CU-Daily Research

CU-Daily Research

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสำนักบริหารวิจัย (สบจ.) เดินหน้ายกระดับการสื่อสารงานวิจัยให้เข้าถึงง่ายและเป็นประโยชน์มากขึ้น ด้วยการสรุปผลงานวิจัยของคณาจารย์และนักวิจัยให้กลายเป็นอินโฟกราฟิก (Infographic) ที่เข้าใจง่ายและน่าสนใจ

แนวทางนี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้แวดวงวิชาการสามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอดและสร้างความร่วมมือได้ในอนาคต แต่ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้สัมผัสกับความก้าวหน้าทางวิจัยและนวัตกรรมของจุฬาฯ ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและไม่ซับซ้อน

พบกับงานวิจัยอ่านง่ายเพียง 1 หน้า พร้อมอัพเดทความรู้ใหม่ๆ จากอาจารย์และนักวิจัยจุฬาฯ ได้ทุกวันที่ CU-Daily Research เริ่ม 1 เมษายน 2568

แล้วพบกัน! CU Tomorrow
#CUDailyResearch #งานวิจัยจุฬาฯ #CUORA

RESEARCH TODAY

การระบุชนิดพืชพรรณ และการใช้งานทางภูมิสถาปัตยกรรมจากจิตรกรรมฝาผนังในจังหวัดน่าน ประเทศไทย

CHULA Daily Research วันที่ 13: การระบุชนิดพืชพรรณ และการใช้งานทางภูมิสถาปัตยกรรมจากจิตรกรรมฝาผนังในจังหวัดน่าน ประเทศไทย โดย รองศาสตราจารย์ปารณ ชาตกุล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ จันทร์ปฐมพงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

สุขสันต์วันสงกรานต์ วันหยุดยาวนี้ นักวิจัยจุฬาฯ พาไปแอ่วเหนือ มองหาพรรณพืชจากงานศิลปะจิตรกรรมฝาผนังที่วัดหนองบัวและวัดภูมินทร์ในจังหวัดน่าน ประเทศไทย

ถอดรหัสพันธุ์พืชที่มีความเชื่อมโยงไปสู่ภูมิสถาปัตยกรรมในจังหวัดน่านช่วงรัชกาลที่ 4 และ 5 ที่สามารถบ่งบอกได้ว่าส่วนไหนของภาพอยู่ในเขตพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ในเมือง และพื้นที่ธรรมชาติ เที่ยววัดหนองบัวและวัดภูมินทร์ครั้งถัดไป ลองทายดูว่าภาพนั้นคือพื้นที่ใดในอตีต

#ชนิดพืช #ภูมิทัศน์ #จิตรกรรมฝาผนัง #การระบุชนิดพืช #จิตรกรรมไทย #วัดไทย

Keywords

#ชนิดพืช #ภูมิทัศน์ #จิตรกรรมฝาผนัง #การระบุชนิดพืช #จิตรกรรมไทย #วัดไทย

SDGs

 รองศาสตราจารย์ปารณ ชาตกุล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ จันทร์ปฐมพงศ์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: paron.c@chula.ac.th, shusak.j@chula.ac.th

สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

Insights into antimicrobial and multidrug resistance of Escherichia coli in hybrid red tilapia cultivation

รองศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.สหฤทัย เจียมศรีพงษ์
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: Saharuetai.j@chula.ac.th

CHULA Daily Research วันที่ 18: “Insights into antimicrobial and multidrug resistance of Escherichia coli in hybrid red tilapia cultivation” โดย รองศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.สหฤทัย เจียมศรีพงษ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์

Escherichia coli หรือ เชื้ออีโคไล เป็นแบคทีเรียที่สามารถพบในสำไส้ของคนและสัตว์ แต่บางครั้งก็ก่อโรคได้ เช่น โรคทางเดินปัสสาวะ หรือโรคท้องร่วง

จากการวิจัยลูกปลากะพงแดงลูกผสม พบการกระจายตัวของเชื้อดื้อยา ซึ่งสามารถส่งต่อเชื้อดื้อยานี้มาสู่คนและสิ่งแวดล้อมได้ 

การค้นพบนี้กระตุ้นให้เกิดการรับรู้ การกำหนดกฎระเบียบในการใช้ยาต้าน และการพัฒนาทางปฏิชีวนะใหม่ๆ เพื่อเตรียมรับมือการแพร่กระจายของเชื้ออีโคไลดื้อยา 

#การดื้อยาต้านจุลชีพ #การเพาะเลี้ยงปลา #EscherichiaColi #การดื้อยาหลายชนิด #ปลากะพงแดง #SDGs3 #SDGs12

