งานวิจัยข้ามศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

งานวิจัยข้ามศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นในการพัฒนาและส่งเสริมงานวิจัยข้ามศาสตร์ เพื่อสร้างความรู้ใหม่ที่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาท้าทายในสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยการบูรณาการความรู้จากหลากหลายสาขาวิชา เช่น วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคมในยุคปัจจุบัน การวิจัยข้ามศาสตร์ของจุฬาฯ ไม่เพียงแต่เสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ แต่ยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและขับเคลื่อนประเทศสู่ความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

งานวิจัยข้ามศาสตร์ และการสนับสนุน

สถาบันวิจัยข้ามศาสตร์
0
ล้านบาทที่สนับสนุนงานวิจัย
0
ล้านบาท (สายวิทยาศาสตร์)
0

ข่าวงานวิจัย

หน่วยงานสนับสนุนการวิจัย

เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ประโยชน์สังคมส่วนรวม สำหรับนิสิตนักศึกษาและผู้สนใจเข้าอบรม เรียนรู้กระบวนการสร้างนวัตกรรม และเสนอแนวคิดสร้างสรรค์ทางนวัตกรรมที่หลากหลายเพื่อการเปลี่ยนสังคมไทยสู่วิถีใหม่ในการใช้ชีวิต การเรียนรู้ และความคิดสร้างสรรค์

เป็นพื้นที่นำเสนอผลงานนวัตกรรมทางสังคม เชื่อมโยงนักวิจัยข้ามศาสตร์ให้ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานที่ตอบสนองการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นแหล่งบ่มเพาะเพื่อนำไปสู่การเป็นธุรกิจเพื่อสังคม

ศูนย์กลางการเลี้ยงและการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ และผลิตสัตว์ทดลองที่มีคุณภาพสูงสำหรับการวิจัย การทดสอบ การผลิตชีววัตถุ และการสอน ตลอดจนพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความชำนาญ เพื่อให้ผลงานเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ

องค์กรที่มีเครื่องมือวิจัยที่หลากหลายและทันสมัย พร้อมให้บริการวิเคราะห์และทดสอบตามมาตรฐานสากล เพื่อสนับสนุนการวิจัย การเรียนการสอน การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภายในและต่างประเทศ เพื่อใช้ประโยชน์จากเครื่องมือวิจัยร่วมกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลวิชาการ และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ระหว่างหน่วยงาน

กลุ่มวิจัย

กิจกรรมสนับสนุนการวิจัย

สบจ.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “แนวโน้มการบริหารงานวิจัยแบบมุ่งเน้นการสร้างผลกระทบ

เวทีสื่อสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้: แนวโน้มการบริหารงานวิจัยแบบมุ่งเน้นการสร้างผลกระทบ จัดขึ้นเพื่อให้กลุ่มวิจัยมีความเข้าใจถึงทิศทางและเป้าหมายการวิจัยร่วมกันกับมหาวิทยาลัย ร่วมยกระดับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวโน้มการบริหารงานวิจัยแบบมุ่งเน้นการสร้างผลกระทบ เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และปัจจัยสำคัญสำหรับการทำงานวิจัย ผลักดันให้เกิดงานวิจัยข้ามศาสตร์ สร้างความร่วมมือข้ามคณะ ข้ามมหาวิทยาลัย จนนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างประเทศ รวมทั้งตอบโจทย์งานวิจัยตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในระดับประเทศและระดับสากล

สำนักบริหารวิจัย ร่วมกับ Horizon Europe จัดบรรยายในหัวข้อ “Essential Guidelines for participating in Collaborative Research Proposals in Horizon Europe”

โครงการ “Essential Guidelines for participating in Collaborative Research Proposals in Horizon Europe” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการขอรับการสนับสนุนการทำงานวิจัยและนวัตกรรมจาก Horizon Europe สหภาพยุโรป โดยมุ่งเน้นไปที่การให้ข้อมูลที่จำเป็นและเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับอาจารย์และนักวิจัย และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับนักวิจัยจากต่างประเทศ ซึ่งนำไปสู่การขยายขอบเขตงานวิจัยไปสู่ระดับนานาชาติได้มากขึ้น

ปริญญาภายใน 6 ปี ปริญญาตรีทันตแพทยศาสตร์ และปริญญาโทวิศวกรรมชีวเวช หลักสูตรควบข้ามระดับข้ามศาสตร์

หลักสูตรควบข้ามระดับข้ามศาสตร์เป็นตัวอย่างแพลตฟอร์มการศึกษารูปแบบใหม่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์เริ่มดำเนินการครั้งแรกร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ ในโครงการผลิตบัณฑิตแพทย์ 2 ปริญญา คือ ปริญญาตรีทันตแพทย์ – ปริญญาโท วิศวกรรมชีวเวช เพื่อเป็นการขับเคลื่อนแพลตฟอร์มการศึกษาควบข้ามระดับข้ามศาสตร์ให้ขยายผลไปยังคณะและนิสิตกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความสนใจมากยิ่งขึ้น ตลอดจนนำความเข้มแข็งจากภายในของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Growth from within) ต่อยอดไปเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรมที่มีความสำคัญ มีประโยชน์ต่อสังคม

สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์ เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ซึ่งเป็นหลักสูตรศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมบูรณาการ (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรนี้เป็นการเรียนการสอนเพื่อให้นิสิตได้รับทักษะที่เป็นที่ต้องการในศตวรรษที่ 21 ซึ่งก็คือความรู้เกี่ยวกับธุรกิจและเทคโนโลยีผ่านการทําโครงงานที่เน้นการปฏิบัติจริง (Project Based-learning) ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยมีสาขาวิชาให้เลือกเรียนทั้งสิ้น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสุขภาวะและการอยู่ดีมีสุข, กลุ่มชุมชนเสมอภาคและเมืองอัจฉริยะ, กลุ่มการพัฒนาอย่างยั่งยืน และกลุ่มปัญญาดิจิทัลเชิงประยุกต์

โครงการหลักสูตรควบข้ามระดับ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจ Master of Science in Business (MSB) ระหว่าง คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และ คณะสหเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

หลักสูตรการบูรณาการข้ามศาสตร์ระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ให้มีความรู้ประสบการณ์ทางธุรกิจ ผ่านหลักสูตรการเรียนปริญญาตรีวิทยาศาสตร์ควบปริญญาโทภายใต้ชื่อ Master of Science in Business (MSB) ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากสำหรับนิสิตในการเสริมองค์ความรู้ด้านธุรกิจให้กับนิสิตและลดระยะเวลาศึกษาลงด้วย ตลอดจนเกิดความร่วมมือระหว่างคณาจารย์ข้ามคณะ นำมาซึ่งการพัฒนาความรู้และการบูรณาการข้ามศาสตร์ร่วมกันต่อไป จุดประกายการปั้นนักวิทยาศาสตร์ให้เป็นนักธุรกิจ ตลอดจนเรียนรู้การทำแผนธุรกิจได้อย่างประสบความสำเร็จและยั่งยืน

รางวัลการวิจัย