ทุนสนับสนุนเพื่อรับนักวิจัยเกียรติคุณ และศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์

ทุนสนับสนุนเพื่อรับนักวิจัยเกียรติคุณ และศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์

วัตถุประสงค์

เพื่อเชิญอาจารย์พิเศษที่มีคุณวุฒิและความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ช่วงเวลา

  • ระยะเวลาในการรับสมัคร: ตลอดปี

ระยะเวลาของสัญญา

  • มีระยะเวลาสัญญาถึงวันที่ 30 กันยายน 2568
    (ไม่จำเป็นต้องมาทำงานที่จุฬาฯ)

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  • ไม่เป็นอาจารย์ นักวิจัยประจำ หรืออาจารย์พิเศษตำแหน่งอื่นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ไม่จำกัดสัญชาติ สามารถเป็นทั้งชาวไทยหรือชาวต่างชาติ
  • มีเอกสารรับรองการได้รับความเห็นชอบจากคณบดี/ ผู้อำนวยการส่วนงาน
  • ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง ถึงวันที่ 30 กันยายน 2568

ระบบออนไลน์

ระบบบริหารจัดการข้อมูลวิจัย Grant Gateway เป็นระบบสนับสนุนทุนวิจัย ทุนวิชาการ และทุนการศึกษา สำหรับอาจารย์และนักวิจัย นิสิต Ph.D./ Postdoc รวมทั้ง เป็นช่องทางขอรับการสนับสนุนทุนวิจัยและการสนับสนุนต่างๆ ด้านการวิจัย ที่ช่วยลดความซ้ำซ้อนของการจัดเก็บข้อมูลเพิ่มความถูกต้องแม่นยำ โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ ในมหาวิทยาลัย อีกทั้งเพื่อปรับกระบวนการทำงานให้ทันสมัย ลดขั้นตอนโดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการข้อมูล

นักวิจัยเกียรติคุณ (Invited Researcher)

  • มีผลงานตีพิมพ์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา อย่างน้อย 2 ฉบับ (ในบทบาท 1ˢᵗ หรือ Corresponding หรือ Co-Author ละไม่นับบทความที่มาจากวิทยานิพนธ์)
  • มีผลงานตีพิมพ์ร่วมกับอาจารย์ประจำ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่างน้อย 1 ฉบับ หรือเป็นหัวหน้าโครงการ, ผู้ร่วมโครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่ อย่างน้อย 1 โครงการ
  • มีเอกสารรับรองจากต้นสังกัดของ Invited Researcher ระบุ:
    • อนุญาตให้รับตำแหน่ง Invited Researcher ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • อนุญาตให้ Invited Researcher ใช้ Affiliation ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคู่กับต้นสังกัดได้

ผลผลิต

  • บทความทางวิชาการ จำนวน 1 บทความ (1ˢᵗ /Corr. Author)
  • ระบุ Affiliation: “Chulalongkorn University”
  • ไม่ซ้ำกับผลงานที่มี co-author ท่านอื่นที่มี Affiliation “Chulalongkorn University” อยู่แล้ว

การสนับสนุน

  • สามารถขอรับค่าตอบแทน หลังจากส่งผลผลิต

ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ (Honorary Professor)

  • สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : h-index มากกว่า 30 สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ : h-index มากกว่า 15
  • มีคุณสมบัติ และผลงานวิจัยที่โดดเด่นในระดับนานาชาติ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำทางวิชาการ เช่น
    • ประธาน / กรรมการบริหาร / สมาคมวิชาชีพ / นายกสมาคมวิชาชีพ

ผลผลิต

  • ถ้ามีการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการให้ระบุ Affiliation: “Chulalongkorn University” (ร่วมกับต้นสังกัดได้)

การสนับสนุน

  • สนับสนุนค่าที่พัก (CU i-House)

  • ค่าเดินทางไป-กลับ 1 รอบ ในกรณีที่เดินทางมาประเทศไทย

คำถามที่พบบ่อย

Invited Researcher/Honorary Professor สามารถเป็นหัวหน้าโครงการและขอทุนภายนอกโดยใช้ชื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้หรือไม่?
  • ไม่ได้ เนื่องจาก Invited Researcher/Honorary Professor ไม่มีสถานะเป็นอาจารย์ประจำของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงไม่สามารถใช้ชื่อมหาวิทยาลัยในการขอทุนภายนอกในฐานะหัวหน้าโครงการได้
  • อย่างไรก็ตาม อาจารย์พิเศษที่สามารถขอทุนภายนอกโดยใช้ชื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นั้น จะต้องอยู่ในสถานะ นักวิจัยพันธมิตร (Affiliated Researcher) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามระเบียบที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยเท่านั้น
Invited Researcher / Honorary Professor จำเป็นต้องเดินทางมาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือไม่?
  • ไม่จำเป็น
สามารถเป็น Invited Researcher / Honorary Professor ของจุฬาลงกรณ์หมาวิทยาลัยได้อย่างไร?
  • ผู้ถูกเชิญต้องมีหนังสือรับรองจากต้นสังกัดที่ระบุ:

