ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิจัยโรคไตจากความผิดปกติทางเมตาบอลิซึม
เมษายน 30, 2024 2024-06-14 8:53ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิจัยโรคไตจากความผิดปกติทางเมตาบอลิซึม
ศูนย์เทคโนโลยีความก้าวหน้าด้านการโรคไตและความผิดปกติทางเมแทบอลิซึม ทำการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบจากแนวปฏิบัติและแบบแผนการดูแลรักษาที่แตกต่างกันของแต่ละศูนย์ในประเทศและนโยบายเชิงระบบต่อผลลัพธ์ของการรักษา พร้อมทำการสำรวจแบบแผนของเชื้อจุลชีพและการดื้อยา เฝ้าระวังการอุบัติใหม่ของการติดเชื้อจาก environment-borne, antibiotic-resistant และ biofilm-producing microorganisms โดยการประยุกต์เทคโนโลยีทางชีวโมเลกุลล้ำสมัย เช่น gene sequencing และ nanopore sequencing จัดเก็บข้อมูลด้วยฐานข้อมูลแบบออนไลน์ และนำเทคโนโลยี deep-learning AI มาช่วยค้นหาผู้ป่วยเสี่ยงในการติดเชื้อของผู้ป่วยล้างไตและฟอกไต ด้วยความสนับสนุนจากหลายภาคีองค์กรในประเทศ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับทีมวิจัยจากสถาบันวิจัยระหว่างประเทศและสมาพันธ์ล้างไตนานาชาติ

Research & Innovation Focus
Health and Well-Being + Health
Sustainable Society + Health
Health and Well-Being + Industry 4.0
วัตถุประสงค์
- เพื่อลดอุบัติการณ์ culture-negative peritonitis ของประเทศ โดยการนำเทคนิค high-throughput PCR มาใช้ค้นหาเชื้อก่อโรคของการติดเชื้อในผู้ป่วย PD และ HD ของประเทศ การเลือกยาหรือการรักษาทางการแพทย์ที่เหมาะสม และเป็นผู้นำภูมิภาคในการวิจัยเกี่ยวกับ PD และ HD ในการติดเชื้อราต่างๆ
- เพื่อสำรวจแบบแผนของเชื้อจุลชีพ การดื้อยา อัตราการหาย และอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สัมพันธ์กับภาวะ peritonitis ในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง (PD) และฟอกเลือด (HD) ในประเทศไทย
- เพื่อติดตามการติดเชื้อที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม เยื่อบุช่องท้องอักเสบที่ดื้อยาต้านจุลชีพที่เกิดขึ้น และจุลินทรีย์ที่สร้างเอนโดท็อกซินในผู้ป่วย PD และ HD แนวโน้มของโรค และปัจจัยเสี่ยง ตลอดจนการความสูญเสียทางสุขภาพจากการติดเชื้อ และเพิ่มอัตราการรักษาของการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องและ ปรับปรุงมาตรฐานการดูแลระดับชาติและระดับโลกในการรักษาโรคติดเชื้อที่เกี่ยวข้อง
เป้าหมายใน 3 ปี
- มุ่งสู่การมีสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดี
- เพื่อความเป็นเลิศทางด้านวิจัยโรคไต
ผลงานวิจัยเด่น
- การตีพิมพ์ผลงานในวารสารระดับนานาชาติต่างๆ
- การจัดประชุมเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ


เครือข่ายและความร่วมมือ
- เครือข่ายการศึกษาถึงปัจจัย (แบบแผนการรักษาและแนวปฏิบัติ) ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ของการล้างไตทางช่องท้อง
- ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านการวิจัยเชื้อรา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง