ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านตัวเร่งชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพยั่งยืน
พฤษภาคม 21, 2024 2024-06-14 18:08ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านตัวเร่งชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพยั่งยืน
การดำเนินการของกลุ่มวิจัยประกอบด้วยการวิจัยพื้นฐาน/เชิงลึก การวิจัยเชิงประยุกต์ กิจกรรม outreach เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม รวมทั้ง กิจกรรมการผลักดันผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ การวิจัย เชิงลึกเกี่ยวข้องกับลักษณะสมบัติและกลไกการทำงานของตัวเร่งชีวภาพ ทั้งในรูปแบบจุลินทรีย์และเอนไซม์จากจุลินทรีย์ รวมทั้ง ปฏิสัมพันธ์ของตัวเร่งชีวภาพกับปัจจัยกายภาพ เคมีและชีวภาพในสิ่งแวดล้อม เน้นการสร้างองค์ความรู้พื้นฐาน/เชิงลึกเพื่อเป็นพื้นฐานที่ดีต่อการควบคุมการทำงานและประยุกต์ใช้ตัวเร่งชีวภาพในงานทางด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน และเพื่อเผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ สำหรับการวิจัยประยุกต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำตัวเร่งชีวภาพทั้งในรูปแบบจุลินทรีย์และ/หรือเอนไซม์ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง เพื่อเร่งปฏิกิริยาการเปลี่ยนรูปของเสียหรือผลิตภัณฑ์พลอยได้จากอุตสาหกรรมให้เป็นสารผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม เพื่อพัฒนาตัวเร่งชีวภาพที่มีลักษณะสมบัติตามต้องการด้วยวิธีวิศวกรรมเมแทบอลิซึม ชีววิทยาสังเคราะห์ (สำหรับจุลินทรีย์) และด้วยวิธีพันธุวิศวกรรมและ/หรือโปรตีนวิศวกรรม (สำหรับเอนไซม์) ให้เป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ตัวเร่งชีวภาพที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์สำหรับงานด้านสิ่งแวดล้อมต่อไป


Research & Innovation Focus
Food & Agriculture + Industry 4.0
Sustainable Society + Food & Agriculture
Food & Agriculture + BCG
วัตถุประสงค์
- เป้าหมายที่ 2: ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
- เป้าหมายที่ 3: สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย
- เป้าหมายที่ 15: ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
เป้าหมายใน 3 ปี
1. เพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดทางชีวภาพและการบำบัด
2. ดำเนินโครงการเฝ้าระวังเชื้อโรคในประเทศไทย
3. ฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์ให้มีทักษะด้านข้อมูล
ผลงานวิจัยเด่น
1. ผลงานวิจัยด้านการแยกแยะกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งได้ขึ้นหน้าปกวารสาร Molecular Cancer Research ฉบับเดือนมีนาคม 2566
2. ความร่วมมือหลายสถาบันเพื่อนำ AI มาช่วยในการดูแลผู้ป่วย COVID-19 ในระบบ home isolation
3. ความร่วมมือกับโรงพยาบาลกว่า 20 แห่งทั่วโลก เพื่อพัฒนา AI สำหรับทำนายผลลัพท์ทางคลินิกของผู้ป่วย COVID-19 ในห้องฉุกเฉิน




เครือข่ายและความร่วมมือ
- บริษัท ไบโอม จำกัด บริษัท