    • อนุญาตให้รับตำแหน่ง Invited Researcher / Honorary Professor ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามระยะเวลาสัญญา

    • อนุญาตให้ใช้ Affiliation ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคู่กับต้นสังกัดได้

กรณีที่ Invited Researcher / Honorary Professor ไม่มีต้นสังกัด เนื่องจากเป็นผู้เกษียณอายุ ต้องยื่นเอกสารยินยอม/รับรองอย่างไร?
  • ถ้าไม่มีสังกัด ไม่ต้องแนบเอกสารหนังสือรับรองจากต้นสังกัด และสามารถใส่ Affiliation จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในบทความหลังจากได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ
Honorary Professor ได้รับการสนับสนุนแตกต่างจาก Invited Researcher อย่างไรบ้าง?
  • Honorary Professor จะได้รับการสนับสนุน ค่าที่พัก (CU I-House) และค่าเดินทางไป-กลับ 1 รอบ ในวงเงินไม่เกิน 150,000 บาท 
  • Invited Researcher ได้รับค่าสนับสนุนจากผลผลิตเท่านั้น
ถ้า Honorary Professor มีคุณสมบัติไม่ครบตามเงื่อนไขที่กำหนด สามารถสมัครได้หรือไม่?
  • สามารถส่งรายชื่อเข้ามาเพื่อพิจารณาได้ ถ้ามีคุณสมบัติและผลงานวิจัยที่โดดเด่นในระดับนานาชาติ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำทางวิชาการ เช่น ประธาน/กรรมการบริหาร/สมาคมวิชาชีพ/นายกสมาคมวิชาชีพ
ทำไมผลผลิตของ Invited Researcher ถึงห้ามซ้ำกับผลงานที่มี co-author ท่านอื่นที่มี Affiliation จุฬาฯ อยู่แล้ว?

มีเหตุผลหลักดังนี้:

  • การนับจำนวน Faculty Member
    • เมื่อเชิญอาจารย์พิเศษเข้ามา 1 ท่าน ระบบจะนับเพิ่มเป็น Faculty Member ของคณะ
    • หากไม่มีข้อกำหนดนี้ อาจเกิดกรณีที่มี Faculty Member เพิ่มขึ้น แต่จำนวนบทความของคณะไม่ได้เพิ่มจริง
  • ลดตัวหารในการคำนวณจำนวนบทความ
    • ในการพิจารณาผลงานของคณะ จำนวนบทความที่ผลิตได้จะถูกนำไปหารกับจำนวน Faculty Member
    • หากผลงานของ Invited Researcher ซ้ำกับผลงานที่มีอาจารย์จุฬาฯ เป็น co-author อยู่แล้ว จะทำให้ตัวหารเพิ่มขึ้น โดยที่จำนวนบทความไม่ได้เพิ่มขึ้น
  • เพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลงานวิชาการ
    • เพื่อให้เกิด บทความใหม่จริง จากความร่วมมือกับ Invited Researcher
    • ส่งเสริมให้เกิดผลงานที่ช่วยพัฒนาคุณภาพของคณะและมหาวิทยาลัยอย่างแท้จริง

ดังนั้น เพื่อให้การเชิญ Invited Researcher มีประโยชน์สูงสุดต่อคณะและมหาวิทยาลัย จึงกำหนดให้ผลผลิตต้องเป็น ผลงานใหม่ ที่ไม่ซ้ำกับผลงานของอาจารย์จุฬาฯ ที่เป็น co-author อยู่แล้ว

ผลผลิตของบทความต้องต้องมีคุณสมบัติอย่างไรเพื่อให้ตรงตามสัญญา?
  • Invited Researcher – บทความอยู่ในระดับใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ในฐาน Scopus จำนวน 1 เรื่อง โดยใส่ Affiliation จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และไม่ซ้ำกับผลงานที่มี co-author ท่านอื่นที่มี Affiliation จุฬาฯ อยู่แล้ว
  • Honorary Professor – ถ้ามีผลงานตีพิมพ์ ให้ใส่ Affiliation จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ประสานงาน

คุณพีรสิทธิ์ สุรเกียรติชัย

โทรศัพท์ 0-2218-0426

Line @cu.research

E-mail: Peerasit.s@chula.ac.th, Research.S@chula.ac.th

คุณมนัญชยา แน่นอุดร

โทรศัพท์ 0-2218-0236

Line @cu.research

E-mail: Manunchaya.n@chula.ac.th, Research.S@chula.ac.th

คุณฌาวีรัชญ์ พรศิยาวรัญญ์

โทรศัพท์ 0-2218-0236

Line @cu.research

E-mail: Chaweerut.p@chula.ac.th, Research.S@chula.ac.th