ทุนสนับสนุนรางวัลการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ ในระดับนานาชาติ

ทุนสนับสนุนรางวัลการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ ในระดับนานาชาติ

วัตถุประสงค์

  • เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรสายวิชาการในการผลิตผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยมุ่งเน้นการเพิ่มจำนวนบทความที่มีคุณภาพสูงกว่า 20% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 3 ปี ย้อนหลัง
  • ผลิตผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลเพิ่มขึ้น

ช่วงเวลา

  • ระยะเวลาในการรับสมัคร: ตลอดปี

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  • เป็นบุคลากรประจำสายวิชาการ มีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์
  • ต้องเป็น 1st หรือ Corr. Author เท่านั้น ถ้าเป็นบุคลากรจุฬาฯ ทั้งคู่ หนึ่งบทความสามารถขอได้เพียงรางวัลเดียว

ผลผลิต

  • ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติจำนวนมากกว่า 20% จากค่าเฉลี่ย 3 ปี ย้อนหลัง โดยผลงานวิจัยที่ขอรับทุนสนับสนุน มีคุณสมบัติดังนี้

    • Tier1 และ Q1 เท่านั้น (พิจารณาจากปีที่ตีพิมพ์) โดยผู้ขอเป็นเป็น First Author หรือ Corr. Author เท่านั้น (ถ้าเป็นบุคลากรจุฬาทั้งคู่ หนึ่งบทความสามารถขอได้เพียงรางวัลเดียว)

    • ต้อง submit หลัง 1 ต.ค. 67 และ มี Affiliation เป็น Chulalongkorn University

    • บทความที่ขอรับการสนับสนุนต้องปรากฎในฐานข้อมูล Scopus หรือ Epub ภายในวันสุดท้ายของปีงบประมาณที่ขอรับรางวัล

    • ไม่สนับสนุนบทความที่ตีพิมพ์โดย Publishers: MDPI, Hindawi, Frontiers

    • เป็น Full article ประเภท original research, review, meta-analysis, book chapter ยกเว้น Short communication, case report

การยื่นข้อเสนอ

  • ส่งข้อเสนอผ่านหน่วยงานต้นสังกัด

การเปิดรับสมัคร

  1. การแจ้งจำนวนบทความเพื่อขอกันวงเงิน
    • เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของสำนักบริหารแผนและการงบประมาณ ก่อนการเบิกจ่าย ขอความร่วมมือทุกหน่วยงานแจ้งจำนวนบทความที่ต้องการขอกันวงเงิน ทั้งในกรณีที่ต้องการและไม่ต้องการเบิกจ่าย ผ่านแบบฟอร์มออนไลน์ที่ https://forms.gle/yqdczujfJftWoqRX9
    • ขอความร่วมมือดำเนินการตามกำหนดการที่ระบุไว้ในเอกสารแนบ (ตารางที่ 1)
  2. กำหนดการเบิกจ่ายและการเบิกจ่ายในระบบ GrantGateway
    • การเบิกจ่ายทุนดังกล่าวจะเริ่มเปิดระบบให้ส่งข้อมูลเพื่อขอเบิกจ่ายในวันที่ 1 มกราคม 2568 ขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกำหนดการที่ระบุไว้ในเอกสารแนบ (ตารางที่ 2)
    • ขอให้ทุกหน่วยงานกรอกข้อมูลตามกำหนดการในระบบ GrantGateway ผ่านทางลิงก์: https://grantgateway.research.chula.ac.th/www/Home/program?id=66dd3f0e790f9b475b000027
    • ทั้งนี้ ขอให้มอบหมายตัวแทนผู้ประสานงาน 1 ท่านต่อ 1 หน่วยงาน เป็นผู้ดำเนินการกรอกข้อมูล เพื่อให้กลุ่มยุทธศาสตร์การวิจัยสามารถรวบรวมข้อมูลและดำเนินการเบิกจ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทความ 3 ปี ย้อนหลัง

  1. อยู่ในฐานข้อมูล Scopus ระยะย้อนหลัง 3 ปี (ระหว่าง 1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2567)
  1. Tier1 และ Q1 เท่านั้น
  2. เป็น 1st หรือ Corr. Author
  3. Affiliation: Chulalongkorn University
  4. ไม่นับบทความที่ตีพิมพ์โดย MDPI, Hindawi, Frontiers
  5. Full article ประเภท original research, review, meta-analysis, book chapter ยกเว้น Short communication, case report

บทความที่ขอรับรางวัล (20% ที่เพิ่มขึ้น)

  1. Submit หลัง 1 ตุลาคม 2567 และปรากฎในฐานข้อมูล Scopus หรือ Epub ภายใน 30 กันยายน 2568
  2. Tier1 และ Q1 เท่านั้น
  3. เป็น 1st หรือ Corr. Author
  4. Affiliation: Chulalongkorn University
  5. ไม่นับบทความที่ตีพิมพ์โดย MDPI, Hindawi, Frontiers
  6. Full article ประเภท original research, review, meta-analysis, book chapter ยกเว้น Short communication, case report

คำถามที่พบบ่อย

บทความที่ขอรับรางวัล ต้องมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง?

