การแต่งตั้งนักวิจัยพันธมิตร

การแต่งตั้งนักวิจัยพันธมิตร

วัตถุประสงค์

เพื่อสนับสนุนความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยกับนักวิจัยพันธมิตร โดยสามารถขอรับการสนับสนุนการตรวจทานภาษาและการสนับสนุนตีพิมพ์ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติ

ช่วงเวลา

  • ระยะเวลาในการรับสมัคร: ตลอดปี
  • รอบระยะเวลาพิจารณา: ทุกเดือน

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  • มีต้นสังกัดที่มีความร่วมมือกับจุฬาฯ ในระดับมหาวิทยาลัย (หรือ)
  • เคยเป็นบุคลากรของจุฬาฯ (หรือ)
  • มีผลงานทางวิชาการโดดเด่นต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของส่วนงาน

ผลผลิต

  • บทความที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูลวารสารระดับนานาชาติ
  • โครงการที่ได้รับงบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก

*กรณีนักวิจัยพันธมิตรได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าโครงการ จะต้องมีแผนงานความร่วมมือกับจุฬาฯ ที่ชัดเจน และได้รับการรับรองจากคณะกรรมการบริหารส่วนงาน **ทั้งนี้ให้เป็นไปตามประกาศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง**

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

คำถามที่พบบ่อย

ต้องการเป็นนักวิจัยพันธมิตรต้องทำอย่างไร?

แจ้งความประสงค์ไปยังเจ้าหน้าที่ส่วนงาน หรืออาจารย์และนักวิจัยในสังกัด เพื่อทำเรื่องยื่นเสนอรายชื่อในการพิจารณาแต่งตั้งนักวิจัยพันธมิตรในระบบ myResearch

ต้องการยกเลิกเป็นนักวิจัยพันธมิตรทำอย่างไร?

กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล (HR) ของหน่วยงาน เพื่อดำเนินการยกเลิกข้อมูลในระบบฝ่ายบุคคล (HR) และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานจะต้องแจ้งกลับมายังเจ้าหน้าที่ สบจ. เพื่อยกเลิกรายชื่อ

ขั้นตอนการเสนอขอแต่งตั้งนักวิจัยพันธมิตร มีกระบวนการอย่างไรบ้าง?
  1. ผู้เสนอขอแต่งตั้ง: กรอกข้อมูลนักวิจัยพันธมิตรที่ต้องการขอแต่งตั้งในระบบ myResearch
  2. หัวหน้าภาควิชา: รับรองการขอแต่งตั้งนักวิจัยพันธมิตรในระบบฯ
  3. เจ้าหน้าที่ส่วนงาน: ดาวน์โหลดเอกสารนักวิจัยพันธมิตร และนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการส่วนงาน พร้อมบันทึกมติคณะกรรมการฯ
  4. รองคณบดีส่วนงาน: เสนอรายชื่อผู้ที่ส่วนงานประสงค์ขอแต่งตั้งเป็นนักวิจัยพันธมิตร
  5. เจ้าหน้าที่ สบจ.: ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณา
  6. คณะกรรมการ: พิจารณาและให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งนักวิจัยพันธมิตร
  7. รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย: ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งนักวิจัยพันธมิตร
สิทธิที่นักวิจัยพันธ์มิตรจะได้รับมีอะไรบ้าง?
  • ขอรับการสนับสนุนโครงการคลินิกวิจัย (Research Clinic)
  • ขอรับการสนับสนุนตีพิมพ์ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติ



หากต้องการเป็นหัวหน้าโครงการควรดำเนินการอย่างไร?

กรณีนักวิจัยพันธมิตรได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าโครงการจะต้องมีแผนงานความร่วมมือกับจุฬาฯ ที่ชัดเจนและได้รับการรับรองจากคณะกรรมการบริหารส่วนงาน (ทั้งนี้ให้เป็นไปตามประกาศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง)

ระยะเวลาใน "การรายงานผลการดำเนินงาน" ต้องส่งเมื่อไหร่?
  • รายงานก่อนคำสั่งหมดอายุ 6 เดือน (กรณีมีสัญญาจ้าง 1 ปี) (หรือ)
  • รายงานก่อนคำสั่งหมดอายุ 18 เดือน (กรณีมีสัญญาจ้าง 2 ปี)

ผู้ประสานงาน

คุณภัทรียา ทองฉิม

โทรศัพท์ 0-2218-0238

Line @cu.research

E-mail: pattareeya.t@chula.ac.th