ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยแบบปริวรรตในโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ และโรคทางระบบภูมิคุ้มกันวิทยา
มิถุนายน 12, 2024 2024-06-15 17:11ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยแบบปริวรรตในโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ และโรคทางระบบภูมิคุ้มกันวิทยา
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยแบบปริวรรตในโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ และโรคทางระบบภูมิคุ้มกันวิทยานำองค์ความรู้ที่ได้จากห้องทดลองไปปรับใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม

Research & Innovation Focus
Health and Well-Being + Health
Health and Well-Being + BCG
Health and Well-Being + Industry 4.0
วัตถุประสงค์
- องค์ความรู้ที่ได้จากห้องทดลอง ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการอักเสบและโรคทางระบบภูมิคุ้มกันวิทยา เพื่อนำไปปรับใช้ประโยชน์ อย่างเป็นรูปธรรม
- ค้นหาองค์ความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับการควบคุมการอักเสบและโรคทางระบบภูมิคุ้มกันวิทยาที่น่าจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ในระยะเวลาอันใกล้โดยใช้วิธีการวิจัย แบบปริวรรต
เป้าหมายใน 3 ปี
- แผนการผลักดันนวัตกรรมต้นแบบ
- โพรไบโอติกที่แยกจากประชากรไทย ชนิด Lacticaseibacillus rhamnosus L34 ซึ่งกำลังทำงานร่วมกับ บริษัท Greater Pharma และ หน่วยโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อใช้เป็นโพรไบโอติกสำหรับลดของเสียที่เกิดจากลำไส้ (gut derived uremic toxin)
- ชุดตรวจ Neutrophil extracellular traps (NETs) ด้วยการวัด CIT-H3 ซึ่งจะทำงานร่วมกับ สวทช.
- การใช้ Plasma flux therapy ซึ่ง ได้มีการประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์ ต้นแบบได้สำเร็จแต่ยัง มีปัญหาในเรื่องประโยชน์ที่จะนำไปใช้งาน
- ผลงานทางวิชาการระดับสูง และ Network collaboration ทั้งภายในประเทศและนอกประทศ
- การพัฒนาบุคลากรและแผนการขอทุนจากแหล่งทุนภายนอกส่งเสริมบุคลากรให้มีการต่อยอดการศึกษาในระดับ ปริญญาเอก และ หลังปริญญาเอกทั้งในประเทศและนอกประเทศ ซึ่งจะเป็นจากการขอทุนส่งเสริมให้สามารถมีโอกาสไปดูงานในต่างประเทศ และ ส่งเสริมการขอทุนจากแหล่งทุนภายนอกอื่นๆต่อไป
ผลงานวิจัยเด่น
- การรั่วของโมเลกุลของเชื้อโรคจากลำไส้ (leaky gut) และ บทบาทของเชื้อราในลำไส้
- การรั่วของโมเลกุลของเชื้อโรคจากลำไส้ (leaky gut) และการศึกษาองค์รวมของเชื้อโรคในลำไส้ในภาวการณ์ติดเชื้อในกระแสเลือด
- การใช้ Cell-free DNA ใน ภาวการณ์ติดเชื้อในกระแสเลือด




เครือข่ายและความร่วมมือ
- สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
- คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
- Department of Pharmacology at University of California San Diego School of Medicine; US.
- The University of Queensland; Australia.
- National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST); Japan.
- Functional Cellular Networks Section
- National Institute of Allergy and Infectious Diseases National Institutes of Health; US.