ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการแพทย์ทางเลือกสำหรับโรคระบบทางเดินอาหารและตับ
มิถุนายน 10, 2024 2024-06-15 16:48ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการแพทย์ทางเลือกสำหรับโรคระบบทางเดินอาหารและตับ
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการแพทย์ทางเลือกสำหรับโรคระบบทางเดินอาหารและตับ เป็นผู้นำด้านการวิจัยเรื่องสมุนไพร โปรไบโอติก และการรักษาแพทย์ทางเลือกอื่นๆ เพื่อการรักษาโรคระบบทางเดินอาหารและตับ ในคนและในโมเดลสัตว์ทดลอง เช่น โรคตับอักเสบที่เกิดจากแอลกอฮอล์ ไขมันพอกตับ มะเร็งตับ โรคแผลกระเพาะอาหาร การติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพลอริ มะเร็งกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น ศึกษาวิจัยครบวงจรทั้งในระดับพื้นฐาน การวิจัยผสมผสาน และการวิจัยประยุกต์ เป็นศูนย์เรียนรู้สำหรับนิสิต นักศึกษา นักวิจัย เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในการป้องกันและดูแลรักษาโรค เป็นที่อ้างอิงและมีผลงานในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ
Research & Innovation Focus
Sustainable Society + Disaster & Environment
Sustainable Society + BCG
NetZero + Disaster & Environment
วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เป็นผู้นำการวิจัยการรักษาแพทย์ทางเลือกสำหรับโรคทางเดินอาหารและตับ เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ทางการแพทย์
- เพื่อสร้างงานวิจัยทางการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติในด้านสรีรวิทยาระบบทางเดินอาหาร
เป้าหมายใน 3 ปี
ด้านการวิจัย
- การหาแหล่งทุนวิจัย ทั้งภายในและภายนอก อย่างต่อเนื่อง
- นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี
- ได้รับรางวัลจากการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ อย่างน้อย 1 รางวัลต่อปี
- มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ระดับ Tier 1 และ Q1 อย่างน้อย 6 เรื่อง/ปี
- มีการทำวิจัยร่วมกับสถาบันพันธมิตรอื่น
ด้านการเรียนการสอน
- ระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาศาสตร์การแพทย์ และวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สหสาขาสรีรวิทยา มีนิสิตสนใจทำวิจัยในศูนย์ อย่างน้อย 2 คน
- มีการจัดสัมมนาทางการวิจัย ประชุม lab meeting หรือเข้าร่วมการอบรมที่เกี่ยวข้อง เป็นประจำทุกเดือน
ผลงานวิจัยเด่น
เป็นศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการใช้การแพทย์ทางเลือกในการดูแลรักษาโรคระบบทางเดินอาหารและตับในโมเดลสัตว์ทดลอง คิดค้นวิธีการรักษาแพทย์ทางเลือกโดยใช้สมุนไพรไทยในการรักษาโรค เช่น ศึกษาผลของขมิ้นชัน ว่านหางจระเข้ genistein (ส่วนประกอบในเต้าหู้ นมถั่วเหลือง) สารสกัดจากผลพุดซ้อน การใช้โปรไบโอติก การออกกำลังกาย ได้แก่
- โมเดลแผลกระเพาะอาหารหนูแรทที่เกิดจากยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
- โมเดลหนูที่เป็นกระเพาะอาหารอักเสบจากการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพลอริ
- โมเดลมะเร็งกระเพาะอาหารที่ถูกเหนี่ยวนำโดยการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพลอริและเอ็นเมธิลเอ็นไนโตรโซยูเรียในหนูแรท
- โมเดลหนูแรทที่มีภาวะตับอักเสบจากไขมันลงตับ ที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ จากอาหารไขมันและน้ำตาลฟรุกโทสสูง
- โมเดลหนูไมซ์ที่มีภาวะตับอักเสบจากการรับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด
- โมเดลหนูแรทตัดอัณฑะที่มีตับอักเสบจากไขมันลงตับ
- โมเดลหนูผ่าตัดรังไข่ที่มีภาวการณ์อักเสบของตับจากการสะสมของไขมันในตับ
- โมเดลหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความเสียหายต่อตับด้วยแอลกอฮอล์
- โมเดลภาวะตับอ่อนเฉียบพลันที่ชักนำโดยแอลอาร์จีนินในหนูทดลอง
- โมเดลหนูไมซ์ที่มีอาการท้องเสียจากการติดเชื้อซัลโมเนลลา
- โมเดลหนูวิ่งออกกำลังกายในระดับ intensity ต่างๆ
ได้มีผลงานการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ การนำเสนอผลงาน การเป็นศูนย์เรียนรู้สำหรับนิสิต นักศึกษา นักวิจัย นอกจากนี้ยังร่วมมือการทำวิจัยกับนานาชาติอีกด้วย ภายในระยะเวลา 3-5 ปี



เครือข่ายและความร่วมมือ
- ภาควิชาพยาธิวิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยา และภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ภาควิชาวิทยาการเภสัชกรรมและเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย โออิตะ ประเทศ ญี่ปุ่น