คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน กลุ่มสหสถาบัน ชุดที่ 2 สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์

จริยธรรมการวิจัย ชุดที่ 2

ระบบงานการพิจารณาเอกสารการวิจัยเพื่อขอรับการรับรองจริยธรรมในคน

คำถามที่พบบ่อย

ข้อควรปฏิบัติในการขอรับการพิจารณา
  • ขอความกรุณาผู้วิจัยส่งเอกสารเป็น hard copy
  • โปรดเก็บรักษาต้นฉบับไว้เป็นหลักฐาน
  • ลายเซ็นต์ที่ปรากฏในเอกสารสามารถเป็นลายเซ็นจากไฟล์ดิจิดอลได้
  • หากไม่สะดวกมาส่งเอกสารด้วยตัวเอง สามารถส่งไฟล์เอกสารไปที่ร้านถ่ายเอกสารและใช้บริการ Rider รับมาส่งเราได้ โดยให้ Rider ลงชื่อในสมุดส่งเอกสารและถ่ายรูปส่งให้ผู้วิจัยเป็นหลักฐาน
  • กรุณาส่งเอกสารเพื่อตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องทางอีเมล ก่อนส่งเอกสารมาให้ทางสำนักงานฯ
  • จริยธรรม ชุด 2 มีการให้ส่งในระบบออนไลน์ สามารถส่งเอกสารได้ที่ https://curec.research.chula.ac.th/curecweb
ขั้นตอนการรับ-ส่งเอกสาร ข้อเสนอโครงการ/วิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทและเอก
  • ผู้วิจัยส่งเอกสารในระบบออนไลน์ CU-REC (คลิก) ระบบจะตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสาร 1-2 วันทำการ (ไม่นับวัน ส-อา)
  • เมื่อส่งเอกสารในระบบ CU-REC เรียบร้อย ระบบจะแจ้งเตือนให้ส่งเอกสาร hard copy ได้ที่ คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน กลุ่มสหสถาบัน ชุดที่ 2 สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ อาคารจามจุรี 1 ชั้น 1 ห้อง 114 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 หากไม่สะดวกมาส่งด้วยตนเอง สามารถส่งมาทางไปรษณีย์ได้
  • เวลารับส่งเอกสารที่สำนักงาน 8.30-16.30 น.
    (สำนักงานไม่เปิด เสา-อาทิตย์)
  • ผู้วิจัยไม่สามารถเลือกได้ว่าโครงการของตนเองเป็นแบบใด ประธาน/รองประธาน/เลขานุการจะ อ่านและพิจารณาเลือกให้ว่าโครงการของผู้วิจัยควรพิจารณาแบบใด
  • หากผู้วิจัยเก็บข้อมูลกับกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็กอายุต่ำกว่า 18, นักโทษ, โสเภณี, ผู้พิการ, แรงงานต่างด้าว เป็นต้น จะได้รับการพิจารณาแบบ 3 (Full Board เต็มขั้นตอน) การประชุมจะมีเพียง 1 ครั้ง/เดือน รอบประชุมจะอยู่ในวัน พฤหัสบดีที่ 4 ของเดือน ขอให้ผู้วิจัยวางแผนการทำงานและเผื่อระยะเวลาที่จะประชุม Board ในแผนการดำเนินงาน
การขอรับการพิจารณาจะต้องเตรียมเอกสารใดบ้าง?
  1. AF 01-07 บันทึกข้อความนำส่งสำหรับ (นิสิตโท/เอก) หรือ AF 02-07 บันทึกข้อความนำส่งสำหรับ(อาจารย์/นักวิจัย)
  2. AF 03-07 แบบฟอร์มการขอรับการพิจารณาจริยธรรม
  3. AF 04-07 เอกสารข้อมูลสำหรับกลุ่มตัวอย่าง
  4. AF 05-07 หนังสือยินยอม
  5. ประวัติผู้วิจัยโดยคร่าว 1 หน้า (กรณีเป็นนิสิตขอให้แนบมาพร้อมใบอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์)
  6. งบปรมาณคร่าวๆ แจกแจงเป็นตาราง เช่น ค่าถ่ายเอกสาร 1xxx บาท ค่าเดินทาง 2xxx บาท เป็นต้น
