ทุนสนับสนุนการจัดประชุมนักวิจัยระดับนานาชาติ

ทุนสนับสนุนการจัดประชุมนักวิจัยระดับนานาชาติ

วัตถุประสงค์

ส่งเสริมและกระตุ้นให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางการจัดประชุมนักวิจัยระดับนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิจัยจากหลากหลายประเทศ ส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยมีบทบาทสำคัญในเวทีวิชาการระดับโลก และเพิ่มโอกาสในการสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงในระดับสากล

ช่วงเวลา

  • ระยะเวลาในการรับสมัคร: ตลอดปี

การสนับสนุน

  • สนับสนุนไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี/สถาบันหรือคณะ

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  • เป็นบุคลากรประจำของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เงื่อนไขการจัดงาน

  • ต้องมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 200 คน โดยมีชาวต่างชาติ ไม่น้อยกว่า 60 คน (ไม่เป็นบุคลากรหรือนิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้องเป็น Sponsor หลัก

ผลผลิต

  • โครงการมีแผนอนาคต KPI ระยะสั้น ระยะยาว และผลผลิตที่สนับสนุนการประเมิน Universities Ranking เช่น การสร้างเครือข่ายหรือกิจกรรมที่จะดำเนินการร่วมกันในอนาคต การส่งนิสิตไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศ อาจารย์ต่างชาติมาเป็น Co-Advisor 

ระบบออนไลน์

ระบบบริหารจัดการข้อมูลวิจัย Grant Gateway เป็นระบบสนับสนุนทุนวิจัย ทุนวิชาการ และทุนการศึกษา สำหรับอาจารย์และนักวิจัย นิสิต Ph.D./ Postdoc รวมทั้ง เป็นช่องทางขอรับการสนับสนุนทุนวิจัยและการสนับสนุนต่างๆ ด้านการวิจัย ที่ช่วยลดความซ้ำซ้อนของการจัดเก็บข้อมูลเพิ่มความถูกต้องแม่นยำ โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ ในมหาวิทยาลัย อีกทั้งเพื่อปรับกระบวนการทำงานให้ทันสมัย ลดขั้นตอนโดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการข้อมูล

คำถามที่พบบ่อย

หน่วยงานสามารถขอรับการสนับสนุนมากกว่า 2 ครั้ง/ปี แต่อยู่ในงบประมาณที่กำหนดไว้ได้หรือไม่?
  • ไม่ได้ เนื่องจากทุนนี้จำกัดให้แต่ละส่วนงานสามารถขอได้สูงสุด 2 ครั้งต่อปีเท่านั้น เพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดประชุมและสร้างผลงานที่มีผลกระทบสูงต่อเวทีวิชาการระดับนานาชาติ
โครงการที่จะขอจำเป็นต้องเป็นโครงการใหม่ หรือ ถ้ามีโครงการเดิมที่จัดต่อเนื่องอยู่แล้วขอทุนนี้ได้หรือไม่?
  • สามารถขอรับการสนับสนุนได้ทั้งโครงการใหม่และโครงการเดิมที่จัดต่อเนื่อง หากโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของทุน เช่น การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ หรือการสนับสนุน Universities Ranking
หากมี Sponsor ที่สนับสนุนเท่ากันมหาวิทยาลัย สามารถวาง Logo ด้วยกันได้หรือไม่?

หากมีผู้สนับสนุนจากหน่วยงานอื่น ให้วางตำแหน่ง Logo ของจุฬาฯ เป็นอันดับที่ 1 โดยวางไว้ด้านบนสุดของงานออกแบบเสมอ

มีผู้เข้าร่วมประชุม อย่างน้อย 200 คน โดยมีต่างชาติ อย่างน้อย 60 คน หมายความว่าอย่างไร?

