หน่วยปฏิบัติการวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงสำหรับสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด

หน่วยปฏิบัติการวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงสำหรับสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด

  • สร้างความร่วมมือทางด้านงานวิจัยข้ามศาสตร์ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุทางด้านตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงเพื่อใช้งานทางด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน พร้อมรองรับสังคมคาร์บอนต่ำในอนาคต
  • สร้างความร่วมมือและเครือข่ายที่เข้มแข็งในการพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุทางด้านตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงพร้อมขับเคลื่อนให้เป็นศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง
  • พัฒนาบัณฑิตและนักวิจัยเพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับพลังงานและสิ่งแวดล้อมสะอาด
  • สร้างผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติ สิ่งประดิษฐ์ สิทธิบัตร รวมถึงการหาทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอกเพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพการวิจัยทางด้านวัสดุตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง

Research & Innovation Focus ​

NetZero + BCG
Sustainable Society + BCG
NetZero + Disaster & Environment

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อผลิตงานวิจัยคุณภาพสูงด้านวัสดุตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงสำหรับการใช้งานทางพลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่ตอบสนองการเติบโตและการพัฒนาของสังคมคาร์บอนต่ำและสังคมที่ยั่งยืน
  2. เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมืองานวิจัยทั้งระดับประเทศและนานาชาติระหว่างนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านวัสดุตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง และสามารถพัฒนาต่อยอดให้เกิดเป็นงานวิจัยที่มีผลกระทบสูงได้
  3. เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ และถ่ายทอดความรู้ เกี่ยวกับวัสดุตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงที่มีความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาดในอนาคต

เป้าหมายใน 3 ปี

  1. นักวิจัยในกลุ่มวิจัยสามารถร่วมกันผลิตผลงานวิจัยคุณภาพสูงทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำระดับนานาชาติ
  2. ยกระดับความร่วมมือระหว่างนักวิจัยในกลุ่มวิจัย และขยายความร่วมมือไปยังนักวิจัยจากหน่วยงานภายนอก ทั้งในและต่างประเทศ เช่น การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอทุนวิจัยร่วมกัน การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ การสัมมนาเชิงวิชาการ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี พร้อมพัฒนาเป็นศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางต่อไป
  3. สร้างผลกระทบทางวิชาการและทางงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวัสดุตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงสำหรับการใช้งานทางพลังงานและสิ่งแวดล้อม ต่อสังคมและภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

ผลงานวิจัยเด่น

  1. การบำบัดมลพิษสิ่งแวดล้อมด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง
  2. การเปลี่ยนรูปแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นพลังงานเชื้อเพลิงและสารที่มีมูลค่าด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง
  3. การผลิตแก๊สไฮโดรเจนสีเขียวจากกระบวนการแยกน้ำด้วยปฏิกิริยาโฟโตคะตะไลซิส

เครือข่ายและความร่วมมือ

  • ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ 
  • ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ
  • สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน
  • มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • Meiji University
  • Kansai University
  • Tokyo Institute of Technology
  • Nagoya University

  • University of Vienna, Austria
  • Chung-ang University, Korea
  • Department of Chemistry, Massachusetts Institute of Technology (MIT)
  • Jiangwan Campus of Fudan University, China

ข้อมูลติดต่อกลุ่มวิจัย

รองศาสตราจารย์ ดร.

พรนภา สุจริตวรกุล

หัวหน้ากลุ่มวิจัย

คณะวิทยาศาสตร์

(Faculty of Science)
สังกัดของกลุ่มวิจัย

ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

Tel. (+66) 2218 5590

E-mail: pornapa.s@chula.ac.th