คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน กลุ่มสหสถาบัน ชุดที่ 1

จริยธรรมการวิจัย ชุดที่ 1

โครงการวิจัยหลังผ่านการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย

การดำเนินการพิจารณา

โครงการที่เข้าประชุม
  • การประชุมครั้งที่ 16/2567 วันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2567
  • การประชุมครั้งที่ 17/2567 วันพุธที่ 25 กันยายน 2567
  • การประชุมครั้งที่ 18/2567 วันพฤหัสบดี ที่ 10 ตุลาคม 2567
  • การประชุมครั้งที่ 19/2567 วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2567
วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นไปตามมาตรฐานสากล ในการคุ้มครองผู้เข้าร่วมวิจัย และเป็นไปตามข้อบังคับแพทยสภาว่า ด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2544 หมวด 6 การศึกษาและการทดลองในมนุษย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนกลุ่มสหสถาบันชุดที่ 1 ตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาประเด็นทางจริยธรรม ของโครงการวิจัยจาก คณะจิตวิทยา คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา วิทยาลัยประชากรศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข และจากหน่วยงานภายนอก  ซึ่งผู้บริหารหน่วยงานนั้น กำกับดูแลผู้วิจัย

ขอบเขต & SOP

มหาวิทยาลัยพิจารณาแต่งตั้งบุคคลคณะหนึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน  กลุ่มสหสถาบัน ชุดที่ 1 มีอำนาจหน้าที่

  1. พิจารณาโครงการวิจัยที่เสนอให้พิจารณา ทั้งทางด้านระเบียบวิธีวิจัย ด้านจริยธรรม รวมทั้ง ประสบการณ์ผู้วิจัยในการดำเนินการวิจัยนั้น
  2. ทบทวนรายงานความก้าวหน้าของการวิจัยในช่วงเวลาที่เหมาะสมกับความเสี่ยงต่อผู้เข้าร่วมวิจัย ทั้งนี้ ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้งต่อปี นอกจากนี้คณะกรรมการ มีสิทธิเข้าไปสังเกตกระบวนการ ให้ความยินยอมของผู้เข้าร่วมวิจัย การดำเนินการวิจัย และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ์และสวัสดิภาพของผู้เข้าร่วมวิจัย
  3. ให้ยุติการดำเนินการโครงการวิจัยชั่วคราว (Suspension) หรือเพิกถอนการอนุมัติ (Withdrawal) หรือยุติโครงการวิจัยก่อนกำหนด (Termination) ในกรณีที่โครงการวิจัยอาจทำให้ผู้เข้าร่วมวิจัย มีความเสี่ยงมากกว่าที่คาดไว้ หรือการไม่ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมอย่างร้ายแรง และ/หรือ อย่างต่อเนื่อง หรือการไม่ปฏิบัติ ตามข้อกำหนดของคณะกรรมการ อย่างร้ายแรง และ/หรือ อย่างต่อเนื่อง
  4. ในการตัดสินดังกล่าวต้องทำเป็นมติ ของการประชุมคณะกรรมการฯ ที่มีองค์ประชุมครบ และมีการบันทึกผล  การพิจารณาเป็นหลักฐาน จำกัดหรือระงับการดำเนินโครงการวิจัยบางส่วน (Restriction) ในกรณีที่ผู้วิจัยไม่ปฏิบัติตามหลักการจริยธรรมหรือข้อกำหนดของคณะกรรมการ ต่อเมื่อผู้วิจัยได้ปฏิบัติเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงจะอนุมัติให้ดำเนินการต่อได้

รองอธิการบดีผู้รับผิดชอบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาธารณสุข จัดหาพื้นที่ตั้งเป็นสำนักงานคณะกรรมการ สำหรับงบประมาณการดำเนินการของคณะกรรมการ ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย โดยแยกเป็นหน่วยงานเฉพาะ ให้คณะกรรมการ เป็นผู้ทำงบประมาณเสนอมหาวิทยาลัยเพื่อให้สามารถดำเนินการตามขอบเขต และยังมอบหมายให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ในการพิทักษ์สิทธิ ความปลอดภัย และผลประโยชน์และสวัสดิการที่ดีของผู้เข้าร่วมวิจัย และชุมชนที่เข้าร่วมวิจัย

