การสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติ

การสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติ

วัตถุประสงค์

ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ขอรับการสนับสนุนสามารถนำผลงานไปตีพิมพ์เผยแพร่ อันจะเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการและสังคมในวงกว้าง

ช่วงเวลา

  • ระยะเวลาในการรับสมัคร: ตลอดปี

ระบบใหม่มีอะไรบ้าง?

  • เหมาจ่าย ครบ! จบ! :

    เกณฑ์ใหม่ สนับสนุนแบบเหมาจ่ายตาม Rank (ค่าสนับสนุน/ ค่า Page Charges/ ตรวจทานภาษา) ไม่ต้องใช้หลักฐานการจ่ายเงิน

  • จำนวนเงินตรวจสอบได้ : สามารถตรวจสอบยอดเงินคงเหลือเพื่อวางแผนขอรับการสนับสนุนบทความถัดไปได้
  • ลดขั้นตอนกระบวนการ : ยกเลิกขั้นตอนการรายงานผลผลิต เพียงยืนยันบทบาทผู้เขียนในเมนูการขอรับการสนับสนุนฯ
  • ยินยอมภายใน 7 วัน :

    เอกสารไม่ค้าง รอยินยอมจาก First author ภายใน 7 วัน เบิกเงินได้ตามปีงบประมาณ และมีอีเมลแจ้งเตือนทุกสถานะการดำเนินงาน

  • PDPA รัดกุมมากขึ้น :

    ดำเนินการภายใต้ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
    *เลขที่บัญชีแสดงแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  1. เป็นอาจารย์ หรือนักวิจัยที่เป็นบุคลากรประจำของมหาวิทยาลัย และนักวิจัยพันธมิตรของจุฬาฯ
  2. เป็นชื่อแรก (first author) หรือ ผู้รับผิดชอบผลงาน (Corresponding author) ที่ระบุชื่อหน่วยงานของจุฬาฯ ไว้ในตำแหน่งที่อยู่ของผู้เขียนปรากฎในผลงานชัดเจน
    • ผู้รับผิดชอบผลงาน (Corr.) ต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้รับผิดชอบจากผู้เขียนชื่อแรก (First.) 

    • กรณีมีผู้รับผิดชอบผลงาน (Corr.) มากกว่าหนึ่ง ผู้ที่ขอรับการานับสนุนต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้รับผิดชอบผลงาน (Corr.) ทั้งหมดด้วย

  3. ผลงานที่ขอรับเงินสนับสนุนทุกประเภทต้องปรากฏในฐาน  Scopus แล้วเท่านั้น (เมื่อสืบค้นจากฐาน Scopus ต้องปรากฏชื่อบทความที่ขอรับการสนับสนุน)

  4. อัตราจ่ายเงินสนับสนุนการตีพิมพ์บทความ (page charge หรือ publication fee) หรือ ค่าพิมพ์สี (color page charge) หรือค่าตีพิมพ์ขึ้นปกหน้า (cover page charge) หรือค่าเปิดให้เข้าถึงโดยเสรี (open access) ซึ่งไม่รวมค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายพิเศษเฉพาะส่วนที่เพิ่มเติมจากค่าตีพิมพ์ (page charge) ในกรณีขอลงตีพิมพ์เร็ว (fast track) หรือกรณีด่วนมาก (super fast track) และไม่สนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดส่ง ค่าไปรษณีย์ และค่าสำเนาพิมพ์ (reprint)

  5. หลักฐานการเงินต้องระบุชื่อผู้ขอรับการสนับสนุนอย่างชัดเจน แนบหลักฐานการแจ้งหนี้และการชำระเงินเพิ่มเติม

  6. ผู้เขียนต้องยื่นขอรับการสนับสนุนภายใน 2 ปี (ปีปฏิทิน) นับแต่วันที่ผลงานตีพิมพ์

  7. ไม่สนับสนุนสำนักพิมพ์ MDPI / Hindawi / Frontiers

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • ใบ Invoice
  • ใบแจ้งหนี้บัตรเคดิต (ของผู้รับการสนับสนุน)

รายชื่อสำนักพิมพ์ระดับ 1 และ ระดับ 2

สำนักพิมพ์ระดับ 1 (Tier 1)
  • Basic Books, Inc.

