำให้ผู้สวมใส่สามารถที่จะมั่นใจกับรูปร่างตัวเองได้มากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากนี้ ยังเสริมสิริมงคลด้วยสีย้อมจากไม้มงคลพื้นถิ่น ซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธีจากธรรมชาติที่หาได้ตามชุมชนท้องถิ่น เช่น เปลือกประดู่ ใบหูกวาง เมล็ดคำแสด ฯลฯ เป็นเฉดสีที่แฝงด้วยความทรงพลังและพร้อมสวมใส่ได้ทุกสถานการณ์
สำหรับใครที่เลือกไม่ได้ บอกไม่ถูกว่าวันนี้จะใส่สีอะไรดี MUW.official ได้แก้ปัญหานี้ไว้เรียบร้อยแล้ว โดยการจัดตารางลายเสื้อสีมงคลประจำวัน เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ไปจนถึงวันอาทิตย์ ซึ่งได้ศึกษาและทำการ Matching กับคู่สีเสื้อมงคลของคุณหมอไก่ พ.พาทินี (2567) สีไหนที่ว่ามงคล ลายไหนที่เป็นตัวเสริมบารมีของแบรนด์ ผู้บริโภคสามารถเลือกใส่ได้ในวันที่เร่งรีบและต้องการกำลังใจแบบเร่งด่วน โดยคอลเลคชั่นนี้มีทั้งหมดถึง 9 ลวดลาย โดยใช้หลักการถอดความหมายตามญญวิทยาันที่เร่งรีบและต้องการกำลังใจอกจากนี้ยังทฤษฎีสัญวิทยา ได้แก่ ลายเสือ “Powerful Tiger” ลายมังกร “Fortune Dragon” ลายหงส์ “Swan Prosperous” ลายกวาง “My god, Dear” ลายนกยูง “Readiness, Peacock” ลายปลาคาร์ป “Wealthy, Carp” ลายกบ “Tree-Legged Frog, Bread and Butter” ลายวัวและม้า “Cash Cow, Horse” และลายสิงโต “Lion Chief”
นอกจากเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย MUW.official ยังมีผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์อื่นๆ ทั้งกระเป๋า รองเท้า หมวก เคสโทรศัพท์ รวมผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้าน เรียกได้ว่าครบจบในแบรนด์เดียว โดยคุณอุษาเล่าว่า “ก็ยังรู้สึกสนุกอยู่ค่ะ คิดว่ามันมีความน่าสนใจและเคยได้ไปสำรวจตลาดมาบ้างแล้ว ซึ่งกลุ่มลูกค้าก็ให้ความสนใจ มันรู้สึกแบบใจฟูมาก (ปลื้มใจมาก) กับการที่ลูกค้าเขามาดูแล้วรู้สึกว่าชอบจังเลย เขาให้ความสนใจ ดีใจมากคิดว่าจะต่อยอดไปเรื่อย ๆ ค่ะ ถ้ามีโอกาสไปต่างประเทศได้ก็คิดว่าจะโกอินเตอร์แน่นอน”
MUW.official แบรนด์เครื่องนุ่งห่มจากคนรุ่นใหม่ที่มองว่าความมงคลไม่ใช่เพียงความเชื่อที่งมงายแต่เป็นความเข้ากันได้ระหว่างการสร้างขวัญกำลังใจที่ควบคู่ไปกับความสวยงาม ยิ่งผู้สวมใส่มีความมั่นใจมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งจะช่วยส่งเสริมให้บุคลิกภาพของคนผู้นั้นดูดีและมีเสน่ห์มากขึ้นเท่านั้น ในขณะเดียวแบรนด์นี้ก็ตอบโจทย์ในด้านของการสวมใส่ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอมือของไทยที่เหมาะสมกับคนรุ่นใหม่ รวมถึงยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย
ติดตามผลิตภัณฑ์ MUW.official ได้ที่ Facebook: muw.official, Instagram : muw_official_, LINE offcial : muw.official, และ TikTok – muw.official ซึ่งทางแบรนด์เปิดรับพรีออเดอร์ ออกแบบพิเศษ รวมถึงสั่งตัดได้ตามความต้องการ

“ในส่วนของการวิจัย ผู้วิจัยมองว่าน่าจะเริ่มจากประเด็นความความชอบ ความสนใจของเราก่อน โดยอาจจะเริ่มจากการหาช่องว่างจากประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาแล้วและใช้องค์ความรู้ของเราหาทางต่อยอดและพัฒนาให้ดีขึ้น ซึ่งถ้าเริ่มจาก passion เราก่อน ไม่ว่าเราจะเจอปัญหาอุปสรรคอะไร เราก็จะยังมีแรงขับเคลื่อนที่จะผลักดันไปให้ถึงฝั่งฝันได้แน่นอนค่ะ”
คุณอุษา ประชากุล (ดุษฎีบัณฑิต)
สาขาวิชานฤมิตศิลป์แฟชั่นและสิ่งทอ คณะศิลปกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ เจ้าของแบรนด์ ‘MUW.official’
อาจารย์ที่ปรึกษา: ศาตราจารย์ ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล