ูศนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางสารทรงฤทธิ์ชีวภาพ เพื่อนวัตกรรมทางคลินิก

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางสารทรงฤทธิ์ชีวภาพเพื่อนวัตกรรมทางคลินิก

ูศนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางสารทรงฤทธิ์ทางชีวภาพเพื่อนวัตกรรมทางคลินิกจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ทรงฤทธิ์ทางชีวภาพในการบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ ในทางคลินิกทั้งในรูปแบบของวัสดุทางการแพทย์ ยาจากสมุนไพร อาหารเสริมและเครื่องสำอาง ซึ่งครอบคลุมไปถึงสารจากธรรมชาติทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสมุนไพร สารสกัดที่ได้จากสัตว์หรือเชื้อรา แบคทีเรีย ผ่านการวิเคราะห์สารสำคัญ คุณสมบัติทางกายภาพ เคมีและชีวภาพ รวมถึงทำการศึกษาในเซลล์เพาะเลี้ยง สัตว์ทดลอง และศึกษาประสิทธิภาพ ความปลอดภัยทางคลินิก ศูนย์ ฯ มีความร่วมมือกับหน่วยงานที่หลากหลายทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ ผลงานของศูนย์ ฯ ได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์มากมาย นอกจากนี้ศูนย์ ฯ ยังให้บริการทางวิชาการแก่ภาคเอกชนในด้านต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อีกด้วย

Research & Innovation Focus ​

Health and Well-Being + Health
Food & Agriculture + Health
Sustainable Society + Health

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อผลิตผลงานวิจัยที่เป็นที่ยอมรับและเผยแพร่ในระดับสากล
  2. เพื่อผลิตผลงานวิจัยที่สามารถนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม
  3. เพื่อสร้างนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมทางสุขภาพที่มาจากผลผลิตทางธรรมชาติ

เป้าหมายใน 3 ปี

  1. เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านการวิจัยและมีเครือข่ายระดับนานาชาติ
  2. เพื่อสร้างนวัตกรรมที่สามารถขยายผลและต่อยอดระดับนานาชาติ
  3. เพื่อสร้างองค์ความรู้จากผลผลิตทางธรรมชาติที่สำคัญต่อสุขภาพ

ผลงานวิจัยเด่น

  1. สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
  2. อาหารและเกษตร
  3. สังคมที่ยั่งยืน

เครือข่ายและความร่วมมือ

  • คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • Department of Biomedical Engineering, National University of Singapore
  • Department of Industrial Engineering, University of Trento
  • Bio-nanotechnology Laboratory, Virginia Commonwealth University, USA
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ข้อมูลติดต่อกลุ่มวิจัย

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.

พรอนงค์ อร่ามวิทย์ 

หัวหน้ากลุ่มวิจัย

คณะเภสัชศาสตร์

(Faculty of Pharmaceutical Sciences) 
สังกัดของกลุ่มวิจัย

ภาควิชาเภสัชกรรมปฎิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 254 ถนนพญาไท วังใหม่ ปทุมวัน กทม 10330

E-mail: aramwit@gmail.com