ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางอณูพันธุศาสตร์มะเร็งและโรคของมนุษย์
มกราคม 16, 2024 2024-06-14 12:21ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางอณูพันธุศาสตร์มะเร็งและโรคของมนุษย์
การเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอ เช่น การตกแต่งในรูปแบบ สภาวะเหนือพันธุกรรม (epigenetic) เป็นกลไกต้นน้ำของพยาธิกำเนิดของการเกิดโรค การค้นพบการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้สามารถพัฒนาการตรวจวินิจฉัยโรคและรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยเด่นของศูนย์คือศึกษาค้นพบสภาวะเหนือพันธุกรรมชนิดใหม่เรียกว่า HMGB1 produced DNA gaps หรือ youth-DNA-gap โดยพบว่าการลดลงของ youth-DNA-gap จะพบในวัยชราและเซลล์ชรา การลดลงของ youth-DNA-gap นี้ทำให้ดีเอ็นเอถูกทำลายได้ง่าย ดังนั้นเป็นการลดลงของ youth-DNA-gap จึงเป็นกลไกต้นน้ำของพยาธิกำเนิดของการเกิดโรคหลายโรค ทางศูนย์ได้พัฒนายาที่ทำด้วย Box A of HMGB1 expression plasmid (Box A) เพื่อสร้าง DNA gaps พบว่า Box A เพิ่มความคงทนให้ดีเอ็นเอ ย้อนวัย และรักษาโรคสมองและอวัยวะภายในเสื่อมเรื้อรังให้หายได้ Box A plasmid DNA มีคุณสมบัติย้อนวัยดีเอ็นเอ (Rejuvenating DNA) เพราะเป็นโมเลกุลที่ทำให้สารพันธุกรรมเถียร (Genomic Stability Molecules) ทางทีมจึงเรียก Box A plasmid DNA ว่า REDGEMs DNA และเรียกชื่อไทยว่า สารโมเลกุลมณีแดง

Research & Innovation Focus
Health and Well-Being + Health
Sustainable Society + Health
Health and Well-Being + Disaster & Environment
วัตถุประสงค์
1. ศึกษาวิจัยสารโมเลกุลมณีแดงโดยใช้ในเซลล์ สัตว์ทดลอง และศึกษาทางคลินิกเพื่อพิสูจน์และเข้าใจกลไกการรักษาโรคโดยทำให้ดีเอ็นเอแข็งแรง และพัฒนาสารโมเลกุลมณีแดงเป็นยารักษาโรค
2. พัฒนาแนวทางการตรวจกรองมะเร็งโดยการตรวจเลือด
3. คิดค้นยารักษาโรคที่กลายพันธุ์ในเซลล์ทั่วไปเช่น มะเร็งและ เอดส์ ให้หายขาด
เป้าหมายใน 3 ปี
1. ศึกษาวิจัยสารโมเลกุลมณีแดงโดยใช้ในเซลล์ สัตว์ทดลอง และศึกษาทางคลินิกเพื่อพิสูจน์และเข้าใจกลไกการรักษาโรคโดยทำให้ดีเอ็นเอแข็งแรง และพัฒนาสารโมเลกุลมณีแดงเป็นยารักษาโรค
2. พัฒนาแนวทางการตรวจกรองมะเร็งโดยการตรวจเลือด
3. คิดค้นยารักษาโรคที่กลายพันธุ์ในเซลล์ทั่วไปเช่น มะเร็งและ เอดส์ ให้หายขาด
ผลงานวิจัยเด่น
1. การค้นพบสภาวะเหนือพันธุกรรมรอยแยกดีเอ็นเอ
2. ประดิษฐ์สารโมเลกุลมณีแดงและดำเนินการวิจัยและพัฒนาให้เป็นยารักษาโรค
3. การตรวจกรองมะเร็งโดยการตรวจเลือด


เครือข่ายและความร่วมมือ
- คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- บริษัทเบทาโกร บริษัทอินโนบิก เอเชีย
- Innobic (Asia) Company Limited.
- บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)