ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวัสดุและไบโออินเทอร์เฟส

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวัสดุและไบโออินเทอร์เฟส

วัตถุประสงค์ของกลุ่มเพื่อรวมผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาวิชาเพื่อรวบรวมความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่ผสมผสานกันของผู้เชี่ยวชาญจากหลาหลายสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อสร้างผลงานที่สำคัญ ความร่วมมือนี้ไม่เพียงแต่จำกัดในหมู่อาจารย์เท่านั้น แต่ยังขยายออกไปในหมู่นักศึกษาและนักวิจัยหลังปริญญาเอกจากห้องปฏิบัติการต่างๆ องค์กรเรามุ่งมั่นที่จะท้าทายและค้นหานวัตกรรมที่สามารถสร้างความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเชื่อมโยงระหว่างสถาบันการศึกษาและอุตสาหกรรม โดยบุคคลที่มีความรู้ที่หลากหลาย เช่น นักเคมี วิศวกรโพลีเมอร์ สัตวแพทย์ และนักจุลชีววิทยา มารวมตัวกัน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เกิดการผสมผสานความคิดได้ ความร่วมมือของเรานำไปสู่แนวทางใหม่และการแก้ปัญหาพื้นฐานไปจนถึงการประยุกต์ใช้งานจริง

Research & Innovation Focus ​

Health and Well-Being + Health
Sustainable Society + Health
NetZero + Health

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสร้างเทคโนโลยีหลักทางด้านวัสดุและ bio-interfaces
  2. เพื่อปรับปรุงวิสัยทัศน์ในการนำไปใช้งานเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของคน
  3. เพื่อสร้างการขับเคลื่อนภายในองค์กรและขยายความร่วมมือกับพันธมิตร

เป้าหมายใน 3 ปี

  1. ผลักดันให้งานด้าน bio-interfaces ของวัสดุที่วิจัยขึ้นมาโดยสมาชิกศูนย์ ดำเนินไปได้รวดเร็ว และคล่องตัวขึ้น
  2. ผลักดันวัสดุที่มีผลการทดลองด้าน bio-interfaces ที่น่าสนใจ ให้เข้าสู่กระบวนการต่อยอดในการทดสอบ กับ partners ในและต่างประเทศ พร้อมๆกับการร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมโดยใช้กลไกคือ ขยายความร่วมมือในด้านการทดสอบที่จำเป็น ทั้งด้วย ทุนจากศูนย์ ร่วมกับ ภาคอุตสาหกรรม
  3. ผลักดันเทคโนโลยีของวัสดุใหม่เพิ่มเติม โดยเพิ่มเติมโจทย์การสร้างวัสดุให้ตอบสนองความต้องการทางชีววิทยา ที่เป็นโจทย์ทั้งจากสมาชิกในศูนย์ เอง และจากภายนอก

ผลงานวิจัยเด่น

  1. พอลิเมอไรซด์พอลิฟีนอลิกฟลาโวนอยด์ (ผู้ประดิษฐ์: ปาริฉัตร ถาวรชาติ, ศุภศร วนิชเวชารุ่งเรือง และ ธนาภัทร ปาลกะ) CUIP 00507
  2. ตัวรับรู้เชิงสีของการตรวจวัดสารบ่งชี้ทางชีวภาพบนคอมพอสิตไฮโดรเจล สำหรับประยุกต์ใช้เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดแบบสวมใส่ และกรรมวิธีการเตรียม (พรเพ็ญ แซ่อึ้ง, นาฏนัดดา รอดทองคำ และ วรวีร์ โฮเว่น) อนุสิทธิบัตรเลขที่คำขอ 2003001270
  3. สิทธิบัตร A dissolvable microneedle (US20220249820A1) (ผู้ประดิษฐ์: ศุภศร วนิชเวชารุ่งเรือง, ธีรณัฐ รุทธิ์วารี, ฐิติพร แสนสุรีย์รังสิกุล, ประวิทย์ อัศวานนท์ และ วิจิตร บรรลุนารา)

เครือข่ายและความร่วมมือ

  • University of Pennsylvania, USA
  • Institute of Science and Technology, Japan
  • Kansai University, Japan
  • Faculty of Chemical Engineering, Osaka University, Japan
  • Mineed Technology Co.Ltd

ข้อมูลติดต่อกลุ่มวิจัย

ศาสตราจารย์ ดร.

ศุภศร วนิชเวชารุ่งเรือง

หัวหน้ากลุ่มวิจัย

คณะวิทยาศาสตร์

(FACULTY OF ARTS)​
สังกัดของกลุ่มวิจัย

ห้องปฏิบัติการ 1408/1 ชั้น 14 อาคารมหามกุฏ ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

Tel. (+66) 2218 7634

E-mail: supason.p@chula.ac.th