  7. แผนการดำเนินงานขอให้ผู้วิจัยแจกแจงเป็นตาราง (โดยระบุหัวข้อ: ขอรับ พิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน ชุด 2 ในเดือนที่ท่านมายื่นจริง)
  8. โครงร่างวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ (สำหรับนิสิตระดับดับปริญญาโทและเอก) หรือข้อเสนอโครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์ (สำหรับผู้วิจัย/หรืออาจารย์) ซึ่งต้องประกอบไปด้วย เอกสารเพิ่มเติม ดังรายการต่อไปนี้
    1. กลุ่มตัวอย่าง/ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย เกณฑ์การคัดเลือกผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยและเกณฑ์พิจารณาให้ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยออกจากโครงการ และอื่น ๆ
      ขอให้ผู้วิจัยระบุ เกณฑ์การคัดเข้า-เกณฑ์การคัดออก ของกลุ่มตัวอย่าง เช่น เกณฑ์การคัดเข้า คือ อายุ เพศ จำนวนปีของการพำนักอาศัยในประเทศไทย เป็นต้น เกณฑ์การคัดออก คือ หากกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมการสัมภาษณ์/ตอบแบบสอบถามแล้ว แต่ไม่สามารถตอบคำถามได้ครบทุกข้อ ผู้วิจัยจะนำข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์เหล่านี้มาวิเคราะห์หรือไม่ หากไม่นำมาวิเคราะห์จะหากลุ่มตัวอย่างมาทดแทนหรือไม่โดยใช้เกณฑ์ใด หรือจะนำข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์มาวิเคราะห์ด้วย โปรดแจ้งให้ชัดเจน
    2. รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการติดต่อและวิธีการเข้าถึงผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย
      ขอให้ผู้วิจัยระบุวิธีการติดต่อเข้าถึงกลุ่มตัวอย่าง โดยเน้นถึงการไม่รุกล้ำความเป็นส่วนตัว ควรมีการติดต่อเพื่อนัดหมายล่วงหน้า
    3. วิธีการพิทักษ์สิทธิ ป้องกันความเสี่ยง และรักษาความลับของกลุ่มตัวอย่าง/ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย
      ขอให้ผู้วิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิ์ของกลุ่มตัวอย่าง เช่น ผู้เข้าร่วม (กลุ่มตัวอย่าง) มีสิทธิ์ถอนตัวออกจากการวิจัยเมื่อใดก็ได้ตามความประสงค์ โดยไม่ต้อง แจ้งเหตุผล ซึ่งการถอนตัวออกจากการวิจัยจะไม่มีผลกระทบทางลบใดๆ ต่อผู้เข้าร่วม แต่อย่างใด
  9. เครื่องมือที่ใช้ในการิวจัย เช่น แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบสังเกต หรือคำถามที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม (focus group) เป็นต้น
    *หมายเหตุ กรณีที่มีหลายเครื่องมือ ขอให้ผู้วิจัยแยกเอกสารข้อมูล/และหนังสือยินยอม ออกเป็นแต่ละฉบับที่ใช้ค่ะ ตัวอย่างเช่น
    AF 04-07 เอกสารข้อมูลสำหรับการสัมภาษณ์ / AF 05-07 หนังสือยินยอมสำหรับการสัมภาษณ์
    AF 04-07 เอกสารข้อมูลสำหรับแบบสอบถาม / AF 05-07 หนังสือยินยอมสำหรับแบบสอบถาม
    AF 04-07 เอกสารข้อมูลสำหรับการfocus group / AF 05-07 หนังสือยินยอมสำหรับการfocus group