  • Cambridge University Press

  • Chicago University Press

  • Columbia University Press

  • Cornell University Press

  • CQ Press

  • Duke University Press

  • Harvard University Press

  • John Wiley & Sons

  • John’s Hopkins University Press

  • Lynn Rienner

  • M.E. Sharpe

  • MIT Press Cambridge Mass

  • Oxford University Press

  • Clarendon/Oxford University Press

  • Palgrave MacMillan

    Pearson/Prentice Hall
  • Penn State University Press (State College, Pennsylvania)

  • PHAIDON

  • Princeton University Press

  • Routledge

  • Rowman and Littlefield Publishers

  • Sage Publications

  • Stanford University Press

  • State University of New York Press

  • Taylor and Francis

  • University of California Press

  • University of Chicago Press

  • University of Michigan Press

  • University of Pennsylvania Press

  • University Press of Kansas

  • WW Norton and Company

    Yale University Press
สำนักพิมพ์ระดับ 2 (Tier 2)
  • Allen & Unwin

  • Ashgate / Avebury

  • Ballinger Publishing Co.

  • Berg, Oxford

  • Blackwell

  • Brill

  • CRC Press

  • Continuum Press

  • Edward Elgar

  • Elsevier Science

  • Garland Science

  • Garrisberg MacMillan

  • Greenwood

  • Harcourt Brace Jovanovich, Inc.

  • Harper & Row Publishers, Inc.

  • Hart

  • Harwood Academic Publishers

  • Heinemann

  • James Currey

  • John Benjamins

  • Kegan Paul International

  • Kluwer

  • Longman

  • Macmillan (London)

  • McGill-Queen’s University Press

  • McGraw-Hill

  • Melbourne University Press

  • Methuen

  • New York University Press

  • Pergamon Press

  • Permanent Black

  • Peter Lang

  • Westview Press

  • Pluto Press, London

  • Polity Press

  • Praeger

  • Random House Inc, New York

  • Orient Longman

  • Springer

  • St. Martin Press

  • State University of New York Press

  • TASCHEN

  • Texas University Press

  • Transaction Publisher

  • Thames & Hudson

  • University of Manchester Press

  • University of Minnesota Press

  • Verso Books

    Zed Books

วิธีการหาค่าอันดับ

บริษัทรับตรวจบทความ

ขั้นตอนการขอรับการสนับสนุน

อาจารย์และนักวิจัย

ค้นหาบทความที่รายงานผลผลิตเรียบร้อยแล้ว ในเมนู“การขอเงินสนับสนุน”

เจ้าหน้าที่ สบจ.

ตรวจสอบ

ผู้อำนวยการ

ตรวจสอบ

รองอธิการบดี

อนุมัติ

เจ้าหน้าที่ สบจ.​

ทำบันทึกส่งเบิกการคลังฯ

เจ้าหน้าที่ สบง.​

ดำเนินการ

ขั้นตอนการโอนเงินไปบัญชีธนาคารต่างประเทศ

สำหรับเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติ กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช พ.ศ. 2564