ชุดตรวจวัณโรคแบบอ่านผลด้วยตาเปล่า

รองศาสตราจารย์ ดร.เทคนิคการแพทย์หญิง.ปาหนัน รัฐวงศ์จิรกุล
คณะสหเวชศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: panan_etc@yahoo.com

CU-Daily Research วันที่ 8: ชุดตรวจวัณโรคแบบอ่านผลด้วยตาเปล่า โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เทคนิคการแพทย์หญิง.ปาหนัน รัฐวงศ์จิรกุล คณะสหเวชศาสตร์

วัณโรคถือว่าเป็นปัญหาอย่างหนึ่งของประเทศไทย เป็นโรคติดเชื้อที่เจอมากในคนไทยและระบาดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายสิบปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาลขนาดเล็ก โรงพยาบาลภาคสนาม หรือสถานีอนามัยในพื้นที่ชุมชน ที่มีอุปกรณ์ในการตรวจไม่เพียงพอ ชุดตรวจวัณโรคแบบอ่านผลด้วยตาเปล่าอาศัยหลักการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมภายใต้อุณหภูมิเดียวคงที่ด้วยปฏิกิริยา Multiplex-recombinase polymerase amplification ร่วมกับไพรเมอร์ที่จำเพาะต่อ Insert sequence ของเชื้อ Mycobacterium tuberculosis ได้แก่ IS1081 และ IS6110 โดยใช้เวลาเพียง 30 นาที

“MTB Strip” สามารถอ่านผลด้วยตาเปล่าได้ภายใน 15 นาที นอกจากนี้ยังมีชุดตรวจวัณโรคดื้อยาหลายขนานที่อาศัยไพรเมอร์ที่จำเพาะต่อตำแหน่งการกลายพันธุ์ของยีน rpoB และยีน katG ที่สัมพันธ์กับการดื้อยา Rifampicin และยา Isoniazid ร่วมกับการอ่านผลจากการเปลี่ยนสีของ SYBR Green I โดยการทดสอบทั้งหมดใช้เวลาเพียง 40 นาที ซึ่งใช้ระยะเวลาในการทดสอบสั้นและมีขั้นตอนที่สะดวก จึงเหมาะกับการใช้งานในห้องปฏิบัติการขนาดเล็กที่มีอยู่ทั่วประเทศ ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการทดสอบวินิจฉัยวัณโรคได้ครอบคลุมมากขึ้น

#วัณโรค #ชุดตรวจโรค #SDGs3 #SDGs10 #SDGs12

แนวทางการแก้ปัญหาที่ได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติสำหรับการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานดินในการปรับตัวเมื่อเกิดภัยพิบัติ

ศาสตราจารย์ ทันตเเพทย์หญิง ดร.ฑัณฑริรา พรทวีทัศน์
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: thantrira.p@chula.ac.th

CU-Daily Research วันที่ 6: ทันตกรรมแม่นยำ: ก้าวสู่อนาคตการดูแลช่องปากเฉพาะบุคคล โดย ศาสตราจารย์ ทันตเเพทย์หญิง ดร.ฑัณฑริรา พรทวีทัศน์ คณะทันตแพทยศาสตร์

ปัญหาสุขภาพในช่องปากอาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม เพื่อให้การรักษาโรคในช่องปากมีความแม่นยำและปรับการรักษาให้เหมาะกับแต่ละบุคคล ทีมทันตแพทย์จุฬาฯ จึงวิจัยและศึกษาค้นคว้า “จีโนมิกส์” ที่สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงของการเกิดโรคในช่องปากจาก DNA ของผู้ป่วย อีกทั้งยังค้นพบโอกาสการถ่ายทอดโรคทางช่องปากจากพันธุกรรม เช่น ความผิดปกติของเคลือบฟันและเนื้อฟัน ฟันไม่ครบ และโรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งรวมไปถึงโรคมะเร็งในช่องปากอีกด้วย

การศึกษาจีโนมิกส์และการวิเคราะห์จุลชีพในช่องปาก ช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมสามารถรับมือกับโรคทางช่องปากได้อย่างตรงจุดและสามารถคาดการณ์ความเสี่ยงได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น ถือเป็นก้าวสำคัญของนวัตกรรมการดูแลทันตกรรมที่สามารถป้องกัน ดูแล และปรับการรักษาสุขภาพในช่องปากให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

#จีโนมิกส์ #จุลชีพในช่องปาก #ทันตกรรมที่มีความแม่นยำ #การรักษาเฉพาะบุคคล #สุขภาพช่องปาก #SDGs3

สาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

Bamboo (Dendrocalamus Asper) as an Eco-Friendly Sustainable Material: Optimising Mechanical Properties and Enhancing Load-Bearing Capacity for Environmental Architectural Design

อาจารย์ ดร.รันดา อดุลเดชจรัส
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: runda.a@chula.ac.th

CU-Daily Research วันที่ 20: “ไม้ไผ่” การเพิ่มคุณสมบัติเชิงกลและการเพิ่มความสามารถการรับน้ำหนักในงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดย อาจารย์ ดร.รันดา อดุลเดชจรัส คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ไม้ไผ่ ถูกใช้ประกอบในโครงสร้างที่อยู่อาศัยมาอย่างยาวนานและแพร่หลาย เนื่องจากหาง่าย โตเร็ว ทนทาน แข็งแรง และยืดหยุ่นในทุกสภาพอากาศ โดยเฉพาะเหมาะกับอากาศร้อนชื้น 

การวิจัยนี้จึงสนับสนุนการใช้ไม้ไผ่ในงานสถาปัตยกรรมต่างๆ เพราะเป็นวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น รับน้ำหนักได้ดี และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

#วัสดุก่อสร้างที่ยั่งยืน #ประสิทธิภาพของวัสดุ #วัสดุก่อสร้างคาร์บอนต่ำ #เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม #Sustainable #SDGs8 #SDGs11#SDGs12

ความท้าทายในการใช้เครื่องมือประเมินวัฏจักรชีวิต (LCA) อย่างง่ายในการกระบวนการเรียนการสอนวิชาออกแบบยั่งยืน

อาจารย์ ดร.สุพิชญา ศุภพิพัฒน์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: Suphichaya.S@chula.ac.th

CHULA Daily Research วันที่ 14: ความท้าทายในการใช้เครื่องมือประเมินวัฏจักรชีวิต (LCA) อย่างง่ายในการกระบวนการเรียนการสอนวิชาออกแบบยั่งยืน โดย อาจารย์ ดร.สุพิชญา ศุภพิพัฒน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดีควรคำถึงความยั่งยืน นักออกแบบรุ่นใหม่ควรมีความรู้ความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ตั้งแต่อยู่ในห้องเรียน ในฐานะอาจารย์จุฬาฯ จึงวางแผนและออกแบบกระบวนการเรียนรู้เรื่อง “การประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์” (Life Cycle Assessmen: LCA) เพื่อบ่มเพาะให้ผู้เรียนมีกระบวนการออกแบบอย่างยั่งยืนตั้งแต่เริ่มต้น

การประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึงหลักการออกแบบอย่างเป็นระบบ และตระหนักรู้ถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เตรียมพร้อมก่อนก้าวเข้าสู่วงการนักออกแบบมืออาชีพ ที่อาจสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้พัฒนาไปในทางที่ดีได้ในอนาคต

#การออกแบบเพื่อความยั่งยืน #การประเมินวัฏจักรชีวิต #นวัตกรรมที่ยั่งยืน #SDGs9

แนวทางการแก้ปัญหาที่ได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติสำหรับการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานดินในการปรับตัวเมื่อเกิดภัยพิบัติ

ดร.วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: wilailuk.n@chula.ac.th

CHULA Daily Research วันที่ 12: การส่งเสริมและการปรับตัวสู่การท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำในเกาะสีชังตามแนวทางเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (BLUE ECONOMY) โดย ดร.วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์ สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

สุขสันต์วันสงกรานต์ วันหยุดยาวๆ ก็ต้องเที่ยวกันสักหน่อย! นักวิจัยจุฬาฯ ชวนท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ โดยเริ่มศึกษาทดลองที่เกาะสีชัง จากการประเมิน 3 เส้นทางหลักตามสไตล์นักท่องเที่ยว ได้แก่ เส้นทางทำบุญ เส้นทางท่องเที่ยวธรรมชาติ และเส้นทางพักผ่อน-ผจญภัย

ซึ่งการศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยว ช่วยเป็นข้อมูลให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถตัดสินใจในการวางแผนหรือมาตรการในการลดการปล่อยคาร์บอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เที่ยวสนุกปลอดภัย อย่าลืมใส่ใจสิ่งแวดล้อมกันด้วยนะ!