บทความที่ขอรับรางวัลจะต้อง:

  1. Submit หลัง 1 ตุลาคม 2567 และปรากฏในฐานข้อมูล Scopus
    หรือ Epub ภายใน 30 กันยายน 2568
  2. อยู่ใน Tier 1 หรือ Q1
  3. ผู้สมัครต้องเป็น 1st Author หรือ Corresponding Author
  4. ระบุ Affiliation ว่า Chulalongkorn University
  5. ไม่นับรวมบทความที่ตีพิมพ์โดย MDPI, Hindawi, หรือ Frontiers

เป็นบทความประเภท original research, review, meta-analysis, book chapter (ยกเว้น Short communication และ Case report)

บทความที่นำมาคิดค่าเฉลี่ย 3 ปี ย้อนหลัง นับปีอย่างไร?

บทความที่นำมาคิดค่าเฉลี่ยจะต้อง:

  1. อยู่ในฐานข้อมูล Scopus ในช่วงระหว่าง 1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2567
  2. อยู่ใน Tier 1 หรือ Q1
  3. ผู้สมัครต้องเป็น 1st Author หรือ Corresponding Author
  4. ระบุ Affiliation ว่า Chulalongkorn University
  5. ไม่นับรวมบทความที่ตีพิมพ์โดย MDPI, Hindawi, หรือ Frontiers

เป็นบทความประเภท original research, review, meta-analysis, book chapter (ยกเว้น Short communication และ Case report)

การคิดจำนวนบทความมากกว่า 20% จากค่าเฉลี่ย 3 ปี ย้อนหลัง ต้องคิดอย่างไร?

ตัวอย่างบทความที่ขอรับรางวัล

  • (A) จำนวน 3 ปีย้อนหลัง 0-3 บทความ ขอรับรางวัลได้ตั้งแต่บทความที่ 2
  • (B) จำนวน 3 ปีย้อนหลัง 4-6 บทความ ขอรับรางวัลได้ตั้งแต่บทความที่ 3
  • (C) จำนวน 3 ปีย้อนหลัง 7-8 บทความ ขอรับรางวัลได้ตั้งแต่บทความที่ 4
  • (D) จำนวน 3 ปีย้อนหลัง 9-11 บทความ ขอรับรางวัลได้ตั้งแต่บทความที่ 5
  • (E) จำนวน 3 ปีย้อนหลัง 12 บทความขึ้นไป ขอรับรางวัลได้ตั้งแต่บทความที่ 6

*หมายเหตุ: ผลงานที่ได้รับการสนับสนุนจะเริ่มต้นจากบทความที่ 2 เป็นต้นไป โดยต้องมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่า 20% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

หากบทความได้รับการยอมรับ (accepted) แต่ยังไม่ได้ตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus จะสามารถขอทุนนี้ได้หรือไม่?
  • ยังไม่สามารถขอทุนได้ ผู้สมัครต้องรอให้บทความปรากฏในฐานข้อมูล Scopus ก่อนถึงจะมีสิทธิ์ขอทุน
รางวัลนี้ต้องเสียภาษีหรือไม่?

ทุนนี้เป็นแบบเหมาจ่าย ต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย 10% เพราะนับเป็นเงินรายได้ของอาจารย์ ซึ่งผู้ได้รับรางวัลต้องบริหารจัดการเรื่องภาษีด้วยตนเอง

ในกรณีที่บทความถูกตีพิมพ์ในวารสารที่มีการเปลี่ยนแปลง T1, Q1 หลังตีพิมพ์ จะยังถือว่าเข้าเงื่อนไขทุนหรือไม่?

เราพิจารณา T1 และ Q1 ณ วันที่ส่งบทความ (submit) เนื่องจากเป็นวันที่ผู้รับทุนเลือกวารสารที่มีระดับสูงในขณะนั้น (โดยส่งหลักฐานแนบมาด้วย)

หากบทความได้รับเงินทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนภายในหรือภายนอกอื่นด้วย จะสามารถขอรับรางวัลนี้ซ้ำซ้อนได้หรือไม่?

สามารถขอรับรางวัลนี้ได้ ยกเว้นในกรณีที่บทความนั้นเกิดจาก ทุนยุทธศาสตร์การวิจัย เช่น ทุน Exchange Faculty Travel Grant ซึ่งไม่สามารถมาเบิก Publication Reward ได้อีก

ผู้ประสานงาน

คุณพีรสิทธิ์ สุรเกียรติชัย

โทรศัพท์ 0-2218-0426

Line @cu.research

E-mail: Peerasit.s@chula.ac.th, Research.S@chula.ac.th

คุณมนัญชยา แน่นอุดร

โทรศัพท์ 0-2218-0236

Line @cu.research

E-mail: Manunchaya.n@chula.ac.th, Research.S@chula.ac.th

คุณฌาวีรัชญ์ พรศิยาวรัญญ์

โทรศัพท์ 0-2218-0236

Line @cu.research

E-mail: Chaweerut.p@chula.ac.th, Research.S@chula.ac.th