*หมายเหตุ*

เมื่อผู้วิจัยจัดเตรียมเอกสารดังกล่าวข้างต้นแล้ว ขอให้ส่งเข้าระบบ CU-REC (คลิก) โดยจะต้องมีลายเซ็นครบถ้วน ได้แก่

  • ผู้วิจัย
  • ที่ปรึกษา
  • คณบดี

*กรณีเป็นนิสิตปริญญาโทและเอก*
(ยกเว้นกลุ่มตัวอย่าง และพยาน ยังไม่ต้องลงนาม)
หากลงนามแล้ว ระบบจะถอนทันที เพราะคิดว่าเก็บข้อมูลแล้ว เมื่อส่งเอกสารเข้าระบบเรียบร้อย ระบบจะแจ้งให้ส่งเอกสาร hard copy ทางอีเมล์อีกครั้ง

อยากยุติโครงการ/ปิดโครงการ หรือ ต่ออายุโครงการ ต้องทำอย่างไร?
  • สำหรับผู้วิจัยที่เคยขอพิจารณายื่นในปี 2562-2564 ขอให้ส่งเรื่องมาที่อีเมล์ curec2.ch1@chula.ac.th
  • สำหรับผู้วิจัยในปี 2565 สามารถขอต่ออายุ หรือปิดโครงการในระบบออนไลน์ CU-REC https://curec.research.chula.ac.th/curecweb

เกี่ยวกับเรา

วัตถุประสงค์

เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลในการคุ้มครองผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน กลุ่มสหสถาบัน ชุดที่ 2 ตามระเบียบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่าด้วยเรื่องการส่งเสริมจริยธรรมการวิจัยในคน เพื่อพิทักษ์สิทธิและสวัสดิภาพของกลุ่มตัวอย่างหรือผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย เพื่อให้การดำเนินการวิจัยเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมการวิจัยในคนที่ยอมรับในระดับชาติและระดับสากล คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนกลุ่มสหสถาบัน ชุดที่ 2 มีหน้าที่พิจารณาทบทวนโครงการวิจัยในสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือดูแลไม่ให้อาจารย์ นักวิจัย และนิสิตบัณฑิตศึกษาที่ทำวิจัยเป็นวิทยานิพนธ์ มีปัญหาในการขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก การตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ตลอดจนการขอตำแหน่งทางวิชาการ

ขอบเขต

คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน กลุ่มสหสถาบัน ชุดที่ 2 มีขอบเขตความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้

  1. พิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์/โครงร่างวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ ทบทวนกระบวนการวิจัยโดยเน้นเรื่องขั้นตอนและวิธีการเก็บข้อมูลกับคนเป็นสำคัญ และด้านจริยธรรมการวิจัยในคน รวมทั้งความพร้อมของผู้วิจัย ในการดำเนินการโครงการวิจัยที่เสนอให้คณะกรรมการพิจารณา
  2. ทบทวนรายงานความก้าวหน้าการวิจัยในช่วงเวลาที่เหมาะสม รวมทั้งความเสี่ยงต่อกลุ่มตัวอย่าง/ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย ทั้งนี้ ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้งต่อปี นอกจากนี้คณะกรรมการมีสิทธิเข้าไปสังเกตกระบวนการให้ความยินยอมของกลุ่มตัวอย่าง/ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและสวัสดิภาพของกลุ่มตัวอย่าง/ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย
  3. ขอให้ผู้วิจัยหยุดการดำเนินการโครงการวิจัยชั่วคราว (suspension) หรือเพิกถอนการรับรอง (withdrawal) หรือให้ยุติโครงการวิจัยก่อนกำหนด (termination) ในกรณีที่โครงการวิจัยอาจทำให้กลุ่มตัวอย่าง/ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยมีความเสี่ยงมากกว่าที่คาดคิดไว้ หรือการไม่ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมการวิจัยในคน หรือปฏิบัติตามหลักจริยธรรมการวิจัยในคนอย่างไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ ในการตัดสินดังกล่าวต้องเป็นมติของที่ประชุมคณะกรรมการที่มีองค์ประชุมครบ และมีการบันทึกผลการพิจารณาทบทวนเป็นหลักฐาน
  4. จำกัดหรือระงับการดำเนินโครงการวิจัยบางส่วน ในกรณีที่ผู้วิจัยไม่ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมการวิจัยในคนตามข้อกำหนดของคณะกรรมการซึ่งเป็นเงื่อนไขของการรับรองโครงการวิจัย ต่อเมื่อผู้วิจัยได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์เรียบร้อยแล้ว จึงจะอนุมัติให้ดำเนินการวิจัยต่อไปได้
ประเภทของการพิจารณาทบทวนโครงการวิจัย