หลักจริยธรรม

คณะกรรมการ ยึดถือหลักการสากล เกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัย ได้แก่

  1. แนวทางจริยธรรมการทำวิจัยในคนแห่งชาติ ชมรมจริยธรรมการวิจัยในคนในประเทศไทย พ.ศ.2545
  2. แนวทางปฏิบัติและประเด็นพิจารณาทางชีวจริยธรรมด้านการทำวิจัยทาง วิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ (แนวปฏิบัติการวิจัยทางพันธุกรรม แนวปฏิบัติการวิจัยด้าน สเต็มเซลล์ในมนุษย์ แนวปฏิบัติการจัดทำข้อตกลงการใช้ตัวอย่างทางชีวภาพเพื่อการวิจัยระหว่างสถาบัน) พ.ศ.2545
  3. หลักการแห่งคำประกาศเฮลซิงกิ (Declaration of Helsinki) ปี 1964 และฉบับปรับปรุง
  4. Committee of International Organization on Medical Science (CIOMS)
  5. The Belmont Report
  6. International Conference on Harmonization, Guidance on Good Clinical Practices (ICH GCP)
  7. Operational Guidelines for Ethics Committees that Review Biomedical Research (WHO)
  8. WHO & ICH Guidelines for Good Clinical Practice ทั้งนี้ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายของประเทศและกฎระเบียบอื่นๆ ในประเทศไทย
หลักเกณฑ์การพิจารณา

หลักการและเหตุผล ระเบียบวิธีวิจัย และการบริหารจัดการ

  1. ชื่อโครงการวิจัย สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และการดำเนินการ
  2. มีความถูกต้องสมเหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์  มีโจทย์การวิจัย
  3. มีวัตถุประสงค์ชัดเจน
  4. การทบทวนวรรณกรรมเหมาะสมและเพียงพอ
  5. ระเบียบวิธีวิจัย สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเครื่องมือวิจัย
  6. คุณลักษณะของประชากรที่ศึกษาชัดเจน พร้อมทั้งมีเกณฑ์การคัดเข้า/คัดออก ถอน ผู้เข้าร่วมวิจัยออกจากการวิจัย และเกณฑ์การยุติทำวิจัย
  7. มีการคำนวณขนาดตัวอย่างหรืออ้างอิงตามหลักวิชาการ/หลักสถิติ
  8. มีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมวิจัยอย่างเสมอภาค
  9. ระบุรายละเอียดชัดเจน วิธีการที่กระทำต่อผู้เข้าร่วมวิจัย วิธีการเก็บข้อมูล รวมทั้งเวลาที่ใช้
  10. มีการวิเคราะห์ข้อมูลและการใช้สถิติอย่างเหมาะสม

(ข้อมูล 4 กันยายน 2567)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
  1. สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย
  2. มีมาตรฐานได้ผ่านการรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว
  3. หากเครื่องมือมีเจ้าของ มีเอกสารแสดงว่าได้รับอนุญาตให้ใช้

(ข้อมูล 4 กันยายน 2567)

การพิทักษ์สิทธิของผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย
  1. กระบวนการขอความยินยอมเข้าร่วมวิจัยชัดเจนว่าเป็นไปด้วยความสมัครใจ ไม่บังคับ หรือชักจูงอย่างไม่เหมาะสม ปฏิเสธการเข้าร่วมวิจัยได้ทุกขณะ โดยไม่ต้องอธิบายเหตุผล และไม่เสียผลประโยชน์ที่พึงได้รับ

  2. ไม่เก็บข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลอื่นที่ไม่อยู่ในวัตถุประสงค์การวิจัย

  3. ระบุประโยชน์ของการวิจัยที่มีต่อผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม หรือ ต่อชุมชน สังคมโดยรวม หรือ ต่อวิชาการ 

  4. คำนึงถึงความเสี่ยงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ หรือความไม่สะดวกที่อาจเกิดขึ้น ในการเข้าร่วมโครงการวิจัย ทั้งที่อาจเกิดขึ้นกับผู้เข้าร่วมวิจัยหรือนักวิจัย