การกำหนดนี้หมายถึง ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดต้องรวมถึงทั้ง Speaker และผู้เข้าร่วมประชุมทั่วไป โดยจากจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งหมด 200 คน และต้องมีชาวต่างชาติที่สามารถระบุตัวตนได้ และมีความเกี่ยวข้องกับการประชุมอย่างน้อย 60 คน โดยต้องไม่เป็นบุคลากรหรือนิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โครงการนี้ต้องการผลผลิตอย่างไร?
  • โครงการมีแผนในอนาคตและผลผลิตชัดเจน อย่างน้อย 1 โครงการ เช่น การสร้างเครือข่ายหรือกิจกรรมที่จะดำเนินการร่วมกันในอนาคต การส่งนิสิตไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศ การส่งอาจารย์ต่างชาติมาเป็น Co-Advisor ของนิสิต เป็นต้น
  • จำนวนรายชื่อ Academic Reputation ของจุฬาฯ ใน QS ranking อย่างน้อย 30 รายชื่อ เพื่อสนับสนุนการประเมิน Universities Ranking
หากจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด จะส่งผลกระทบต่อการสนับสนุนทุนหรือไม่?
  • การไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมต่ำกว่า 200 คน หรือจำนวนชาวต่างชาติต่ำกว่า 60 คน จะส่งผลให้โครงการไม่ได้รับการสนับสนุนในปีถัดไป ดังนั้นผู้ขอทุนต้องวางแผนและบริหารจัดการอย่างเหมาะสม
หากโครงการจัดประชุมร่วมกับหน่วยงานอื่น จะยังสามารถขอทุนนี้ได้หรือไม่?
  • สามารถขอทุนได้ แต่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต้องเป็นเจ้าภาพหลักของโครงการ และโครงการต้องมีเป้าหมายที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของทุน เช่น การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ
ค่าใช้จ่ายประเภทใดบ้างที่สามารถนำมาเบิกจากทุนนี้ได้?
  • ทุนนี้สามารถนำไปใช้ในค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดประชุม เช่น ค่าที่พักและเดินทางของวิทยากรต่างชาติ ค่าเช่าสถานที่ ค่าวัสดุประชาสัมพันธ์ หรือค่าอาหารสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งต้องสอดคล้องกับประกาศการเงินของจุฬาฯ โดยต้องจัดทำรายงานการใช้จ่ายอย่างโปร่งใส
  • สามารถดาวโหลดแบบฟอร์มงบประมาณการจัดประชุมได้จากระบบ GrantGateway
หากโครงการได้รับอนุมัติทุนแล้ว แต่ต้องเลื่อนการจัดประชุมออกไป สามารถเก็บสิทธิ์การสนับสนุนไว้ได้หรือไม่?
  • หากมีเหตุสุดวิสัยที่ต้องเลื่อนการจัดประชุม ผู้รับทุนต้องแจ้งให้คณะกรรมการพิจารณาและอนุมัติการเลื่อน ทั้งนี้สิทธิ์การสนับสนุนอาจถูกยกเลิก หากไม่มีการดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด
มีข้อจำกัดในการเลือกสถานที่จัดประชุมหรือไม่ เช่น ต้องจัดในพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้น?
  • ไม่มีข้อกำหนดว่าต้องจัดในพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่สถานที่จัดประชุมต้องเหมาะสมกับการจัดงานระดับนานาชาติและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของทุน

ผู้ประสานงาน

คุณพีรสิทธิ์ สุรเกียรติชัย

โทรศัพท์ 0-2218-0426

Line @cu.research

E-mail: Peerasit.s@chula.ac.th, Research.S@chula.ac.th

คุณมนัญชยา แน่นอุดร

โทรศัพท์ 0-2218-0236

Line @cu.research

E-mail: Manunchaya.n@chula.ac.th, Research.S@chula.ac.th

คุณฌาวีรัชญ์ พรศิยาวรัญญ์

โทรศัพท์ 0-2218-0236

Line @cu.research

E-mail: Chaweerut.p@chula.ac.th, Research.S@chula.ac.th