คำถามที่พบบ่อย

บทความ

ผู้ใดสามารถขอรับเกณฑ์ได้บ้าง?
  • บุคลากรที่ถูกว่าจ้างโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นผู้ที่เขียนชื่อแรก (first Author) ผู้เขียนที่เป็นชื่อหลัก (corresponding author) หรือผู้ส่วนร่วมเท่ากัน (equal contribution) 
บทความสามารถขอรับการสนับสนุนตีพิมพ์ได้ตั้งแต่ปีใด?
  • บทความอยู่ในฐาน Scopus ที่มีค่าถ่วงน้ำหนักตามสาขาตามสาขา (Field-weighted citation impact) ตาม SciVal มากว่า 3.0 อย่างน้อย 2 ปีปฏิทินหลังการตีพิมพ์ โดยไม่นับกรณีที่อ้างอิงผลงานของตัวเอง
ผู้เขียนชื่อแรก (First.) ต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้เขียนที่เป็นชื่อหลัก (Corr.) หรือไม่?
  • ไม่ต้อง ในทางกลับกัน หากผู้เขียนที่เป็นชื่อหลัก (Corr.) เป็นผู้ขอ จะต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้เขียนชื่อแรก (First.)
  • กรณีที่มี corresponding author 2 คน เป็นอาจารย์และนักวิจัยของจุฬาฯ ต้องขอรับการยินยอมจากอาจารย์อีกท่านหนึ่งด้วย
อาจารย์ที่ได้รับการว่าจ้างจากสภากาชาดไทย /โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สามารถขอรับการสนับสนุนได้หรือไม่?
  • ไม่ได้ เพราะผู้ขอรับการสนับสนุนจะต้องเป็นบุคลากรประจำที่ว่าจ้างโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้น ต้องขึ้นทะเบียนเป็นนักวิจัยพันธมิตร
บทความที่อยู่ในฐาน Pubmed สามารถขอรับการสนับสนุนได้หรือไม่?
  • ไม่ได้ เพราะสนับสนุนเพียง 1 ฐานเท่านั้นคือ Scopus
การสืบค้นบทความว่ามีอยู่ในฐานข้อมูล Scopus หรือไม่มีวิธีการสืบค้นอย่างไร?
บทความที่จะขอรับการสนับสนุนได้มีอายุกี่ปี
  • บทความมีอายุ 2 ปีนับจากวันที่ตีพิมพ์
เกณฑ์สนับสนุนใหม่-เก่า สังเกตได้อย่างไรบ้าง
  • บทความที่ปรากฏบนฐาน Scopus *ก่อน* วันที่ 1 ตุลาคม 2567 จะรับการสนับสนุนเกณฑ์เก่า
  • บทความที่ปรากฏบนฐาน Scopus *หลัง* วันที่ 1 ตุลาคม 2567 จะรับการสนับสนุนเกณฑ์ใหม่
  • สามารถตรวจสอบได้จากข้อความ “Availble Online” ในบทความ
เกณฑ์สนับสนุนเก่ามีผลใช้ได้ถึงเมื่อไหร่?

บทความที่ปรากฎอยู่บนฐาน Scopus *ก่อน* วันที่ 1 ตุลาคม 2568 สามารถขอรับการสนับสนุนในเกณฑ์เก่าได้ถึง 30 กันยายน 2568

การเงิน

เอกสารหลักฐานในการขอค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์มีอะไรบ้าง?
  • หลักฐานการจ่ายเงินผ่านธนาคารการ / การหักค่าบริการจากบัตรเครดิต
  • ใบ Invoice
  • ใบแจ้งอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทในวันที่ชำระ (กรณีชำระเงินโดยวิธีอื่นที่ไม่ใช่การโอนเงินผ่านธนาคาร*
  • ผู้ใดเป็นผู้ขอรับการสนับสนุนตีพิมพ์ผู้นั้นต้องเป็นคนเดียวกับผู้จ่ายเงิน

*เว็บไซต์เปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนที่แนะนำ คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย (คลิก)
*ควรเทียบอัตราแลกเปลี่ยนจากสกุลเงินในใบ Invoice เป็นหลัก
*ผู้ถือครองบัตรเคดิตต่างประเทศ ต้องมีการเปรียบเทียบสกุลเงินประเทศที่ 3 แนบมาด้วยเช่น EUR >USD >THB