#CarbonFootprint #การท่องเที่ยวทางทะเล #ความเป็นกลางทางคาร์บอน #การท่องเที่ยวในประเทศไทย #SDGs9 #SDGs12 #SDGs13 #SDGs14

แนวทางการแก้ปัญหาที่ได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติสำหรับการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานดินในการปรับตัวเมื่อเกิดภัยพิบัติ

ศาสตราจารย์ ดร.สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: Suched.L@chula.ac.th

CU-Daily Research วันที่ 3: แนวทางการแก้ปัญหาที่ได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติสำหรับการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานดินในการปรับตัวเมื่อเกิดภัยพิบัติ โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง คณะวิศวกรรมศาสตร์

ปัญหาภัยพิบัติทั้งดินอ่อน แผ่นดินไหว และดินถล่ม ส่งผลต่อสิ่งปลูกสร้าง อาคาร และสถานที่ นักวิจัยจุฬาฯ จึงเกิดแนวคิดเสริมสร้างพื้นฐานให้กับดินโดยใช้ธรรมชาติในการฟื้นฟูเพื่อความยั่งยืน เช่น การใช้ต้นไม้เพิ่มเสถียรภาพลาดดิน และการใช้แบคทีเรียที่ชักนำให้เกิดการตกตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนตในการปรับปรุงสมบัติทางวิศวกรรมของดิน เป็นต้น

นวัตกรรมการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้กับดินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้คุณสมบัติทางกล ฟิสิกส์-เคมี และจุลภาคของวัสดุก่อสร้าง ทั้งในห้องปฏิบัติการ การจำลองสถานการณ์เพื่อทำความเข้าใจประสิทธิภาพในเชิงลึก และนำไปสู่การกำหนดแนวทางการแก้ปัญหา การประเมินความเป็นไปได้ทางวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างรอบด้านและเหมาะสมต่อสภาพพื้นที่

#แนวทางการแก้ปัญหาที่ได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ #โครงสร้างพื้นฐานดิน #ชีววิศวกรรมดิน #ดินถล่ม #แผ่นดินไหว #เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน #SDGs9 #SDGs12 #SDGs13 #SDGs15

มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย

ศาสตราจารย์ ดร.สันติ ภัยหลบลี้
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: SANTI.PA@CHULA.AC.TH

CU-Daily Research วันที่ 1 ขอนำเสนอ “มิตรเอิร์ธ (MitrEarth)” แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย โดย ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เมียนมาส่งผลกระทบมายังประเทศไทย สร้างความตื่นตระหนกและความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินในหลายพื้นที่ ภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถล่วงรู้ได้ล่วงหน้า ทำให้สังคมเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้เรื่องการรับมือกับภัยพิบัติ รวมถึงการหาทางป้องกันและแจ้งเตือนเพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

“มิตรเอิร์ธ” แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ให้ความรู้ด้านธรณีวิทยาแก่ประชาชน จากการรวบรวมข้อมูลทางธรณีวิทยา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยระบบ GIS และการสร้างแผนที่ชุดข้อมูลภูมิประเทศของประเทศไทย ซึ่งสามารถให้ข้อมูล แจ้งจุดเสี่ยงภัยพิบัติในแต่ละพื้นที่ แจ้งเตือนและอัปเดตสถานการณ์ภัยพิบัติ รวมถึงช่วยสนับสนุนด้านการวางแผนรับมือภัยพิบัติของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้อีกด้วย

#MitrEarth #มิตรเอิร์ธ #ภัยพิบัติ #ธรณีวิทยา #GIS #แจ้งเตือนภัยพิบัติ #การเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ #SDGs11 #SDGs13

สาขาสังคมศาสตร์และสาขามนุษยศาสตร์

ความเข้าใจวัฒนธรรมคนเดินถนนในเมืองของไทยในช่วงพักเที่ยง: ประสบการณ์กับโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเดินในกรุงเทพมหานคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ จันทร์ปฐมพงศ์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: shusak.j@chula.ac.th

CU-Daily Research วันที่ 19: ความเข้าใจวัฒนธรรมคนเดินถนนในเมืองของไทยในช่วงพักเที่ยง: ประสบการณ์กับโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเดินในกรุงเทพมหานคร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ จันทร์ปฐมพงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

การเดินทางเท้าในช่วงพักกลางวันของผู้คนใจกลางเมืองย่านการค้า (CBD) มีความกังกลในเรื่องของสิ่งกีดขวางการไหลบนทางเท้า เช่น ความกว้างของพื้นที่เดินไม่เพียงพอ สิ่งกีดขวางจากโครงสร้างสาธารณูปโภค กิจกรรมทางสังคมหรือเศรษฐกิจ ระยะทางในการเดิน/ พื้นผิวของทางเท้า/ ความสูงต่างระดับ ความสบายจากสภาพอากาศ ความปลอดภัยจากการจราจรตามลำดับ

