ทุนส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มวิจัย (STAR/ RU/ CE)

ทุนส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มวิจัย (STAR/ RU/ CE)

สำนักบริหารวิจัยรับเปิดรายงานผลการดำเนินงานกลุ่มวิจัยต่อเนื่อง CE/RU ประจำปี 2568 รอบที่ 2

สำหรับกลุ่มวิจัยที่มีระยะดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2567-31 มีนาคม 2568
📍 หมดเขตรายงานผลการดำเนินการ (ปิดโครงการ) 1-12 กุมภาพันธ์ 2568 ภายใน 17.00 น.ได้ทาง google form https://bit.ly/3PLDOck
📍เมื่อรายงานผลแล้ว สามารถยื่นขอทุนสนับสนุนปีต่อไป ได้ตั้งแต่ 18-28 กุมภาพันธ์ 2568 ภายใน 17.00 น. ส่งข้อเสนอได้ที่ https://myresearch.chula.ac.th/Login
ติดตามรายละเอียดได้ที่ https://bit.ly/4hsUAZD
ติดต่อสอบถาม Line ID: @cu.research

วัตถุประสงค์

ทุนส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มวิจัย กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช แบ่งเป็น 3 ระดับ กลุ่มวิจัย (STAR: Special Task Force for Activating Research) หน่วยปฏิบัติการวิจัย (RU: Research Unit) และศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (CE: Center of Excellence) โดยมี 4 สาขา ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาสังคมศาสตร์ และสาขามนุษยศาสตร์

ช่วงเวลา

  • ระยะเวลาในการรับสมัคร: 2 รอบ/ปี (สิงหาคม/กุมภาพันธ์)
    • รอบที่ 1 : สิงหาคมของทุกปี (สำหรับการดำเนินงาน 1 ต.ค-30 ก.ย)
    • รอบที่ 2 : กุมภาพันธ์ของทุกปี (สำหรับการดำเนินงาน 1 เม.ย-31 มี.ค)

เกณฑ์การประเมิน

สาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สาขาสังคมศาสตร์ และสาขามนุษยศาสตร์

ผลผลิต

  • ส่วนที่พิจารณาโดยสำนักบริหารวิจัยมีสัดส่วนร้อยละ 60 ได้แก่ผลงานดังต่อไปนี้
    • ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มี Impact factor ที่ปรากฏในฐานข้อมูล ISI/SCOPUS หรือ PUBMED
      โดยต้องมีการระบุชื่อศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง/หน่วยปฏิบัติการวิจัย/กลุ่มขับเคลื่อนการวิจัย
      ณ ตำแหน่งที่อยู่ของนักวิจัยโดยไม่นับหนังสือรวมบทความวิจัยของการประชุม หรือ Proceeding
    • สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • CE/RU ในระดับ Q1 ขึ้นไป
    • STAR ในระดับ Q2 ขึ้นไป
    • สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
    • CE ในระดับ Q2 ขึ้นไป
    • RU ในระดับ Q3 ขึ้นไป
    • STAR ในระดับ Q4 ขึ้นไป
  • สวนที่พิจารณาโดยส่วนงานต้นสังกัดมีสัดส่วนร้อยละ 40 โดยเป็นผลงานที่สอดคล้องกับบริบทและยุทธศาสตร์ของส่วนงานต้นสังกัด

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
(CE: Center of Excellence)

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  • เป็นอาจารย์/นักวิจัย ที่เป็นบุคลากรประจำของมหาวิทยาลัยอย่างน้อย 3 คน
  • มีแผนงานวิจัยและแผนดำเนินงานต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ปี
  • ได้รับการสนับสนุนงบประมาณวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก
  • มีความสัมพันธ์ทางวิชาการกับภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันวิชาการระดับชาติ นานาชาติ และหรือองค์กรระหว่างประเทศ

การสนับสนุน

  • ค่าใช้จ่ายการวิจัย
  • ค่าตอบแทนผู้ช่วยวิจัย
  • ค่าครุภัณฑ์เกี่ยวกับงานวิจัย
  • อุดหนุนส่วนงาน 5%
  • นำเสนอผลงานวิชาการ
  • ไม่สนับสนุน ค่าคอมฯ อุปกรณ์ สำนักงาน
  • ไม่สนับสนุน ค่าตอบแทน นักวิจัย

หน่วยปฏิบัติการวิจัย
(RU: Research Unit)