  5. มีความเสี่ยงที่พอเหมาะกับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำวิจัย คือเหตุผลที่รับฟังได้

  6. มีการวางแผนป้องกัน และ เฝ้าระวังอย่างเหมาะสม ในเรื่องความเสี่ยง/อันตราย/เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้เข้าร่วมวิจัย รวมทั้งมีมาตรการให้ความช่วยเหลือรับผิดชอบดูแลอย่างเพียงพอ เหมาะสม หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว

  7. การชดเชย ค่าเสียเวลา ค่าเดินทาง/สวัสดิการต่าง ๆ ที่มีความเหมาะสม 

  8. มีแผนการรักษาความเป็นส่วนตัว/ความลับเกี่ยวกับข้อมูลของผู้เข้าร่วมวิจัย เป็นต้นว่า เมื่อเสร็จการวิจัย ภาพถ่าย/เสียงบันทึก จะทำลาย หากใช้ต่อต้องมีการขอการยินยอม

  9. มีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอในการนำกลุ่มเปราะบาง เข้าร่วมโครงการวิจัย และมีมาตรการระมัดระวังอันตรายอย่างสมเหตุสมผล

(ข้อมูล 4 กันยายน 2567)

การทบทวนผู้วิจัยและสิ่งที่ใช้ในการวิจัย
  1. ผู้วิจัยมีความรู้และประสบการณ์รวมทั้งมีเวลาเพียงพอที่จะทำการวิจัย

  2. มีสิ่งอำนวยความสะดวก/วัสดุ/อุปกรณ์ เพียงพอ

  3. มีงบประมาณเหมาะสมในการจัดการงานวิจัย

  4. ไม่มีประวัติด่างพร้อย

  5. สามารถปกป้องคุ้มครองตนจากอันตรายในการดำเนินการวิจัยได้

(ข้อมูล 4 กันยายน 2567)

ผลการพิจารณาตัดสินและการดำเนินการ
  •  แบบที่ 1 Approved, (A)
    รับรอง หรือ รับรองแบบมีข้อเสนอแนะ (Approve with comment) โครงการผ่านการพิจารณา แต่กรรมการมีข้อเสนอแนะเพื่อความถูกต้องสมบูรณ์ของภาษาและให้มีความชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้วิจัยไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามที่คณะกรรมการเสนอแนะไว้ก็ได้
  • แบบที่ 2 แก้ไขเล็กน้อย Minor Revision, (B)
    • มีประเด็นการดำเนินการวิจัยที่ต้องแก้ไขเล็กน้อย  เพื่อความสมบูรณ์ของโครงการวิจัย
    • ส่งฉบับ ข้อชี้แจงเพิ่มเติม  3 ชุด  ภายใน 2 สัปดาห์ รายละเอียดตาม RECCU 11/5.0 ให้ส่งกรรมการหลักท่านเดิมพิจารณา โดยไม่ต้องนำกลับเข้าที่ประชุม เว้นแต่ผู้ทบทวนหลักมีความเห็นไม่ตรงกัน ให้นำโครงการพิจารณาในที่ประชุมฯ
  • แบบที่ 3 แก้ไขมาก Major Revision, (C)
    • แนวคิดและเหตุผลการทำวิจัยเหมาะสมแล้ว แต่มีประเด็นการดำเนินการวิจัยที่ต้องแก้ไขมาก
    • ส่งฉบับแก้ไข 3 ชุด ภายใน 4 สัปดาห์ รายละเอียดตาม RECCU 11/5.0 และส่งให้กรรมการผู้ทบทวนหลักเดิมพิจารณา และให้นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการฯ
  • แบบที่ 4 รอการตัดสิน Deferment, (D)
    • แนวคิดและเหตุผลการทำวิจัยสมควรสนับสนุน แต่มีประเด็นทางระเบียบวิจัย/จริยธรรม ให้ผู้วิจัยปรับแก้ นำเสนอใหม่ เพื่อพิจารณาในที่ประชุม
    • ส่งฉบับแก้ไขหมือนขั้นตอนการพิจารณาครั้งแรก ภายใน 6 สัปดาห์
  • แบบที่ 5 เลื่อนการพิจารณา Postpone, (E)
    • มีประเด็นที่คณะกรรรมการฯ ประสงค์จะได้รับความเห็นเพิ่มเติมจากผู้ทรงคุณวุฒิหรือนักวิจัยภายใน 4 สัปดาห์และนำความเห็นฯ นั้นเสนอพิจารณาในที่ประชุม
  • แบบที่ 6 ไม่รับรอง Disapproval, (F)
    • แนวคิดและเหตุผลการทำวิจัยไม่เหมาะสม และมีประเด็นที่ขัดต่อหลักจริยธรรมในการวิจัย