ทางเท้าคุณภาพดี อาจช่วยส่งเสริมการเดินทางเท้าและสนับสนุนเศรษฐกิจในพื้นที่โดยรอบได้มากยิ่งขึ้น

#ย่านแหล่งศูนย์กลางธุรกิจ #กิจกรรมเชิงพาณิชย์ในเมือง #ประสบการณ์สภาพการเดิน #พักเที่ยง #วัฒนธรรมการเดินถนนในเมือง #การวางผังเมือง #SDGs8 #SDGs9 #SDGs11

เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติในสถาปัตยกรรมอาคารและเมือง

รองศาสตราจารย์ ดร.ลาภยศ ประสิทธิโศภิน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: lapyote.p@chula.ac.th

CHULA-Daily Research วันที่ 17: เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติในสถาปัตยกรรมอาคารและเมือง 3D Printing Technology in Architecture, Building, and City โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ลาภยศ ประสิทธิโศภิน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (Assistant Professor Dr. Lapyote Prasittisopin, Faculty of Architecture)

การขยายตัวอย่างรวดเร็วของสังคมเมือง ทำให้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมถูกใช้ไปอย่างรวดเร็ว นักวิจัยจุฬาฯ จึงนำนวัตกรรมเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ เข้ามามีบทบาทในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของเมือง เช่น การสร้างอาคาร สถาปัตยกรรม รวมถึงการสร้างเมืองอัจฉริยะ ช่วยลดเวลาการก่อสร้าง ลดการสูญเสียวัสดุและต้นทุน เปิดโอกาสในการสร้างที่อยู่อาศัย ขยายขนาดได้ ในราคาที่จับต้องได้

#การพิมพ์สามมิติ #สถาปัตยกรรม #อาคาร #การถอดประกอบ #การก่อสร้าง #เมืองอัจฉริยะ #SDGs7 #SDGs9 #SDGs11

การเรียนรู้ศิลปะไทยสร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะสังคมเมือง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ พลประเสริฐ
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: apichart.p@chula.ac.th

CHULA Daily Research วันที่ 16: การเรียนรู้ศิลปะไทยสร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะสังคมเมือง โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ พลประเสริฐ คณะครุศาสตร์

สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนเมืองมีความเครียดสูงยิ่งขึ้น เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะโรคระบาด ทั้งการใช้ชีวิตและผลกระทบทางจิตใจ นักวิจัย จุฬาฯ เห็นโอกาสในการนำศิลปะไทยมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมเพื่อฟื้นฟูสุขภาวะของคนในสังคมเมือง ประกอบด้วย ชุดลายไทยสร้างสรรค์ ชุดหัตถศิลป์ไทยสร้างสรรค์ และชุดผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ลายไทยสร้างสรรค์

ศิลปะจะช่วยกล่อมเกลาจิตใจ ลดความเครียด และเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้เรื่องราววัฒนธรรมไทย เป็นพื้นฐานในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ ที่ตอบรับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน รวมไปถึงธุรกิจการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับผู้คนในชุมชน

#ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ #ศิลปะไทยสร้างสรรค์ #สุขภาวะสังคมเมือง #SDGs3 #SDGs4 #SDGs11

พุทธประวัติตอนแสดงปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี: ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับศิลปกรรมทวารวดี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัชพล ศิริสวัสดิ์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: natchapol.s@chula.ac.th

CHULA Daily Research วันที่ 15: พุทธประวัติตอนแสดงปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี: ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับศิลปกรรมทวารวดี โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัชพล ศิริสวัสดิ์ คณะอักษรศาสตร์

งานลายเส้น ความวิจิตรของงานศิลปะ อาจซ่อนเรื่องราวและความเชื่อมโยงบางอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความข้องเกี่ยวของผู้คนผ่านเรื่องเล่าทางศาสนา เช่นเดียวกับงานศิลปะเชิงพุทธประวัติตอนแสดงปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี

งานวิจัยนี้แสดงหลักฐานและความชัดเจนของความเฟื่องฟูทางด้านศิลปกรรมและวรรณกรรมทวารวดีที่กระจายไปทั่วราบลุ่มแม่น้ำ ทั้งจีน ทิเบต อินเดีย รวมถึงไทย จึงเห็นได้ว่างานศิลปกรรมมีส่วนช่วยในการสืบหาร่องรอยทางประวัติศาสตร์ได้อย่างน่าสนใจ