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  • เป็นอาจารย์/นักวิจัยที่เป็นบุคลากรประจำของมหาวิทยาลัย อย่างน้อย 3 คน
  • มีแผนงานวิจัยและแผนดำเนินงานต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี
  • มีแผนงานวิจัยและแผนดำเนินงานต่อยอดเป็น CE
  • มีเป้าหมายและแผนสร้างความสัมพันธ์ทางวิชาการ และหรือเครือข่ายวิจัยกับภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันวิชาการระดับชาติ นานาชาติ และหรือองค์กรระหว่างประเทศ

การสนับสนุน

  • ค่าใช้จ่ายการวิจัย
  • ค่าตอบแทนผู้ช่วยวิจัย
  • ค่าครุภัณฑ์เกี่ยวกับงานวิจัย
  • อุดหนุนส่วนงาน 5%
  • นำเสนอผลงานวิชาการ
  • ค่าคอมฯ อุปกรณ์สำนักงาน 
  • ไม่สนับสนุน ค่าตอบแทน นักวิจัย

กลุ่มขับเคลื่อนการวิจัย
(STAR: Special Task Force for Activating Research)

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  • เป็นอาจารย์/นักวิจัยที่เป็นบุคลากรประจำของมหาวิทยาลัย อย่างน้อย 2 คน
  • มีแผนงานวิจัยและแผนดำเนินงานต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี
  • มีแผนงานวิจัยและแผนดำเนินงานต่อยอดเป็น RU

การสนับสนุน

  • ค่าใช้จ่ายการวิจัย
  • ค่าตอบแทนผู้ช่วยวิจัย
  • ค่าครุภัณฑ์เกี่ยวกับงานวิจัย
  • อุดหนุนส่วนงาน 5%
  • นำเสนอผลงานวิชาการ
  • ค่าคอมฯ อุปกรณ์สำนักงาน 
  • ไม่สนับสนุน ค่าตอบแทน นักวิจัย

คำถามที่พบบ่อย

สามารถเป็นหัวหน้ากลุ่มมากกว่า 1 กลุ่มได้หรือไม่
  • ไม่ได้ สามารถเป็นหัวหน้าได้เพียง 1 กลุ่มวิจัยเท่านั้น และไม่สามารถเป็นนักวิจัยร่วมของกลุ่มอื่นได้
สามารถเป็นนักวิจัยร่วมมากกว่า 1 กลุ่มได้หรือไม่?

ได้ นักวิจัยร่วมในกลุ่ม อาจมีชื่อเป็นนักวิจัยร่วมใน CE/RU/STAR ได้ แต่ต้องอ้างอิงเป็นผลงาน ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น

ผู้ร่วมวิจัยควรมีคุณสมบัติใดบ้าง?
  • เป็นอาจารย์หรือนักวิจัยที่เป็นบุคลากรประจำของมหาวิทยาลัย หรือ
  • นักวิจัยพันธมิตรของจุฬาฯ หรือ
  • นักวิจัยร่วมในศูนย์ฯ หรือ
  • นักวิจัย ที่ไม่ใช่บุคลากรประจำ ผู้ช่วยวิจัย และ/หรือ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
หากต้องการตั้งกลุ่มวิจัยใหม่ควรทำอย่างไร?
  • ในช่วงปีงบประมาณ 2567-2568 ยังไม่มีประกาศรับข้อเสนอการตั้งกลุ่มวิจัยใหม่ แต่ยังคงดำเนินการให้การสนับสนุนกลุ่มวิจัยเดิมเพียงเท่านั้น
หากต้องการรับการสนับสนุนในปีต่อไปควรทำอย่างไร?
  1. รายงานความก้าวหน้าให้เรียบร้อย ตามช่องทางและช่วงเวลาที่ประกาศ
  2. ส่งข้อเสนอขอรับการสนับสนุน ผ่านระบบ myResearch ได้ที่ https://myresearch.chula.ac.th/Login

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ระบบ myResearch

ผู้ประสานงาน

(สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)

คุณนวพรรณ วงศ์ขัติย์

โทรศัพท์ 0-2218-0453

Line @cu.research

E-mail: nawapan.w@chula.ac.th

(สาขาสังคมศาสตร์และสาขามนุษยศาสตร์)

คุณสุกัญญา พวงกุนฑล

โทรศัพท์ 0-2218-0213

Line @cu.research

E-mail: sukanya.po@chula.ac.th