สามารถใช้หลักฐานการเงินเป็นข้อมูลบัตรเครดิตได้หรือไม่?
  • ได้ แต่ต้องมีหลักฐานการหักเงินของบัตรเคดิตที่เป็นของผู้ขอรับการสนับสนุนเท่านั้น
หากให้สามี/ภรรยาของผู้ที่ขอค่าสนับสนุนตีพิมพ์เป็นคนดำเนินการเรื่องค่าใช้จ่ายแทนได้หรือไม่?
  • ได้ โดยเก็บหลักฐานการหักค่าบริการจากบัตรเครดิตของสามี หรือ ภรรยา และผู้ที่ขอค่าสนับสนุนฯ เซ็นรับรองสำเนาใบทะเบียนสมรส เพื่อยืนยันความเป็นสามี/ภรรยา
หลังเอกสารดำเนินการเสร็จสิ้น จะได้รับค่าสนับสนุนเมื่อไหร่?
  • เมื่อเอกสารมีสถานะว่า “ดำเนินการเสร็จสิ้น” จะใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 2-3 สัปดาห์นับจากวันที่อนุมัติ
  • ติดต่อสอบถามการเงิน สำนักบริหารการเงิน การบัญชี และพัสดุ
    โทร 02-2180093
ใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ได้หรือไม่?
  • ได้ ระบบ myResearch ได้เชื่อมต่อกับระบบลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที จุฬาฯ) 
  • สามารถขอใช้บริการ e-Signature Service ได้ที่ https://e-signature.it.chula.ac.th
  • สถานะใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องแสดงเครื่องหมายถูกต้องใน 4 หัวข้อ ได้แด่ ลงทะเบียน กำหนด PIN ภาพลายเซ็น และ พร้อมใช้งาน
ไม่ได้รับหนังสือรับรองการหักภาษี ควรดำเนินการอย่างไร?
  • สำนักบริหารการเงิน การบัญชี และพัสดุ จะไม่ส่งหนังสือรับรองการหักภาษีเป็นรายบทความ แต่จะรวบรวมเป็น 1 ปีภาษี และส่งให้ทางอีเมลของผู้ขอรับการสนับสนุนภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป
  • ข้อมูลเมื่อ 23 สิงหาคม 2567

ระบบ myResearch

ไม่พบ Publications ของตนเองในช่องค้นหา ทำอย่างไร?
  • ระบบ myResearch จะ Update Publications เข้าในระบบทุกวันอังคาร โดยสามารถตรวจสอบได้ในวันถัดไป
  • หากบทความยังไม่ปรากฏในระบบเป็นระยะเวลา 1 เดือน ให้แจ้งชื่อบทความที่ยังไม่ปรากฏมาที่ Line@CU.Research
ช่วงเวลาใดที่ได้รับเงิน หลังเอกสารดำเนินการเสร็จสิ้น
  • เมื่อเอกสารมีสถานะว่า “ดำเนินการเสร็จสิ้น” จะใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 2-3 สัปดาห์นับจากวันที่อนุมัติ
  • ติดต่อสอบถามการเงิน สำนักบริหารการเงิน การบัญชี และพัสดุ
    โทร 02-2180093
เอกสารแนบรองรับไฟล์อะไรบ้าง?
  • เอกสาร รับรองไฟล์ .png .jpg .pdf ขนาดไฟล์ต้องไม่เกิน 5 MB
ปุ่ม "บันทึก" กับ "ส่งผู้วิจัย / สบจ." ต่างกันอย่างไร?
  • ปุ่ม “บันทึก” = ร่างเอกสาร
    นักวิจัยสามารถกลับมาแก้ไขเอกสารได้ในภายหลัง แต่ไม่มีการส่งต่อในลำดับถัดไปได้
  • ปุ่ม “ส่งผู้วิจัย / สบจ.” = ส่งเอกสาร
    นักวิจัยไม่สามารถกลับมาแก้ไขเอกสารได้ เอกสารจะถูกส่งให้ลำดับถัดไปดำเนินการ
พบปัญหาในการใช้ระบบติดต่อใคร?
  • ติดต่อได้ที่ Line@CU.Research พร้อมแคปหน้าจอที่มีปัญหา
ต้องการทราบว่าเอกสารอยู่ในขั้นตอนใด ต้องทำอย่างไร?
  • ไปที่เมนู “คำขอของฉัน” จะมีเอกสารที่รอดำเนินการแสดงอยู่ ให้สังเกตที่หัวข้อ “สถานะ” จะทำให้ทราบว่าเอกสารอยู่ในขั้นตอนกระบวนการใด

ผู้ประสานงาน

คุณอังค์วรา ประจักษ์จิตร์

โทรศัพท์ 0-2218-0240

Line @cu.research

E-mail: kaewtip.p@chula.ac.th