#ชนิดพืช #ภูมิทัศน์ #จิตรกรรมฝาผนัง #การระบุชนิดพืช #จิตรกรรมไทย #วัดไทย

การระบุชนิดพืชพรรณ และการใช้งานทางภูมิสถาปัตยกรรมจากจิตรกรรมฝาผนังในจังหวัดน่าน ประเทศไทย

 รองศาสตราจารย์ปารณ ชาตกุล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ จันทร์ปฐมพงศ์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: paron.c@chula.ac.th, shusak.j@chula.ac.th

CHULA Daily Research วันที่ 13: การระบุชนิดพืชพรรณ และการใช้งานทางภูมิสถาปัตยกรรมจากจิตรกรรมฝาผนังในจังหวัดน่าน ประเทศไทย โดย รองศาสตราจารย์ปารณ ชาตกุล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ จันทร์ปฐมพงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

สุขสันต์วันสงกรานต์ วันหยุดยาวนี้ นักวิจัยจุฬาฯ พาไปแอ่วเหนือ มองหาพรรณพืชจากงานศิลปะจิตรกรรมฝาผนังที่วัดหนองบัวและวัดภูมินทร์ในจังหวัดน่าน ประเทศไทย

ถอดรหัสพันธุ์พืชที่มีความเชื่อมโยงไปสู่ภูมิสถาปัตยกรรมในจังหวัดน่านช่วงรัชกาลที่ 4 และ 5 ที่สามารถบ่งบอกได้ว่าส่วนไหนของภาพอยู่ในเขตพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ในเมือง และพื้นที่ธรรมชาติ เที่ยววัดหนองบัวและวัดภูมินทร์ครั้งถัดไป ลองทายดูว่าภาพนั้นคือพื้นที่ใดในอตีต

#ชนิดพืช #ภูมิทัศน์ #จิตรกรรมฝาผนัง #การระบุชนิดพืช #จิตรกรรมไทย #วัดไทย

คุณสมบัติการแสดงแผนภูมิแท่งที่สามารถบิดเบือนการรับรู้

รองศาสตราจารย์ ดร.ชัชพงศ์ ตั้งมณี
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: chatpong@cbs.chula.ac.th

CHULA Daily Research วันที่ 11: คุณสมบัติการแสดงแผนภูมิแท่งที่สามารถบิดเบือนการรับรู้ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชัชพงศ์ ตั้งมณี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

ในการนำเสนอเชิงเปรียบเทียบที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของจำนวนอะไรบางอย่าง เรามักจะเลือกการแสดงผลแบบ “กราฟ” โดยเน้นจำนวนของบางสิ่งให้ดูน้อยลงหรือเพิ่มขึ้นเพื่อโน้มน้าวหรือให้ข้อมูล

โดยผลการวิจัยนี้ ช่วยสรุปวิธีการใช้ “กราฟแท่ง” ที่มีอิทธิพลต่อผู้อ่าน โดยแนะนำการเลือกแสดงกราฟแท่งที่มีความสูงอย่างสม่ำเสมอหรือมีการไล่ระดับ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านมีความเข้าใจต่อข้อมูลและลดอคติต่อการแสดงผลได้

#แผนภูมิแท่ง #อคติทางการรับรู้

ทรายประกายมุกจากเปลือกหอยแมลงภู่สำหรับกิจกรรมศิลปะ สันทนาการ และการอนุรักษ์วัฒนธรรม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โสมฉาย บุญญานันต์
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: soamshine.b@chula.ac.th

CHULA-Daily Research วันที่ 10: ทรายประกายมุกจากเปลือกหอยแมลงภู่สำหรับกิจกรรมศิลปะ สันทนาการ และการอนุรักษ์วัฒนธรรม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โสมฉาย บุญญานันต์ คณะครุศาสตร์

เปลือกหอยแมลงภู่เหลือทิ้งเป็นขยะที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักวิจัยจุฬาฯ จึงมีแนวคิดในการแปรรูปเปลือกหอยแมลงภู่ให้เป็น “ทรายประกายมุก” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง ที่ใช้ประโยชน์จากประกายมุกที่แวววาวสวยงามอย่างเป็นธรรมชาติ

“ทรายประกายมุก” ถูกนำมาพัฒนาเป็นกิจกรรมศิลปะ สันทนาการ และการอนุรักษ์วัฒนธรรม ช่วยการส่งเสริมในการตระหนักรู้เกี่ยวกับแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green Economy) ลดปริมาณขยะเปลือกหอยแมลงภู่

กิจกรรมศิลปะและสันทนาการ ได้แก่ Sandstory ทรายสร้างศิลป์ถิ่นโบราณ Sand-Sanook ทรายแซนด์ (แสน) สนุก AQUAKEY รักษ์สัตว์ทะเล PetXotic ArtToy กล่องสุ่มเพื่อการเรียนรู้เรื่องสัตว์เลี้ยงพิเศษ

