หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรมระบบราง

หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรมระบบราง

หน่วยวิจัย ARIISE ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางสำหรับงานวิจัยด้านแบบบูรณาการณ์ระบบราง โดยรวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากสาขาที่หลากหลาย เช่น วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมวัสดุ สถาปัตยกรรม ฯลฯ โดยมีความพยายามในการผลิตงานวิจัยคุณภาพสูงและนวัตกรรมด้านระบบรางเพื่อเป็นส่วนช่วยในการขับเคลื่อนประเทศ พัฒนาระบบขนส่งทางรางให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของสังคม สามารถเป็นแหล่งอ้างอิงหลักเชิงวิชาการด้านระบบรางของประเทศไทยและนานาชาติ อันนำไปสู่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างยั่งยืน

  • ดำเนินงานวิจัยและสร้างนวัตกรรมด้านระบบรางเพื่อนำไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพและส่งเสริมด้านความยั่งยืนของระบบรางในประเทศและนานาชาติ
  • สร้างความร่วมมือและเครือข่ายกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม หน่วยงานของรัฐ สถาบันวิจัย และสถาบันการศึกษาเพื่อเสริมสร้างผลกระทบทางวิจัย ความสำคัญ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
  • สนับสนุนการพัฒนาด้านกำลังคน ทักษะและการเผยแพร่ผลงานวิจัยเพื่อเพิ่มขีดความรู้สู่ภาคอุตสาหกรรม
  • ผลิตงานวิจัยที่จะสามารถผลักดันไปสู่การพัฒนาเชิงนโยบายระดับชาติในกลุ่มอุตสาหกรรมระบบราง

Research & Innovation Focus ​

NetZero + Industry 4.0
NetZero + BCG
NetZero + Disaster & Environment

วัตถุประสงค์

  • การพัฒนางานวิจัยข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับระบบรางเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน หน่วยวิจัยจะสร้างงานวิจัยข้ามศาสตร์เพื่อพัฒนานวัตกรรมสำหรับโครงสร้างพื้นฐานระบบรางราง โดยการพัฒนาประกอบด้วยการพัฒนาวัสดุชนิดใหม่ วิธีการออกแบบและเทคโนโลยีการก่อสร้าง ที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียน การวิจัยของหน่วยไม่เพียงแต่มุ่งสร้างระบบที่ตอบโจทย์ด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยเท่านั้น แต่มีความยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หน่วยวิจัยตอบโจทย์ตรงต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) 9, 11 และ 13 โดยมุ่งนวัตกรรมในโครงสร้างพื้นฐานพร้อมทั้งพิจารณาถึงผลกระทบที่กว้างขึ้นของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและการใช้พลังงาน โดยทางหน่วยมีแผนที่จะเพิ่มจำนวนคณาจารย์ภายในหน่วยจากหลากหลายศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้นเพื่อความหลากหลายงานวิจัยและการบูรณาการสร้างองค์ความรู้ใหม่
  1. เพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านระบบราง หน่วยวิจัยจะเป็นผู้นำในการผสานเทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูงเข้ากับโครงสร้างพื้นฐานและการดำเนินกิจการขนส่งทางราง ผ่านการวิจัยขั้นสูงในเพื่อเพิ่มความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ และประสิทธิภาพของการระบบขนส่งทางราง ซึ่งรวมถึงการพัฒนาระบบการวิเคราะห์ตรวจวัด ประเมิน การตรวจสอบ และระบบควบคุมที่ซับซ้อนซึ่งสามารถระบุและจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้าและสามารถวางแผนการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานแบบทำนายได้ โดยหน่วยจะมีส่วนช่วยในการสนับสนุน SDG 3 ผ่านงานวิจัยด้านความปลอดภัย และสนับสนุน SDG 9 ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อถือได้และมีความยืดหยุ่น
  2. ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และการสร้างศักยภาพในวิศวกรรมระบบราง หน่วยวิจัยมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการวิจัยและการเผยแพร่ความรู้ไปพร้อมๆกันผ่าน Platform ต่างๆของหน่วยและมหาวิทยาลัย ในฐานะศูนย์กลางสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านวิศวกรรมระบบราง รวมถึงการเข้าถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคอุตสาหกรรม ผู้กำหนดนโยบาย และนักวิชาการ โดยทางหน่วยจะมีการจัดการประชุม สัมมนา และเวิร์คช็อปเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับหน่วยงานภายในและภายนอก โดยทิศทางการพัฒนาของหน่วยวิจัยในอนาคตยังสนับสนุน SDG 4 (การศึกษาคุณภาพ) โดยส่งเสริมชุมชนการปฏิบัติงานที่มีความรู้ในวิศวกรรมรถไฟ และสอดคล้องกับ SDG 17 (ความร่วมมือเพื่อเป้าหมาย) ผ่านการทำงานร่วมกันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผลงานวิจัยเด่น

  • เศรษฐกิจหมุนเวียนและการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับระบบขนส่งทางราง
  • ความยืดหยุ่นของโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งรางภายใต้สภาพอากาศสุดขั้ว
  • การบริหารจัดการเดินรถไฟ

เป้าหมายใน 3 ปี

  1. หน่วยวิจัยจะมุ่งผลิตงานวิจัยที่ตอบโจทย์เป้าหมายด้านการขนส่งและการพัฒนาของประเทศไทย รวมถึงมีความสอดคล้องกับมาตรฐานและแนวปฏิบัติระดับสากล การเป้าหมายนี้แสดงถึงความมุ่งมั่นของหน่วยในการตอบสนองทั้งความต้องการในระดับชาติและระดับสากล
  2. หน่วยวิจัยจะเพิ่มความเป็นที่รู้จักในระดับสากล ผ่านสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันต่างๆทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับทุนวิจัยจากองค์กรและผู้ให้ทุนในระดับสากล โดยมีเป้าหมายเพื่อการทำโครงการวิจัยกับสถาบันชั้นนำต่างๆ เพื่อเพิ่มความเป็นที่รู้จักและความน่าเชื่อถือในเวทีระดับสากลได้
  3. หน่วยมีเป้าหมายที่จะยกระดับเป็น Centre of Excellence ภายใน 3 ปี ประกอบไปด้วยการตีพิมพ์บทความวิชาการในระดับนานาชาติ การผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบรางทั้งในระดับบัณฑิตศึกษา และการแสวงหาแหล่งทุนวิจัยจากทั้งภายในและต่างประเทศ

เครือข่ายและความร่วมมือ

  • บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน
  • มหาวิทยาลัยอาเค่น
  • ศูนย์กลางเครือข่ายวิจัยระบบขนส่งทางราง
  • สมาคมวิศวกรรมระบบรางไทย-เยอรมัน
  • มหาวิทยาลัยปักกิ่งเจียวทง
  • บริษัท เคียวว่า เด็นเกียว (ไทยแลนด์) จำกัด
  • บริษัท นัมเบอร์วัน โฮลดิ้ง จำกัด
  • University of Birmingham
  • KTH Royal Institute of Technology
  • บริษัท อัลสตอม (ประเทศไทย) จำกัด
  • Toshiba Infrastructure Systems & Solutions Corporation
  • บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด
  • บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  • การรถไฟแห่งประเทศไทย
  • บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด

ข้อมูลติดต่อกลุ่มวิจัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

ชยุตม์ งามโขนง

หัวหน้ากลุ่มวิจัย

คณะวิศวกรรมศาสตร์

(Faculty of Engineering)​
สังกัดของกลุ่มวิจัย

ห้อง 314 ชั้น 3 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330