การพิจารณาทบทวนข้อเสนอโครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์/โครงร่างวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การพิจารณาทบทวนแบบกรณียกเว้น (Exemption Review) การพิจารณาทบทวนแบบลดขั้นตอนหรือแบบเบ็ดเสร็จ (Expedited Review) และการพิจารณาทบทวนแบบเต็มขั้นตอนหรือแบบคณะกรรมการครบองค์ประชุม (Full Board Review) ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ประเภทที่ 1 การพิจารณาทบทวนแบบกรณียกเว้น (Exemption Review)
ประเภทที่ 2 การพิจารณาทบทวนแบบลดขั้นตอน (Expedited Review)
ประเภทที่ 3 การพิจารณาทบทวนแบบเต็มขั้นตอน (Full Board Review)

หลักจริยธรรมการวิจัยในคน

คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน กลุ่มสหสถาบัน ชุดที่ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยึดถือกรอบและหลักการสากลเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในคน ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้จากเอกสารข้างล่างนี้ อย่างไรก็ตาม ได้ปรับแนวคิดและมุมมองต่างๆ ให้เข้ากับสถานการณ์และวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ เท่าที่จะทำได้ เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับธรรมชาติของการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ศิลปะ และภาษา ซึ่งมนุษย์แต่ละเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ได้สร้างขึ้น รวมทั้งความพยายามในการธำรงรักษาและพัฒนา

คณะกรรมการพิจารณาฯ
  • รองศาสตราจารย์ ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ ประธานกรรมการ
  • รองศาสตราจารย์ ดร. สุมาลี ชิโนกุล รองประธานคณะกรรมการ
  • ดร.ศยามล เจริญรัตน์ เลขานุการ

CHULA MOOC จริยธรรมการวิจัยในคน

เนื้อหา 8 บทเรียน
เกณฑ์การเรียนจบ ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
แพลตฟอร์ม myCourseVille

ระบบงานการพิจารณาเอกสารการวิจัยเพื่อขอรับการรับรองจริยธรรมในคน

สามารถดูคู่มือการใช้การใช้งานระบบ CU-REC และดาวน์โหลดแบบฟอร์มเอกสารสำหรับผู้วิจัยได้ที่นี่

เอกสารดาวน์โหลด

*ดาวน์โหลดเอกสารคลิกที่หัวข้อ

คำอธิบายในการจัดเตรียมเอกสารสำหรับผู้วิจัย
  1. รายการเอกสารในการดำเนินการที่ผู้วิจัยต้องจัดเตรียม
  2. แนวทางในการจัดทำหนังสือยินยอมและเอกสารข้อมูล

คำแนะนำเบื้องต้น

(1) โปรดส่งเอกสารแต่ละรายการจำนวน 1 หรือ 3 ชุด
(ระบบ CU-REC จะแจ้งเตือนให้ท่านส่งเอกสาร หลังจากที่ท่านส่งเอกสารเข้าระบบครบถ้วน ระบบจะกำหนดชุดของเอกสารที่ท่าต้องส่งว่าจำนวนกี่ชุด โปรดรอการแจ้งเตือนจากระบบ)
(2) โปรดลงนามให้ครบถ้วน
(3) โปรดไฮไลท์ข้อความที่มีการแก้ไข สำหรับเอกสารนำส่งเพื่อพิจารณาแก้ไข
(4) หากผู้วิจัยได้รับการพิจารณาเบื้องต้นเป็นการพิจารณาแบบเต็มขั้นตอน เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้นำสำเนาเอกสารมาส่งเพิ่มอีก 1 ชุด
(5) โปรด พิมพ์หน้าหลัง เพื่อลดความหนาของเอกสาร
(6) โปรดเข้าเล่มเอกสารด้วยการเย็บมุม หากเอกสารมีความหนามากให้หนีบด้วยคลิปดำสำหรับหนีบกระดาษ (ไม่ต้องเข้าเล่มกาว/กระดูกงู/สันห่วง) เพื่อความสะดวกในการเก็บเอกสารเข้าแฟ้ม