หมายเหตุ

  1. จะดำเนินการแจ้งผลการพิจารณาตัดสินให้ผู้วิจัยทราบภายใน 2 สัปดาห์หลังการประชุม
  2. สำหรับโครงการที่ต้องแก้ไข หากผู้วิจัยไม่เห็นพ้องตามข้อเสนอของคณะกรรมการสามารถให้เหตุผลโต้แย้งผลการพิจารณาตัดสินได้
  3. หากผู้วิจัยไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่ระบุ แสดงว่าไม่ประสงค์รับเอกสารการรับรองและหากผู้วิจัยนำเสนอโครงการวิจัยเดิมเพื่อพิจารณาอีกให้ดำเนินการเหมือนเป็นการพิจารณาครั้งแรก
เงื่อนไขในการปฏิบัติเมื่อได้รับการพิจารณาอนุมัติ
  1. ข้าพเจ้ารับทราบว่าเป็นการผิดจริยธรรมหากดำเนินการเก็บข้อมูลการวิจัยก่อนได้รับการอนุมัติ จากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยฯ
  2. หากใบรับรองโครงการวิจัยหมดอายุ การดำเนินการวิจัยต้องยุติ เมื่อต้องการต่ออายุต้องขออนุมัติใหม่ล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 1 เดือน พร้อมส่งรายงานความก้าวหน้าการวิจัย
  3. ต้องดำเนินการวิจัยตามที่ระบุไว้ในโครงการวิจัยอย่างเคร่งครัด
  4. ใช้เอกสารข้อมูลสำหรับผู้เข้าร่วมวิจัย ใบยินยอมของผู้เข้าร่วมวิจัย และเอกสารเชิญเข้าร่วมวิจัย (ถ้ามี) เฉพาะที่ประทับตราคณะกรรมการเท่านั้น
  5. หากเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรงในสถานที่เก็บข้อมูลที่ขออนุมัติจากคณะกรรมการต้องรายงานคณะกรรมการภายใน 5 วันทำการ
  6. หากมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการวิจัย ให้ส่งคณะกรรมการพิจารณารับรองก่อนดำเนินการ
  7. โครงการวิจัยไม่เกิน 1 ปี ส่งแบบรายงานสิ้นสุดโครงการวิจัย และบทคัดย่อผลการวิจัย
    – ภายใน 30 วัน เมื่อโครงการวิจัยเสร็จสิ้น สำหรับโครงการวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์ให้ส่งบทคัดย่อผลการวิจัย
    – ภายใน 30 วัน เมื่อโครงการวิจัยเสร็จสิ้น

เจ้าหน้าที่สำนักงานประทับตราคณะกรรมการ เลขที่โครงการวิจัย วันที่รับรอง วันหมดอายุในโครงการวิจัย เอกสารข้อมูลสำหรับผู้เข้าร่วมวิจัยและการแสดงความยินยอม เอกสารเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ เอกสารประชาสัมพันธ์ และให้ผู้วิจัยใช้เอกสารดังกล่าวที่มีข้อความตรงกับที่ได้ประทับตราจากคณะกรรมการฯ

