หน่วยปฏิบัติการวิจัยการประยุกต์ใช้ไซโคลเดกซ์ทรินและระบบนำส่งฐานนาโนเทคโนโลยี
มีนาคม 1, 2025 2025-03-01 18:53หน่วยปฏิบัติการวิจัยการประยุกต์ใช้ไซโคลเดกซ์ทรินและระบบนำส่งฐานนาโนเทคโนโลยี
หน่วยปฏิบัติการวิจัยการประยุกต์ใช้ไซโคลเดกซ์ทรินและระบบนำส่งฐานนาโนเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานที่เชี่ยวชาญในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไซโคลเดกซ์ทรินและระบบนำส่งนาโนเทคโนโลยีต่างๆ ในการวิจัยและพัฒนาสูตรตำรับที่มีปัญหาต่างๆ ตลอดจนเป็นการวิจัยและพัฒนารูปแบบใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ยา ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร และเวชสำอาง เป็นทางเลือกการบริหารยาที่ไม่รุกราน (invasive) เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย ความเชี่ยวชาญที่พัฒนาขึ้นจากหน่วยปฏิบัติการนี้มีผลกระทบต่อหลากหลายภาคส่วนของอุตสาหกรรม ตั้งแต่การการออกแบบวิจัยและพัฒนาการประยุกต์ใช้ไซโคลเดกซ์ทรินชนิดใหม่ การใช้รูปแบบนำส่งตัวพาอนุภาคใหม่ การประเมินและการควบคุมกระบวนการการผลิตรูปแบบนำส่งในระดับนาโน รวมทั้งทางหน่วยฯ มีการสนับสนุนและส่งเสริมให้เทคโนโลยีนาโนเกิดความเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น และเสริมสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมและสังคมในปัจจุบันและอนาคต

Research & Innovation Focus

Health and Well-Being + Health

Health and Well-Being + Food & Agriculture

Food & Agriculture + Health
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ 1: การผสานรวมของแพลตฟอร์มฐานไซโคลเดกซ์ทรินและนาโนเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาการผลิตยาสมุนไพรและเครื่องสำอางที่ยั่งยืน (SDG 3, 12):
- พัฒนาระบบนาโนพาร์ทิเคิลสำหรับการนำส่งยาสมุนไพร ยา และเครื่องสำอางเพื่อเพิ่มชีวประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการรักษา
- ประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของวัสดุนาโนที่ใช้ในตำรับ เพื่อให้สอดคล้องกับ SDG 12 (สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน)
- ดำเนินการทดลองทางพรีคลินิกเพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยและของยาสมุนไพร ยา และเครื่องสำอางที่ใช้เทคโนโลยีนาโน สอดคล้องกับ SDG 3 (สุขภาพดีและความเป็นอยู่ที่ดี)
- ร่วมมือกับผู้ประกอบการเพื่อกำหนดโปรโตคอลและข้อตกลงสำหรับการผลิตและการใช้เทคโนโลยีนาโนในยาสมุนไพร ยา และเครื่องสำอางอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ 2: การทำให้ชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทในการผลิตยาสมุนไพร ยา และเครื่องสำอาง (SDG 8, 12):
- พัฒนาสูตรเครื่องสำอางที่ใช้เทคโนโลยีนาโนโดยใช้ส่วนประกอบจากสมุนไพรท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8)
- ใช้กระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับเครื่องสำอางนาโนเพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (SDG 12)
วัตถุประสงค์ 3: ความเข้าถึงและความสามารถในการจ่ายได้ของยาสมุนไพร ยา และเครื่องสำอางที่ใช้เทคโนโลยีนาโน (SDG 1, 3):
- พัฒนากลยุทธ์เทคโนโลยีนาโนที่มีต้นทุนต่ำเพื่อเพิ่มความเข้าถึงและความเป็นไปได้ในการใช้จ่ายของยาสมุนไพร ยา และเครื่องสำอาง
- สร้างพันธมิตรกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพเพื่อนำยาสมุนไพร เครื่องสำอางที่มีการใช้เทคโนโลยีนาโนในการดูแลสุขภาพ รองรับ SDG 3 (สุขภาพดีและความเป็นอยู่ที่ดี)
วัตถุประสงค์เหล่านี้สอดคล้องกับเป้าหมายของงานวิจัยโดยเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีนาโนที่ใช้ไซโคลเดกซ์ทรินและมีส่วนสำคัญในการสนับสนุน SDGs เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การรับผิดชอบทางสิ่งแวดล้อม นวัตกรรม การผลิต การลดความยากจน และการลดความเหลื่อมล้ำ
เป้าหมายใน 3 ปี
- สร้างองค์ความรู้และผลิตผลงานวิจัยด้านการประยุกต์ใช้ไซโคลเดกซ์ทรินและระบบนำส่งฐานนาโนเทคโนโลยี เช่น นาโนอิมัลชัน ตัวพาไขมันระดับนาโน ลิโพโซม นีโอโซม อนุภาคซิลิกา เป็นต้น ในการนำส่งยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เวชสำอาง โดยผลงานวิจัยที่ผลิตได้สามารถตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีอยู่ในฐานข้อมูล Scopus อย่างน้อย 4 บทความต่อปี
- มีความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาการประยุกต์ใช้ไซโคลเดกซ์ทรินและระบบนำส่งฐานนาโนเทคโนโลยี กับหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทเอกชนอย่างน้อย 1 หน่วยงาน เพื่อนำองค์ความรู้จากการวิจัยไปพัฒนาต่อยอดธุรกิจสตาร์ทอัพ หรือให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ภายในระยะเวลา 5 ปี
- มีความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานวิจัยในต่างประเทศเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี นักวิจัยในหน่วยเข้ารับการปฏิบัติงานวิจัยระยะสั้น หรือมีการแลกเปลี่ยนนิสิตไปฝึกอบรมด้านการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหน่วยฯ อย่างน้อยปีละ 1 คน ในระยะเวลา 3 ปี
ผลงานวิจัยเด่น
- อนุภาคไขมันแข็งและตัวพาไขมันระดับนาโนบรรจุแอมโฟเทอริซิน บี: ผลต่อการบรรจุยาและการวิเคราะห์ทางชีวเภสัชศาสตร์
- การพัฒนาอินสิทูเจลบรรจุสารประกอบเชิงซ้อนเอเซียติโคไซด์/ไซโคลเดกซ์ทริน. การประเมินในเซลล์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อลิกาเมนต์ในช่องปากมนุษย์
- การพัฒนายาหยอดตารูปแบบสารละลายและแขวนตะกอนระดับไมโครเซลิคอปซิบ: การเปรียบเทียบผลของสารประกอบเชิงซ้อนทุติภูมิและตติยภูมิ
เครือข่ายและความร่วมมือ
- Faculty of Pharmaceutical Sciences, University of Iceland
- Faculty of Medicine, University of Iceland
- Faculty of Medicine, NTNU, Trondheim, Norway
- Division of Nuclear Medicine, Department of Radiology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University
- Chula-Cornell Global Strategic Collaboration, Department of Microbiology, College of Veterinary Medicine, Cornell University, New York, USA
- Department of Microbiology and Immunology, Jacobs School of Medicine and Biomedical Sciences, University at Buffalo, New York, USA
- BIOTEC, NSTDA, Thailand