#ทรายประกายมุก #เปลือกหอยแมลงภู่ #กิจกรรมศิลปะ #กิจกรรมสันทนาการ #การอนุรักษ์วัฒนธรรม #SDGs4 #SDGs9 #SDGs12 #SDGs14

นิสัยแห่งจิตใจของคนในสังคมไทยร่วมสมัย : แนวทางวิเคราะห์แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริมา ทองสว่าง
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: sirima.th@chula.ac.th

CU-Daily Research วันที่ 9: นิสัยแห่งจิตใจของคนในสังคมไทยร่วมสมัย : แนวทางวิเคราะห์แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริมา ทองสว่าง คณะรัฐศาสตร์

การผลิตซ้ำทางความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย อาจเป็นผลพวงจากมุมมองของสังคมในอดีตที่หล่อหลอม ปรับเปลี่ยน หรือมีโครงสร้างที่เอื้อต่อความเหลื่อมล้ำในรูปแบบใหม่ๆ นักวิจัยจากคณะรัฐศาสตร์ จึงวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางสังคมวิทยา เพื่ออธิบายบริบทเฉพาะในสังคมไทย

การวิจัยนี้พบว่า ประเทศไทยในโครงสร้างก่อนทุนนิยม ผู้คนมีลักษณะนิสัยอยู่อย่างพอเพียง ยึดมั่นต่อประเพณี จนกระทั่งพัฒนาเป็นลักษณะนิสัยอื่นๆ ในช่วงทุนนิยม กลุ่มที่อยู่ระหว่างทั้งสองโครงสร้างนี้ จึงเป็นกลุ่มคนที่คล้อยตามและยอมรับในอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ จนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม และยังคงส่งต่อความเหลื่อมล้ำนี้เรื่อยมา

#ความเหลื่อมล้ำ #ฮาบิตุส #ประเทศไทย #SDGs5 #SDGs10 #SDGs16

ผลกระทบจากการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมต่อภูมิทัศน์วัฒนธรรมและความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่ชุ่มน้ำ กรณีศึกษาลุ่มน้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

ศาสตราจารย์ ดร.อริยา อรุณินท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: aariya@chula.ac.th

CU-Daily Research วันที่ 7: ผลกระทบจากการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมต่อภูมิทัศน์วัฒนธรรมและความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่ชุ่มน้ำ กรณีศึกษาลุ่มน้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดย ศาสตราจารย์ ดร.อริยา อรุณินท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

โครงการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ “EEC” เป็นนโยบายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพของประเทศ โดยมีพื้นที่นำร่อง 3 จังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา สร้างการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบสาธารณูปโภค เพื่อรองรับการลงทุนและพัฒนาเศรษฐกิจ รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเทคโนโลยี

แม้การลงทุนเพื่อพัฒนาจะเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ต้องไม่ลืมว่ามีผู้คนจำนวนหนึ่งที่ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอาจส่งผลกระทบบางอย่างต่อระบบนิเวศหรือวิถีดั้งเดิมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำบางปะกง ทั้งในมิติของผู้คนและมิติด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยพบว่าการพัฒนา EEC อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและภูมิทัศน์วัฒนธรรมใน 3 พื้นที่ ได้แก่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยงานวิจัยนี้จะช่วยเป็นข้อมูลให้กับชุมชนในการพิจารณาการมีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับโครงการ

#การพัฒนาอุตสาหกรรม #ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม #ความมั่นคงทางอาหาร #การจัดการที่ดินและสิ่งแวดล้อม #แม่น้ำบางปะกง #ฉะเชิงเทรา #SDGs6 #SDGs9 #SDGs10 #SDGs11

ยานยนต์ไฟฟ้า: การเปลี่ยนผ่านของงานและการพัฒนาทักษะการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชฎาธาร โอษธีศ
วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: Chadatan.o@chula.ac.th

CU-Daily Research วันที่ 5 ยานยนต์ไฟฟ้า: การเปลี่ยนผ่านของงานและการพัฒนาทักษะการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชฎาธาร โอษธีศ วิทยาลัยประชากรศาสตร์