เอกสารข้อมูลสำหรับผู้เข้าร่วมวิจัยและการแสดงความยินยอมเข้าร่วมงานวิจัย

เป็นเอกสารข้อมูลประกอบการเชิญชวนให้เข้าร่วมวิจัย คือ ให้ข้อมูลอย่างเพียงพอ ภาษาเข้าใจง่าย  เนื้อหากระชับ  ไม่มีภาษาวิชาการ บอกกล่าวถึงลักษณะโครงการวิจัยเป็นอย่างไร ผู้เข้าร่วมวิจัยจะต้องปฏิบัติอย่างไร ระยะเวลาเข้าร่วมโครงการ ระบุประโยชน์หรือความเสี่ยงและสวัสดิการต่าง ๆ และการชดเชยค่าเสียเวลา/ค่าเดินทางอย่างเหมาะสม ระบุวิธีรักษาความลับของผู้เข้าร่วมวิจัย และ มีข้อความว่า “หากมีข้อสงสัยสอบถามผู้วิจัยได้ตลอดเวลา  เมื่อเข้าร่วมโครงการวิจัยแล้ว  สามารถถอนตัวได้ทุกขณะ  โดยไม่ต้องแจ้งเหตุผลและไม่มีผลกระทบใด ๆ”

  • สำหรับผู้ไม่รู้ภาษาไทย ให้มีเอกสารเป็นภาษานั้นๆ ร่วมกับฉบับภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
  • สำหรับผู้ที่อ่านหนังสือไม่ได้ หรือ มีบกพร่องทางสมอง มีวิธีการให้ข้อมูลอย่างเหมาะสม
  • สำหรับผู้อายุ 7-12 ปี ต้องมีเอกสารข้อมูลฯ แยกต่างหาก ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายเหมาะสมกับช่วงอายุ
  • สำหรับส่วนหนังสือแสดงความยินยอม มีข้อความระบุว่า “ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัย เป็นที่เข้าใจแล้ว”
  • สำหรับผู้เข้าร่วมการวิจัยอายุต่ำกว่า 7 ปี ต้องให้ผู้ปกครองตามกฎหมายลงนามยินยอม
  • สำหรับผู้เข้าร่วมการวิจัยอายุระหว่าง 7 ถึงต่ำกว่า 18 ปี ให้ผู้ปกครองตามกฎหมายและเด็กลงนามยินยอมเข้าร่วมการวิจัย
  • ผู้ที่ไม่สามารถลงนามได้ ให้ประทับลายนิ้วมือ และระบุว่าเป็นลายพิมพ์นิ้วมือผู้ให้ความยินยอม
  • ในกรณีที่มีผู้แทนชอบธรรมตามกฎหมาย เป็นผู้ตัดสินใจและลงนามยินยอมในการเข้าร่วมวิจัย ไม่ต้องมีพยานเพราะไม่ใช่เอกสารนิติกรรม
  • ผู้วิจัยจะต้องสำเนาเอกสารข้อมูลสำหรับผู้เข้าร่วมวิจัยและการแสดงความยินยอม ที่มีตราประทับของสำนักงานคณะกรรมการฯ ให้กับผู้มีเข้าร่วมวิจัย 1 ชุด
  • การยกเว้นการลงนาม โดยพิจารณาว่าการลงนามอาจทำให้เกิดความเสียหาย/เป็นการเปิดเผยความลับของผู้เข้าร่วมวิจัย แต่ผู้วิจัยต้องให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจแก่ผู้เข้าร่วมวิจัย แม้ว่าจะมีการยกเว้นการลงนามยินยอม โดยผู้วิจัยสามารถขออนุมัติยกเว้นการลงนามยินยอมได้โดยมีหนังสือพร้อมระบุเหตุผลมายังคณะกรรมการฯ เป็นต้นว่า การตอบแบบสอบถามโดยไม่ระบุผู้ตอบ
  • มีข้อความระบุว่า หากไม่ได้รับการปฏิบัติตามที่ได้ระบุในเอกสารข้อมูลฯ สามารถร้องเรียนมายังคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยฯ ได้ และวิธีการแจ้งคณะกรรมการฯ
  • ไม่ต้องมีพยานเพราะไม่ใช่การกระทำทางนิติกรรม

(ข้อมูล 4 กันยายน 2567)