ชุดที่ 1 รายการเอกสารสำหรับยื่นเสนอพิจารณาครั้งแรก 
  1. AF 01-07 (TH) บันทึกข้อความสำหรับโครงร่างวิทยานิพนธ์ (สำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา)
  2. AF 02-07 (TH) บันทึกข้อความสำหรับข้อเสนอโครงการวิจัย (สำหรับอาจารย์/นักวิจัย)
  3. AF 03-07 (TH) แบบฟอร์มขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน
  4. AF 04-07 (TH) เอกสารข้อมูลสำหรับกลุ่มตัวอย่าง/ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย
  5. AF 05-07 (TH) หนังสือยินยอมเข้าร่วมในการวิจัย
  6. AF 06-07 (TH) หนังสือยินยอมสำหรับผู้ปกครอง (ถ้ามี)
  7. AF 07-07 (TH) บันทึกข้อความขอยกเว้นหนังสือยินยอม/การขอความยินยอม (ถ้ามี)
  8. โครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์/โครงร่างวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์
  9. แผนการดำเนินการ (ที่มีการระบุขั้นตอนการขอจริยธรรมฯ 1-2 เดือน) และงบประมาณ
  10. เอกสารอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์ (สำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา)
  11. ประวัติผู้วิจัย (CV)
ชุดที่ 2 รายการเอกสารสำหรับนำส่งแก้ไข/ชี้แจงภายหลังการพิจารณาฯ ครั้งแรก
  1. บันทึกข้อความสำหรับนำส่งแก้ไข
  2. AF 01-12 (TH) แบบตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารการแก้ไข
  3. AF 02-12 (TH) ตารางแสดงรายละเอียดการแก้ไขตามข้อเสนอของคณะกรรมการ
  4. แบบฟอร์มตรวจสอบรายละเอียดโครงการหลังการเเก้ไข
  5. สำเนาบันทึกข้อความแจ้งผลการพิจารณาที่ได้รับจากสำนักงานคณะกรรมการ
  6. เอกสารที่แก้ไขตามบันทึกข้อความแจ้งผลการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการ
ชุดที่ 3 รายการเอกสารสำหรับนำส่งขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการวิจัยหลังได้รับอนุมัติ
ชุดที่ 4 รายการเอกสารสำหรับยื่นเสนอพิจารณาเพิ่มเติมระยะต่อไป
ชุดที่ 5 รายการเอกสารสำหรับขอขยายเวลารับรองจริยธรรมการวิจัย (ต่ออายุใบรับรอง)
  1. บันทึกข้อความสำหรับขอต่ออายุใบรับรอง
  2. AF 01-15 (TH) แบบรายงานความก้าวหน้าการวิจัย
  3. สำเนาใบรับรองโครงการวิจัยและสำเนาเอกสารประทับตรา
ชุดที่ 6 รายการเอกสารสำหรับรายงานสิ้นสุดโครงการวิจัย
  1. บันทึกข้อความสำหรับรายงานการสิ้นสุดโครงการวิจัย
  2. AF 03-13 (TH) แบบรายงานสิ้นสุดโครงการวิจัย
  3. สำเนาใบรับรองโครงการวิจัยและสำเนาเอกสารประทับตรา
  4. สำเนาบทคัดย่อ (Abstract) (ที่มีการลงนามครบถ้วนสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา)

ติดต่อ

อัมพวรรณ สิริรักษ์
เจ้าหน้าที่
Umpawan.S@chula.ac.th
โทร: 02-2183210

ทัตพิชา วิเศษศรี
เจ้าหน้าที่
thatpicha.w@chula.ac.th
โทร: 02-2183211

อาคารจามจุรี 1 ชั้น 1 ห้อง 114 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

โทรศัพท์ 0-2218-3210 และ 0-2218-3211

อีเมล curec2.ch1@chula.ac.th