เมื่อรถยนต์ไฟฟ้า (EV) สะเทือนวงการยานยนต์ด้วยการขับเคลื่อนโดยพลังงานสะอาดและราคาประหยัด ทำให้อุตสาหกรรมเครื่องยนต์สันดาปต้องปรับตัวอย่างมาก โดยเฉพาะด้านการพัฒนาทักษะแรงงาน เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงที่เลี่ยงไม่ได้ พบว่าทักษะด้านวิศวกรรมมีความต้องการมากขึ้นถึง 10% ในขณะที่ทักษะพื้นฐานมีความต้องการลดลงถึง 70% ซึ่งส่งผลต่อการโยกย้ายตำแหน่งงานของแรงงาน ทั้งในแง่ของการเปลี่ยนอาชีพและการพัฒนาทักษะ

ดังนั้น เพื่อให้อุตสาหกรรมยานยนต์และเศรษฐกิจในภาพรวม โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้เติบโตและพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีนโยบายในการพัฒนาและส่งเสริมทักษะแรงงานไทยให้เป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบัน

#ยานยนต์ไฟฟ้า #การเปลี่ยนผ่านทางทักษะ #แรงงาน #ประเทศไทย #SDGs8 #SDGs10

กรุงเทพยามฟ้าคะนอง: พายุฝน ผู้คน และบรรยากาศเมือง

รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกริช สังขมณี
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: Jakkrit.sa@chula.ac.th

CU-Daily Research วันที่ 4: กรุงเทพยามฟ้าคะนอง: พายุฝน ผู้คน และบรรยากาศเมือง โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์

ในช่วงที่สภาพอากาศเอาแน่เอานอนไม่ได้ บางครั้งก็อบอ้าว บางคราวก็ฝนฟ้ากระหน่ำ ผสมผสานกับชีวิตที่เหนื่อยล้าในเมืองใหญ่ เมื่อสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยทั้งหมดเหล่านี้มาอยู่รวมกัน จึงทำให้เกิดเป็น “บรรยายกาศเมืองที่น่าหงุดหงิด” ขึ้นมาได้ไม่ยาก

ความสัมพันธ์ของบรรยากาศเหล่านี้ ทำให้นักวิจัยจุฬาฯ มองเห็นถึงความเชื่อมโยงบางอย่างที่สามารถเข้าใจถึงความยากลำบากของชีวิตในเมือง ทั้งพายุฝนเขตร้อน สถานการณ์และเหตุการณ์ในเมือง การทรุดตัวของที่ดิน รวมไปถึงการระบายน้ำอุดตัน โดยใช้แนวคิด “Urban assemblage” ในการถอดความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน เพื่อนำไปสู่การสร้างแนวทางแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพในการจัดการเมือง

#บรรยากาศ #น้ำท่วม #โครงสร้างพื้นฐาน #ความเป็นเมืองที่รับรู้ได้ #กรุงเทพฯ #SDGs9 #SDGs11 #SDGs13

การประยุกต์ใช้ AI สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีอาคารยืดหยุ่นและยั่งยืน

รองศาสตราจารย์ ดร.ลาภยศ ประสิทธิโศภิน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: lapyote.p@chula.ac.th

Daily Research วันที่ 2 ขอนำเสนอ “การประยุกต์ใช้ AI สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีอาคารยืดหยุ่นและยั่งยืน” โดย รศ.ดร.ลาภยศ ประสิทธิโศภิน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ยังคงได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมา ทำให้อาคารสูงในหลายพื้นที่ของประเทศไทยได้รับความเสียหาย ทั้งการแตกร้าวภายในตัวอาคาร วัสดุเสาและคานรับน้ำหนักเสียหาย รวมถึงตัวอาคารผิดรูป ส่งผลให้เกิดความไม่สบายใจต่อการเข้าพักอาศัยในอาคารช่วงเวลานี้

นักวิจัยจุฬาฯ ได้ศึกษาและพัฒนาระบบการเรียนรู้จากเครื่อง machine learning เพื่อจำลองโมเดลอาคารให้ตอบสนองต่อสภาวะแผ่นดินไหวและการปลดปล่อยคาร์บอนในอากาศ ทั้งอาคารประเภทอาคารสูง อาคารสาธารณะ และบ้านพักอาศัย ผลการวิจัยพบว่าระบบ AI มีประสิทธิภาพที่เหมาะสมต่อการคาดการณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกทั้งยังสามารถคำนวนวัฏจักรชีวิตของการปลดปล่อยคาร์บอนในสภาวะอากาศและการก่อสร้างอาคารที่แตกต่างกันไปได้ เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างความปลอดภัยให้แก่ชุมชน สังคม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

#การจำลองโมเดลอาคาร #การเรียนรู้จากเครื่อง #ความตอบสนองอย่างยืดหยุ่น #ความยั่งยืน #SDGs9 #SDGs11