คำแนะนำเอกสารที่ต้องนำส่ง

หมายเหตุ: เอกสารโครงการฯ ส่งคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยฯ โปรด print หรือถ่ายเอกสารทั้งสองหน้ากระดาษ
เพื่อประหยัดทรัพยากรและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ

เอกสารนำส่งการเสนอแก้ไข/ชี้แจงภายหลังการพิจารณาฯ ครั้งแรก
  1. AF02–11 (TH) บันทึกข้อความนำส่งและตารางการแก้ไข
  2. เอกสารต่าง ๆ ที่มีการแก้ไข-ชี้แจงและ/หรือเอกสารส่งเพิ่มเติม เป็นต้นว่า โครงการวิจัย เครื่องมือในการวิจัย เอกสารข้อมูลฯ และหนังสือแสดงความยินยอม ใบประชาสัมพันธ์ ฯลฯ (จัดเตรียมโดยนักวิจัย)

* โปรดทำสำเนาเอกสารทุกฉบับตามจำนวนที่นำส่ง

เอกสารนำส่งเอกสารขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการวิจัยหลังได้รับอนุมัติ
  1. AF01–13 (TH) บันทึกข้อความและแบบรายงานขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการวิจัย
  2. เอกสารที่มีการปรับเปลี่ยนตามเนื้อหาที่แจ้งคณะกรรมการฯ เป็นต้นว่า โครงการวิจัย เครื่องมือวิจัย เอกสารข้อมูลฯ และหนังสือแสดงความยินยอมฯ (จัดเตรียมโดยนักวิจัย)

* โปรดส่งเอกสารทุกชุด 3 ชุด

โครงการวิจัยที่ได้รับอนุมัติแบบเป็นระยะ/ช่วง เอกสารเสนอเพื่อพิจารณาช่วงต่อไป
  1. AF01–14P (TH) นทึกข้อความเสนอแบบรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยในระยะแรกและเสนอโครงการฯ เพื่อพิจารณาระยะถัดมา
  2. เอกสารโครงการวิจัย เอกสารข้อมูล เครื่องมือวิจัย และเอกสารอื่นที่จะใช้ในระยะถัดมาที่เสนอขอรับพิจารณา (จัดเตรียมโดยนักวิจัย)

* โปรดส่งเอกสารทุกชุด 3 ชุด หากโครงการเข้ารับการพิจารณาในที่ประชุม สนง. จะแจ้งให้ผู้วิจัยทำสำเนาเพิ่มอีก 5 ชุด

เอกสารนำส่งขอขยายเวลารับรองจริยธรรมการวิจัย (ต่ออายุใบรับรอง)
  1. AF01–14E (TH) บันทึกข้อความและแบบรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย
  2. สำเนาเอกสารที่ได้รับการประทับตรารับรองที่กำลังหมดอายุ (จัดเตรียมโดยนักวิจัย)

* โปรดส่งเอกสารทุกชุด 3 ชุด

รายงานสิ้นสุดโครงการวิจัย
  1. AF01–15 (TH) แบบรายงานสุดสิ้นโครงการวิจัย
  2. บทคัดย่อโครงการวิจัย (จัดเตรียมโดยนักวิจัย)

ระบบงานการพิจารณาเอกสารการวิจัยเพื่อขอรับการรับรองจริยธรรมในคน

สามารถดูคู่มือการใช้การใช้งานระบบ CU-REC และดาวน์โหลดแบบฟอร์มเอกสารสำหรับผู้วิจัยได้ที่นี่

คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน ชุดที่ 1

ประธานกรรมการ รองประธาน และเลขานุการ
  • รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ปรีดา ทัศนประดิษฐ (ประธาน)
  • รองศาสตราจารย์ ดร.นันทรี ชัยชนะวงศาโรจน์ (รองประธาน)
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ระวีนันท์ มิ่งภัคนีย์ (กรรมการและเลขานุการ)
กรรมการ

ผู้มีความชำนาญทางการวิจัยและจริยธรรมการวิจัย

  • รองศาสตราจารย์ ดร.กัญญดา ประจุศิลป
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไกรวุฒิ กัลวิชา
  • รองศาสตราจารย์ ดร. เขมิกา ยามะรัต
  • อาจารย์ ดร. คนางค์ ศรีหิรัญ
  • รองศาสตราจารย์ ดร. จอนผะจง เพ็งจาด
  • รองศาสตราจารย์จันทนี อิทธิพานิชพงศ์
  • รองศาสตราจารย์ ดร.จุลนี เทียนไทย
  • รองศาสตราจารย์ ดร. ชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์
  • อาจารย์ ดร.ทศพร ยิ้มลมัย
  • อาจารย์ ดร.เทพนาฏ พุ่มไพบูลย์
  • อาจารย์ ดร.นงนภัส เจริญพานิช
  • อาจารย์ ดร.นฤมล ภุมมาพันธ์
  • แพทย์หญิงนันทา อ่วมกุล
  • ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนันทิกา ทวิชาชาติ
  • อาจารย์ ดร.นิปัทม์ พิชญโยธิน
  • แพทย์หญิงนิพรรณพร วรมงคล
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปกเกศ วงศาสุลักษณ์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ร้อยตำรวจตรีหญิง ปชาณัฏฐ์ นันไทยทวีกุล
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ปัทพร สุคนธมาน
  • ศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิพา ศักดิ์ทอง
  • รองศาสตราจารย์ นายแพทย์พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ
  • นางสาวยิ่งลักษณ์ แสงอร่าม
  • รองศาสตราจารย์ ดร.รสลัย กัลยาณพจน์พร
  • รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงรัศมน กัลยาศิริ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งระวี สมะวรรธนะ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณพร ทองตะโก
  • รองศาสตราจารย์ ดร.วิราภรณ์ โพธิศิริ
  • ศาสตราจารย์ ดร.แพทย์หญิงวิไล ชินธเนศ
  • รองศาสตราจารย์ ดร. ศศิลักษณ์ ขยันกิจ
  • รองศาสตราจารย์ ดร.สุญาณี พงษ์ธนานิกร
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนทรี วัชรดำรงกุล
  • นายสมชาย อิสระวาณิชย์
  • รองศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา บุญหยง
  • รองศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา สุคนธทรัพย์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวิมล โรจนาวี
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โสมฤทัย สุนธยาธร
  • รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถกร ปาละสุวรรณ
  • รองศาสตราจารย์ ดร.อัครเดช ศิริพร
  • ศาสตราจารย์ ดร.อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
  • อาจารย์ ดร.อารยา เจรนุกูล

ผู้ชำนาญการด้านสถิติ

  • อาจารย์ ดร.ญุดา จองพิศาล
  • อาจารย์ ดร.ธนะภูมิ รัตนานุพงศ์
  • นายปริญญา กิติดำรงสุข
  • นางสาววีนัส อุดมประเสริฐกุล
  • รองศาสตราจารย์ สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์

บุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องทางวิชาการ

  • นางสาวจรรยา ร่มสน
  • นายทรงยศ สามกษัตริย์
  • นายพิทยา เลิศมหาฤทธิ์
  • นางภควดี สวัสดิ์-ชูโต
  • นางศรีวรา อิสสระ
  • นางสาวสุนันทา วงศ์ชาลี
  • นายเอกชีพ นิเวศวงศ์กุล
การทบทวนผู้วิจัยและสิ่งที่ใช้ในการวิจัย
  1. ผู้วิจัยมีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะทำการวิจัย
  2. ผู้วิจัยมีประสบการณ์การทำวิจัย
  3. ผู้วิจัยมีสิ่งอำนวยความสะดวก/วัสดุ/อุปกรณ์ เพียงพอ
  4. มีงบประมาณเหมาะสมในการจัดการงานวิจัย

ติดต่อ

นางสาววรยา กฤษน้อย
(Waraya Krisnoi)
Waraya.K@chula.ac.th
โทร: 02-2183049

นางสาว​อิสรีย์ เขมะกนก
(Issaree Khemakanaka)
issaree.k@chula.ac.th
โทร: 02-2183202

254 อาคารจามจุรี 1 ชั้น 2 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

โทร: 02-218-3202 หรือ 02-2183049

E-mail: eccu@chula.ac.th